เปิดสาเหตุทำไม “หอบหืด” มักกำเริบในช่วงฤดูฝน?

เปิดสาเหตุทำไม “หอบหืด” มักกำเริบในช่วงฤดูฝน?

สรุปข่าว

สาเหตุที่อาการหอบหืดมักเกิดขึ้นหลังจากเกิดฝนฟ้าคะนองเป็นเพราะ ผู้ป่วยถูกกระตุ้นอย่างเฉียบพลันจากฝุ่นละอองเกสรดอกไม้ ดอกหญ้าและพืชต่างๆ ซึ่งเมื่อเกิดฝนฟ้าคะนองนั้นลมจะพัดแรงมาก และพัดเอาเกสรหรือสารก่อภูมิแพ้ขนาดเล็กขึ้นไปในอากาศ แรงลมและความชื้นในอากาศจะตีเกสรและฝุ่นละอองต่างๆให้มีขนาดเล็กมากจนสามารถเข้าไปในหลอดลม และกระตุ้นให้หอบหืดกำเริบ และถ้าหากลมแรงมากก็จะยิ่งตีกระจายเกสรและสารก่อภูมิแพ้เหล่านี้กระจายไปได้ไกลมาก คนที่มีอาการหอบหืดจึงสามารถกำเริบได้พร้อมกัน ซึ่งสัดส่วนของประชากรที่เป็นโรคหอบหืดทั่วโลก ประเทศออสเตรเลียมีมากที่สุด โดยพบว่ามีประมาณ 10-12% ต่อสัดส่วนจำนวนประชากรทั้งหมด ซึ่งผู้เชี่ยวชาญคาดว่าเป็นเพราะออสเตรเลียเป็นประเทศที่มีพื้นที่กว้างขวางมาก และลมจะแรงมากเมื่อเกิดพายุฝนฟ้าคะนอง รองลงมาก็เป็นแถวๆสหราชอาณาจักร นอร์เวย์ สวีเดน โดยมีประมาณ 8-10% ต่อสัดส่วนจำนวนประชากร ส่วนบ้านเรานั้นสัดส่วนของประชากรที่เป็นโรคหอบหืดมีประมาณ 4-6%ซึ่งจากข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุขก็พบว่า ในช่วงฤดูฝนเป็นช่วงที่พบว่าผู้ป่วยโรคหอบหืดมีอาการกำเริบได้มากที่สุด ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลทั่วโลก ดังนั้นฤดูฝนนี้ใครที่ป่วยเป็นโรคหอบหืดก็ต้องดูแลตนเอง และระวังสิ่งกระตุ้นต่างๆอย่างใกล้ชิด

ที่มาข้อมูล : -

ที่มารูปภาพ :