4 เรื่องไม่จริง เกี่ยวกับการถ่ายรูปติดคนอื่น!! "ต่าย สายธาร" เตือนสายเซลฟี่ต้องระวัง

4 เรื่องไม่จริง เกี่ยวกับการถ่ายรูปติดคนอื่น!! "ต่าย สายธาร" เตือนสายเซลฟี่ต้องระวัง

สรุปข่าว

หลายคนยังคงเข้าใจผิดในเรื่องของกฎหมาย PDPA การถ่ายรูป-ถ่ายคลิป ติดภาพคนอื่นโดยที่เจ้าตัวไม่ยินยอมนั้นจะผิด PDPA (กฎหมายว่า ด้วยการให้สิทธิเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล) นั้นแบบไหนถึงจะเรียกว่าเป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล ซึ่งล่าสุดด้านคนบันเทิงอย่าง "ต่าย สายธาร" ได้แชร์ข้อมูล เตือนสายเซลฟี่ ต้องระวัง ถึงกฏหมายใหม่ ที่จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 มิถุนายน 2565 นี้ 


.ภาพจาก IG saitharn
.

ภาพจาก IG saitharn


โดยแชร์ภาพพร้อมระบุข้อความไว้ว่า สายเซลฟี่ต้องระวัง กฎหมายใหม่ PDPA (Personal Data Protection Act) หรือ พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เริ่มบังคับใช้ 1 มิ.ย. 65 สิ่งที่ห้ามทำหลักๆ ก็จะมี ถ่ายรูป , คลิป , โพสต์ไลฟ์บนโซเชียลติดใบหน้าผู้อื่น , ติดกล้องวงจรปิดนอกบริเวณบ้านโดยไม่แจ้งเตือน , และเก็บหรือแชร์ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้อื่นโดยไม่ได้รับความยินยอม ซึ่งจะมีโทษทางแพ่ง อาญา และทางปกครอง 


ต่อมาเธอได้โพสต์ภาพที่ถ่ายร่วมกันกับทีมงานจิตอาสา ซึ่งในภาพดังกล่าวได้มีการเบลอเอาไว้ จนเหลือเพียงใบหน้าของตัวเอง พร้อมข้อความที่ระบุว่า "เมื่อกฎหมายออกมาห้ามถ่ายติดคนอื่น ทีมงานจิตอาสา ต่าย สายธาร นิยมการณ์ เลยประชุมเครียดเลยงานนี้ เอ็นดูวววทีมงาน เหมือนผู้ร้ายข้ามชาติเลย"


.ภาพจาก IG saitharn
.

ภาพจาก IG saitharn


ซึ่งหลังจากนั้น ต่ายได้กลับมาเคลื่อนไหวเรื่องราวเกี่ยวกฏหมายของ PDPA อีกครั้ง แชร์ถึง 4 เรื่องไม่จริง เกี่ยวกับ PDPA ถึง 4 ข้อหลักว่า 


1. การถ่ายรูป-ถ่ายคลิป ติดภาพคนอื่นโดยเจ้าตัวไม่ยินยอมจะผิด PDPA?


คำตอบ กรณีการถ่ายรูป-ถ่ายคลิปโดยติดบุคคลอื่นโดยผู้ถ่ายรูป-ถ่ายคลิปไม่เจตนา และการถ่ายรูปถ่ายคลิปดังกล่าวไม่ได้ก่อให้เกิดความเสียหายกับผู้ถูกถ่าย สามารถทำได้ หากเป็นการใช้เพื่อวัตถุประสงค์ส่วนตัว


2. ถ้านำคลิปหรือรูปถ่ายที่ติดคนอื่นไปโพสต์ในโซเชียลมีเดียโดยบุคคลอื่นไม่ยินยอมจะผิด PDPA?


คำตอบ สามารถโพสท์ได้ หากใช้เพื่อวัตถุประสงค์ส่วนตัว ไม่ใช้แสวงหากำไรทางการค้าและไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล


3. ติดกล้องวงจรปิดแล้วไม่มีป้ายแจ้งเตือนผิด PDPA?


คำตอบ การติดกล้องวงจรปิด ภายในบ้าน ไม่จำเป็นต้องมีป้ายแจ้งเตือน หากเพื่อป้องกันอาชญากรรม และรักษาความปลอดภัยกับตัวเจ้าของบ้าน


4. เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลต้องให้ความยินยอมทุกครั้งก่อนนำข้อมูลไปใช้?


คำตอบ ไม่จำเป็น ต้องขอความยินยอม หากการใช้ข้อมูลดังกล่าว


เรียกได้ว่างานนี้สาวต่าย แชร์ข้อมูลกฏหมาย และเผย 4 เรื่องไม่จริง ให้แฟนๆ ได้คลี่คลายความสงสัย เกี่ยวกับการถ่ายรูปติดบุคคลอื่น เคลียร์ได้แบบชัดๆ เลยทีเดียว อย่างไรก็ตาม กฏหมาย PDPA มาจากคำว่า Personal Data Protection Act คือ พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 มีขึ้นเพื่อให้เอกชนและรัฐที่เก็บรวมรวม ใช้เปิดเผย หรือ โอนข้อมูลส่วนบุคคลในราชอาณาจักรไทย ให้เป็นไปตามมาตรการปกป้องข้อมูลของผู้อื่นจากการถูกละเมิดสิทธิส่วนตัว โดยต้องขอ "ความยินยอม" จากเจ้าของข้อมูล ก่อนการเก็บ รวบรวม ใช้ หรือเปิดเผย


.ภาพจาก IG saitharn
.

ภาพจาก IG saitharn

ที่มาข้อมูล : -

ที่มารูปภาพ :

แท็กบทความ

ต่าย สายธาร
กฏหมายใหม่ pdpa
เซลฟี่
ข่าวบันเทิง
ข่าวดารา