
ดร.สนธิ คชวัฒน์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ชมรมนักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อมไทย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กเกี่ยวกับข้อควรรู้กรณีแผ่นดินไหวส่งผลกระทบต่อประเทศไทย ประเทศพัฒนาเขาทำอย่างไร?
ดร.สนธิ คชวัฒน์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ชมรมนักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อมไทย
1. ทำไมแผ่นดินไหวอยู่ห่างจากกรุงเทพฯมากกว่า 1,000 กิโลเมตร ยังทำให้อาคารสูงในในกทม.แตกร้าวถล่ม ลงมาได้
1.1. สภาพชั้นดินในเขตกทม.ส่วนใหญ่เป็นดินเหนียวอ่อน คลื่นจากแผ่นดินไหวมาจากเมียนมาร์ หากความสั่นสะเทือนแผ่ลงมาถึงดินเหนียวที่อ่อนและมีน้ำหนักกดทับด้วยจะทำให้ขนาดของคลื่นแมกนิจูดของดินอ่อนเพิ่มขยายขึ้นปกติประมาณ 3-4 เท่า
1.2. อาคารสูงในกรุงเทพฯ ที่สร้างก่อนปี 2550 ส่วนใหญ่ไม่ได้ออกแบบให้รอง รับคลื่นความสั่นสะเทือนที่เกิดจากแผ่นดินไหว เพราะพรบ.ควบคุมอาคารฉบับที่ 4 พ.ศ 2550 กำหนดให้โครงสร้างอาคารรองรับแผ่นดินไหวที่มีคนอยู่ตั้งแต่ 5,000 คนขึ้นไปหรืออาคารที่มีความสูงตั้งแต่ 15 เมตรหรือ 5 ชั้นขึ้นไป
2. แผ่นดินไหวเป็นภัยธรรมชาติ ไม่สามารถเตือนภัยล่วงหน้าได้นาน
.. Shake Alert เป็นระบบเตือนภัยแผ่นดินไหวล่วงหน้า บริหารจัดการโดยสำ นักงานสำรวจธรณีวิทยาของUSA ซึ่งตรวจจับแผ่นดินไหวได้อย่างรวดเร็วส่งสัญญาณอัตโนมัติมายังประชาชนก่อนที่คลื่นความสั่นสะเทือนจะมาถึงประชา ชนเพียงไม่กี่วินาที (ระยะทาง 300 กม. ขึ้นไปแจ้งล่วงหน้าได้เพียง 90 วินาทีคลื่นก็มาถึงแล้ว)

สรุปข่าว
3. ระบบเตือนภัยที่ประเทศพัฒนาแล้วใช้ในกรณีเกิดภัยพิบัติ
3.1.คำเตือนเก่อนเกิดเหตุฉุกเฉินภัยพิบัติของญี่ปุ่นจะมีเพียง 6 ประเภทคือฝนตกหนัก ,พายุคลื่นพายุ ,คลื่นสูง, หิ มะตกหนักและพายุหิมะ ส่วนแผ่นดินไหวไม่สามารถจะแจ้งเตือนก่อนได้ เมื่อเกิดแผ่นดินไหวแล้วจะแจ้งไปถึงประ ชาชนได้เพียงไม่กี่วินาที
3.2. การแจ้งเตือนเหตุฉุกเฉินภัยพิบัติ Emergency Alert System จะใช้ Cell Broadcasting Service(CBS)เป็นระบบการส่งข้อความเตือนภัยไปยังโทรศัพท์มือถือจำนวนมากที่มีอยู่ในพื้นที่นั้นได้พร้อมกันโดยข้อความจะถูกส่งผ่านคลื่นวิทยุของเครือข่ายโทรศัพท์มือถือทำให้ผู้รับไม่จำเป็นต้องเชื่อมต่อด้วยอินเทอร์เน็ต หรือหมายเลขโทรศัพท์แต่อย่างใด เสาส่งสัญญาณจะกระจายข้อ ความเตือนภัยไปยังโทรศัพท์มือถือทุกเครื่องในพื้นที่นั้น
4. ญี่ปุ่นจะแจ้งให้ประชาชนเตรียม Emergency Kit หรือชุดอุปกรณ์ยังชีพฉุกเฉิน เมื่อเกิดแผ่นดินไหวสามารถนำไปได้ทันที ได้แก่
- น้ำดื่ม 2 ลิตรต่อวันต่อคน
- ชุดปฐม พยาบาลเบื้องต้นและยาประจำตัว
- ไฟฉาย/ถ่านไฟฉาย
- ผ้าห่ม/ถุงเท้า
- อาหารแห้ง/อาหารกระป๋อง/ที่เปิดช้อน/ส้อม
- วิทยุเครื่องมือติดต่อสื่อ สารพร้อมแบตเตอรี่
- กระดาษชำระ
- ถุงพลาสติกและพลาสติกห่ออาหาร
- ผ้าอนามัย/ผ้าอ้อมเด็ก/หน้ากากอนามัย
5. คำเตือนข้อควรระวังเมื่อเกิดแผ่นดินไหวในประเทศญี่ปุ่น
5.1.ห้ามใช้ลิฟท์เพราะอาจจะเกิดการติดค้างในลิฟท์ได้
5.2.อยู่ห่างจากหน้าต่าง กระจก อาจจะแตกและเป็นอันตรายได้
5.3. ไม่ควรวิ่งออกจากอาคารทันทีควรหลบอยู่ใต้วัสดุที่ปลอดภัย เช่น อยู่ใต้โต๊ะที่มั่นคง เป็นต้น
5.4.ควรรอให้การสั่นสะเทือนหยุดก่อน เพราะซากจากอาคารอาจตกลงมาทำอันตรายได้
5.5.อยู่นอกอาคารต้องอยู่ห่างจากเสาไฟฟ้าและสิ่งก่อสร้างสูง
5.6.ปฏิบัติตามคำแนะนำของรัฐบาลที่จะส่งข้อมูลมาให้แบบ Real Time เช่นไป อยู่ยังที่พักพิงที่ภาครัฐจัดให้พร้อมอาหารและน้ำดื่ม เป็นต้น
ที่มาข้อมูล : Sonthi Kotchawat
ที่มารูปภาพ : Reuters

วาสนา ชูติสินธุ