

สรุปข่าว
นอกจากความรู้สึก ปลื้มปิติ และเป็นเกียรติสูงสุด ที่คนในวงการหนังจะจดจำหลังจากได้ขึ้นไปยืนบนเวทีประกาศรางวัลแห่งนี้ อีกสิ่งหนึ่งที่เป็นสัญลักษณ์แห่งความภาคภูมิใจดังกล่าว คงหนีไม่พ้น ถ้วยรางวัลอันทรงเกียรติที่ออกแบบโดย อาเปี๊ยก ยอดชาย เมฆสุวรรณ นักแสดงอาวุโส วัย 78 ปี หลังได้รับมอบหมายจาก สมาพันธ์สมาคมภาพยนตร์แห่งชาติให้รับหน้าที่นี้มาไม่ต่ำกว่าทศวรรษ และยังเคยเป็นเจ้าของรางวัลที่ตัวเองปั้น กับรางวัล รางวัลสุพรรณหงส์ทองเกียรติยศในปี 2559

ภาพข่าวจาก True Inside
ภาพข่าวจาก True Inside
ทำไมต้องเป็นรูปปั้นสุพรรณหงส์ เพราะ สุพรรณหงส์ถือเป็นของสำคัญประจำชาติ โดยเป็นเรือพระที่นั่ง ที่มีมาแต่โบราณตั้งแต่ยุคกรุงศรีอยุธยา กระทั่งปัจจุบัน ยังเป็นเรือที่ถูกใช้ในพระราชพิธีกระบวนพยุหยาตราชลมารค พร้อมกันนี้ เรือสุพรรณหงส์ ยังเคยได้รับเหรียญรางวัลมรดกทางทะเลจากองค์การเรือโลกเมื่อปี 2535 อีกด้วย ด้วยความสำคัญและประวัติที่มีมายาวนาน จึงส่งให้สัญลักษณ์รางวัลสุพรรณหงส์ มีความทรงเกียรติ และถือเป็นรางวัลอันทรงคุณค่า ที่ได้มอบให้กับคนทำงานในวงการภาพยนตร์ไทย
แต่มาปีที่ 31 เพื่อสอดคล้องกับคอนเซ็ปต์ Season Change คุณพรชัย ว่องศรีอุดมพร เลขาธิการสมาพันธ์สมาคมภาพยนตร์แห่งชาติ จึงตัดสินใจให้ ยอดชาย เมฆสุวรรณ ปรับเปลี่ยนวัสดุที่ใช้ปั้นถ้วยรางวัล เจ้าของ 20 ถ้วยรางวัล ฝีมืออาเปี๊ยก ในปีนี้จะอยู่ในมือของใครติดตามได้ ทางสถานีทรูโฟร์ยู ช่อง 24 ช่องทรูอินไซต์ (ช่อง 335,113, 38) และชมออนไลน์ทาง TrueVisions NOW รวมถึงแอปพลิเคชั่นส์ ทรูไอดี วันอาทิตย์ที่ 20 สิงหาคม 2566 นี้

ภาพข่าวจาก True Inside
ภาพข่าวจาก True Inside
ภาพข่าวจาก True Inside
ภาพข่าวจาก True Inside
ที่มาข้อมูล : -