อ.ธรณ์ยก “พายุเบอรีล” เกิดขึ้นผิดเวลา สะท้อนโลกเสี่ยงภัยพิบัติสภาพอากาศ

อ.ธรณ์ยก “พายุเบอรีล” เกิดขึ้นผิดเวลา สะท้อนโลกเสี่ยงภัยพิบัติสภาพอากาศ

สรุปข่าว

วันนี้ ( 3 ก.ค. 67 )ศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ นักวิทยาศาสตร์ทางทะเล และอาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้โพสต์ผ่าน Facebook : Thon Thamrongnawasawat ระบุว่า  ความเสี่ยงอันดับ 1 ของโลกคือภัยพิบัติจากสภาพอากาศสุดขีด อันดับ 3 คือความพินาศของระบบนิเวศ !  โลก ที่เปลี่ยนไป เมื่อโลกเดือด ปัญหาเกิดทุกทิศทาง ใต้น้ำ บนบก บนฟ้า ล้วนเจอได้หมด ยังมีทั้งระยะสั้นและระยะยาว


สั้นแบบตูมเดียวคือ extreme weather events ความเสี่ยงอันดับ 1 ของโลก เช่น ฝนเหมือน rain bomb ที่เพิ่งเล่าไป ยังมีพายุที่แรงจัดเข้ามาในช่วงเวลาแปลกๆ ตัวอย่างเช่น “พายุเฮอริเคนเบอรีล” ที่กำลังปั่นป่วนแคริบเบียน ถือเป็นพายุเฮอริเคนระดับ 5 ที่เกิดในช่วงเวลาที่ไม่ควรเกิด 


ช่วงเดือนนี้ยังไม่ควรมีพายุแรงระดับนี้ ฤดูพายุต้องอีก 2-3 เดือนสิ แต่โลกเดือดทำให้อะไรก็เกิดได้  “พายุเฮอริเคนเบอรีล”   จึงเป็นเฮอริเคนระดับ 5 ที่มาเร็วสุดในประวัติศาสตร์ สร้างความเสียหายให้หมู่เกาะต่างๆ ที่ลมพัดผ่าน เพราะไม่มีใครคิดว่าเธอจะมา


“No one knew it would be this bad” นั่นคือสิ่งที่คุณป้าเจ้าของโรงแรมคิด ก่อนที่เธอจะพบว่าแทบทุกอย่างบนเกาะพินาศสิ้น “Almost whole island homeless” 


หากสภาพอากาศสุดขีดเป็นแบบตูมเดียว หายนะของระบบนิเวศก็เป็นระยะสั้น/กลาง/ยาว  ปะการังฟอกขาว วิกฤตหญ้าทะเล ที่เมืองไทยเจออยู่คือประเด็นที่จัดเป็นความเสี่ยงอันดับ 3 ของโลก น่าเป็นห่วงว่าเรื่องพวกนี้เป็นเรื่องใหม่ การรับมือและปรับตัวแตกต่างจากระบบในอดีต เมืองไทยอาจปรับตัวไม่ทัน แต่สิ่งเหล่านั้นมันเกิดแล้ว


มันเข้าใจยาก มันรับมือลำบาก แต่มันเกิดแล้ว และมันจะเกิดบ่อยขึ้น ความเสียหายจะมีมากขึ้นเรื่อยๆ ก็คงได้แต่บอก พยายามเน้นย้ำกันไว้ในทุกที่ๆ ไปพูด เขียนเรื่องนี้บ่อยครั้ง เพราะเมืองไทยลำบากแน่หากเรายังไม่สนใจ 




ข้อมูลจาก: Thon Thamrongnawasawat

ภาพจากThon Thamrongnawasawat

ที่มาข้อมูล : -

ที่มารูปภาพ :

แท็กบทความ

พายุเบอรีล
ภัยพิบัติโลก
พายุผิดเวลา
สภาพอากาศ
ความเสี่ยงโลก
โลกเดือดภาวะโลกเดือด