

สรุปข่าว
โรคเส้นเลือดในสมองแตกในเด็ก มีอาการอย่างไร? เปิดวิธีสังเกตเบื้องต้น เตือนอย่าชะล่าใจว่าเด็กงอแงเป็นเรื่องธรรมดาอย่างเดียว
โรคหลอดเลือดสมอง และเส้นเลือดในสมองแตก คือภาวะที่สมองขาดเลือดและออกซิเจน เนื่องจากหลอดเลือดตีบ อุดตัน หรือแตก เลือดจึงไม่สามารถไหลเวียนไปยังสมองได้ เมื่อเซลล์สมองถูกทำลายจนเซลล์ตาย ส่งผลให้ไม่สามารถควบคุมอวัยวะและระบบต่าง ๆ ภายในร่างกายให้ทำงานได้ตามปกติ หากได้รับการรักษาได้ทันท่วงที อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้มากขึ้น
ขณะที่ นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า โรคเส้นเลือดในสมองแตก เป็นโรคที่พบในวัยผู้ใหญ่ แต่ก็สามารถเกิดขึ้นได้ในเด็กเช่นกัน โดย โรคเส้นเลือดในสมองแตก เกิดจากความดันโลหิตสูง เป็นภาวะที่สมองขาดเลือด เนื่องจากหลอดเลือดตีบตัน อุดตัน จนหลอดเลือดแตก ส่งผลให้เนื้อเยื่อในสมองถูกทำลายจนทำให้การทำงานของสมองหยุดชะงัก ทั้งนี้ไม่มีสัญญาณเตือน แต่อาจพบอาการปวดศีรษะเป็นพักๆ แล้วหายไป
ซึ่งความรุนแรงของเลือดที่ออกในสมองขึ้นอยู่กับตำแหน่งของความผิดปกติที่พบ หากเป็นความผิดปกติของสมองที่อยู่ด้านบน จะมีอาการปวดศีรษะ แขนขาอ่อนแรง หรือมีอาการชัก ถ้าปวดบริเวณท้ายทอยด้านหลัง ซึ่งเป็นบริเวณที่ใกล้กับก้านสมอง จะมีอาการปวดศีรษะ อาเจียน และหมดสติ ส่งผลให้เสียชีวิตได้
โรคเส้นเลือดในสมองแตกส่วนใหญ่มักจะเกิดขึ้นกับวัยผู้ใหญ่ และสามารถเกิดขึ้นได้ในเด็กเช่นกัน แต่มีโอกาสพบได้น้อยมาก อาการที่พบมีความแตกต่างจากผู้ใหญ่ เนื่องจากอาจมีเส้นเลือดผิดปกติ หรือภาวะเลือดออกในสมองจากการที่เส้นเลือดเจริญเติบโตผิดปกติ
วิธีสังเกตอาการเบื้องต้น
- บริเวณศีรษะของเด็กกระหม่อมบวมตึง ร้องงองแงมากกว่าปกติ
- ทานนมได้น้อย
- ปวดศีรษะ ซึมลง คลื่นไส้ อาเจียน
ถ้าเด็กยังมีอาการปวดศีรษะควรรีบพาไปพบแพทย์ เพื่อรับการรักษา แห่หากเป็นกลุ่มเด็กที่เป็นโรคฮีโมฟีเลีย ถ้ามีอาการปวดศีรษะหรือได้รับการกระแทกเพียงล็กน้อย ควรรีบพาไปพบแพทย์โดยด่วน

ทั้งนี้ โรคหลอดเลือดสมองในเด็ก เป็นโรคที่พ่อแม่ควรเฝ้าระวังเป็นอย่างมาก เพราะอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้เสมอ ซึ่งคุณสามารถป้องกันได้ด้วยการสังเกตอาการผิดปกติของลูกน้อยเป็นประจำและรีบพาไปพบแพทย์ทันที เพื่อความปลอดภัยของเจ้าตัวน้อย
ที่มา กระทรวงสาธารณสุข / โรงพยาบาลพญาไท / โรงพยาบาลจุฬารัตน์ 9 แอร์พอร์ต
ภาพจาก AFP
ที่มาข้อมูล : -