"เก้าอี้ทำงาน" เลือกอย่างไร? ให้นั่งสบายได้นานๆ ไม่ปวดหลัง ไม่อ่อนแรง

"เก้าอี้ทำงาน" เลือกอย่างไร? ให้นั่งสบายได้นานๆ ไม่ปวดหลัง ไม่อ่อนแรง

สรุปข่าว

เพราะชั่วโมงการทำงานในแต่ละวัน ยาวนานถึง 8 ชั่วโมงหรือมากกว่านั้น ดังนั้นการเลือกเก้าอี้จึงมีส่วนสำคัญ 


การเลือกเก้าอี้นั่งทำงานแบบง่าย ๆ ที่ช่วยดูแลสุขภาพได้ดังนี้


1. ดูความสูงเก้าอี้ ต้องเท่ากับช่วงยาวขาท่อนล่างบริเวณน่อง ตั้งแต่ข้อพับหลังเข่าไปถึงเท้า วางเท้าแล้วราบกับพื้นพอดี


2. เบาะต้องไม่นุ่มหรือเป็นแอ่ง เพราะส่งผลให้กระดูกเชิงกรานบิดงอได้


3. ความลึกของเบาะต้องไม่มากกว่าช่วงต้นขา เพื่อให้นั่งทำงานได้สบาย


4. พนักพิงต้องพอดีกับแผ่นหลัง นั่งให้ก้นชิดกับพนัก เพราะการพิงไม่ถึงและเอนตัวไปด้านหลังจะทำให้หลังงอ


5. ที่เท้าแขนอยู่ในระดับพอดี คืองอข้อศอกแล้ววางแขนได้พอดี เพื่อใช้ดันให้ตัวยึดตรงและค้ำพยุงตัวเวลาลุกนั่งได้


6. ปรับระดับได้ ทั้งความสูง-ต่ำของเบาะ การเอนไปด้านหลัง ความสูงต่ำของที่พักแขน เอียงเข้าหรือออก



นอกจากนี้ยังอุปกรณ์เสริมอื่นๆ ที่ช่วยสร้างความสบาย เสริมสรีระร่างกาย ช่วยลดความเมื่อยล้าได้ 


  • หมอนเสริมตัวช่วยคนทำงาน


หลายคนอาจไม่สามารถเลือกเก้าอี้นั่งทำงานได้หรือเลือกแล้วไม่พอดีกับ สรีระ หมอนเสริมสามารถช่วยได้ในกรณีต่าง ๆ ได้แก่


– เก้าอี้ปรับไม่ได้ หากเบาะลึกเกินไปให้ใช้หมอนหนุนเพิ่มที่ด้านหลังกันและหลัง

– พนักพิงไม่พอดีกับสรีระ สามารถใช้หมอนหนุนเพื่อรองรับความหนาตามที่ต้องการ


  • ที่วางพักเท้าช่วยรับน้ำหนัก


ในกรณีที่ต้องปรับเก้าอี้ให้สูงพอเหมาะกับโต๊ะอาจส่งผลให้เท้าลอยจากพื้น ควรมีที่พักเท้าเพื่อรองใต้เท้าไม่ให้เท้าลอย เหมือนนั่งห้อยขา โดยที่วางพักเท้าช่วยรับน้ำหนักไว้ เพื่อให้ช่วงเข่าและเท้าผ่อนคลาย ไม่ปวดเมื่อยจากการรับน้ำหนักขา


เคล็ดลับ ท่านั่งเก้าอี้ที่ดีคือ หลังพิงพนัก วางสะโพกและต้นขาบนที่นั่งทั้งหมด ฝ่าเท้าวางราบบนพื้นมีที่พักแขนรองรับแขนทั้งสองข้าง และไม่ควรเอนพนักพิงเกิน 100 องศา


ขอบคุณบทความจาก: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

ภาพ: Envato 


ที่มาข้อมูล : -

ที่มารูปภาพ :

แท็กบทความ

เก้าอี้ทำงาน
เลือกเก้าอี้ทำงาน
เก้าอี้
ดราม่าหวงเก้าอี้
แขนขาอ่อนแรง
นั่งเก้าอี้ผอ