

สรุปข่าว
นักโบราณคดีในภาคตะวันออกของอินเดียได้ขุดพบรูปปั้นช้างแกะสลักเมื่อประมาณ 2,300 ปีที่แล้ว ซึ่งคาดว่าน่าจะเป็นรูปปั้นสัตว์ในศาสนาพุทธ ซึ่งเป็นศาสนาหลักในภูมิภาคนี้เมื่อช่วงหลายพันปีก่อน
รูปปั้นนี้สูงประมาณ 3 ฟุต (1 เมตร) และแกะสลักจากหินในรูปแบบเดียวกับรูปปั้นช้างอื่นๆ ที่พบทั่วรัฐโอริสสา
นักประวัติศาสตร์ Anil Dhir และสมาชิกคนอื่นๆ ของทีมโบราณคดีจาก Indian National Trust for Art and Cultural Heritage (INTACH) ขุดพบรูปปั้นเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา ที่หมู่บ้านริมฝั่งแม่น้ำ Daya ในเขต Puri ของรัฐโอริสสา เป็นรัฐในทางตะวันออกของประเทศอินเดีย โดยระบุว่า พื้นที่แห่งนี้เต็มไปด้วยโบราณวัตถุจากพุทธศาสนาโบราณที่เคยเจริญรุ่งเรือง ณ ที่แห่งนี้ ทีมยังได้ค้นพบโบราณวัตถุทางโบราณคดีอื่นๆ ที่ถูกฝังอยู่รอบๆ หมู่บ้าน รวมทั้งชิ้นส่วนสถาปัตยกรรมจากวัดของศาสนาพุทธ
ทีมนักโบราณคดีระบุว่า ช้างเป็นสัญลักษณ์ทั่วไปในศาสนาพุทธและสามารถพบเห็นได้ในอนุสรณ์สถานทางพุทธศาสนาหลายแห่ง นอกจากนี้ ช้างยังเป็นสัตว์ประจำราชวงศ์ที่สำคัญในอินเดียโบราณ และเป็นสัญลักษณ์ของฝน ฤดูมรสุม และความอุดมสมบูรณ์อีกด้วย
ศาสนาพุทธกำเนิดขึ้นทางตอนเหนือของอินเดีย 500 กว่าปีก่อนคริสตศักราช และเป็นหนึ่งในศาสนาหลักภายใต้จักรพรรดิอโศกแห่งจักรวรรดิเมารยะในศตวรรษที่สองก่อนคริสต์ศักราช นักประวัติศาสตร์ Upinder Singh แห่งมหาวิทยาลัยอโศกในอินเดียเขียนไว้ใน "History of Ancient and Early Medieval India: From the Stone Age to the 12th Century" ( เพียร์สัน อินเดีย, 2552) จักรวรรดิครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของอินเดีย รวมถึงปากีสถานในปัจจุบัน
และตั้งแต่ศตวรรษที่สามก่อนคริสต์ศักราช ศาสนาพุทธมีอิทธิพล ไปทั่วพื้นที่ส่วนใหญ่ของอินเดียและโดยเฉพาะอย่างยิ่งในแคว้นโอริสสา
แต่อิทธิพลของศาสนาพุทธลดลงเมื่อหลักปฏิบัติของศาสนาพุทธหลอมรวมเข้ากับประเพณีมากมายของศาสนาฮินดู และเมื่ออิสลามมีอิทธิพลมากขึ้นในภูมิภาคหลังศตวรรษที่ 10 และในขณะที่ศาสนาพุทธกำลังแพร่หลายในส่วนอื่นๆ ของเอเชีย ตามการสำรวจสำมะโนประชากรปี 2554 มีเพียงประมาณ 0.7% ของประชากรของอินเดียเท่านั้นที่นับถือศาสนาพุทธ
ที่มา: Livesciences
_____
ติดตามข่าวสภาพอากาศ และเช็กจุดฝนตก น้ำท่วม ถนนรถติด ผ่าน TNN EARTH
Website : https://bit.ly/3MXvq5I
Youtube : https://bit.ly/3MZUVmK
TikTok : https://bit.ly/3naJL4p
Facebook : https://bit.ly/3bxVMy0
Line : https://lin.ee/rPHmFpD
เช็กเส้นทางรถติด : http://www.bmatraffic.com/index.aspx
ที่มาข้อมูล : -