มีงานวิจัยพบว่า สำหรับประเทศไทยมี 38 ล้านคนอยู่ในพื้นที่ที่มีค่า PM2.5 เกินค่ามาตรฐาน (37.5 มคก./ลบ.ม.) พบว่า 15 ล้านคนหรือ 1 ใน 5 เป็นกลุ่มเปราะบาง เช่น ผู้ป่วยโรคหอบหืด ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดเตียง และ เด็กเล็ก ซึ่งผลกระทบต่อสุขภาพ PM2.5 ทำให้ค่าอายุเฉลี่ยของคนไทยลดลง 1.78 ปี จัดเป็นลำดับที่ 29 ของโลก
สรุปข่าว
ส่วน 3 อันดับแรก คือ บังคลาเทศ อินเดีย และเนปาล ที่ประชากรจะมีอายุขัยลดลง 6.76 5.26 และ 4.58 ปี
มีข้อมูลจากกรมควบคุมโรคพบว่า ตั้งแต่ 1 ต.ค. 2566 – 31 ธ.ค. 2567 สถานการณ์จำนวนผู้ป่วยโรคที่มีความเกี่ยวข้องกับการรับสัมผัสและค่าเฉลี่ยฝุ่น PM2.5 ทั่วประเทศ พบว่ามี 6 โรค และจำนวนผู้ป่วยสูงถึง 1,048,015 ราย แยกเป็น ปอดอุดกั้นเรื้อรัง 226,423 ราย โรคตาอักเสบ 357,104 ราย โรคผิวหนังอักเสบ 442,073 ราย โรคหืด 18,336 ราย หัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน 4,051 ราย และการสัมผัสกับมลพิษทางอากาศ 28 ราย
ที่มาข้อมูล : กรมควบคุมมลพิษ
ที่มารูปภาพ : TNN EARTH