

สรุปข่าว
ดัชนีความร้อน เป็นค่าของอุณหภูมิอากาศมาคิดร่วมกับความชื้นสัมพัทธ์ กล่าวคือ ดัชนีความร้อน จะสะท้อนว่าร่างกายขอเรารู้สึกว่าอากาศร้อนแค่ไหน เพราะว่าหากความชื้นสัมพัทธ์สูง ก็จะทำให้เหงื่อระเหยยาก ผลก็คือเรารู้สึก ร้อนกว่าอุณหภูมิจริงของอากาศนั่นเอง เช่นหากอุณหภูมิ 38 องศาเซลเซียส แต่มีความชื้นสัมพัทธ์อยู่ที่ 60 % ในดัชนีความร้อนนี้เราจะรู้สึกว่าอยู่ในอุณหภูมิถึง 56 องศาเซลเซียส ซึ่งถือเป็นความร้อนที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพเป็นอย่างมาก สำหรับผลกระทบดัชนีความร้อน หากอยู่ที่ 27-31.9 องศาเซลเซียส จะอยู่ในเกณฑ์เฝ้าระวัง อาจจะรู้สึกอ่อนล้า อ่อนเพลีย วิงเวียน คลื่นไส้ อาเจียน ปวดศีรษะได้ หากมีกิจกรรมการแจ้งอาจเกิดอาการปวดแสบปวดร้อนได้ หากดัชนีความร้อนอยู่ที่ 32-40.9 องศาเซลเซียสอยู่ในเกณฑ์เตือนภัย อาจเสี่ยงทำให้เกิดตะคริว เพลียแดดหากสัมผัสความร้อนเป็นเวลานานอาจเกิดภาวะลมแดด Heat Stroke หากดัชนีความร้อนอยู่ที่ 41-53.9 องศาเซลเซียส อยู่ในเกณฑ์อันตรายอาจทำให้มีอาการปวดเกร็ง เพลียแดด หน้ามืด หากทำกิจกรรมต่อเนี่ยงเสี่ยงต่อสภาวะลดแดด Heat Stroke และถ้าหาก 54 องศาเซลเซียสขึ้นไปอยู่ในเกณฑ์อันตรายมาก อาจถึงขั้นทำให้ภาวะลมแดด หรือ Heat Stroke ได้ตลอดเวลา และเสี่ยงต่อการเสียชีวิต ดังนั้นช่วงฤดูร้อนนี้ อากาศร้อนถึงร้อนจัดในหลายพื้นที่ ส่วนดัชนีความร้อนก็อยู่เกณฑ์อันตรายบ่อยๆ ต้องดูแลสุขภาพกันด้วย
ที่มาข้อมูล : -