บลจ.กสิกรไทยชี้หุ้นไทยน่าสนใจที่ปันผลสูงแนะสะสม แต่การกระจายความเสี่ยงไปต่างประเทศในหลายสินทรัพย์ผลตอบแทนเฉลี่ยดีกว่าในระยะยาว
นายวิน พรหมแพทย์, CFA ประธานกรรมการบริหาร บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กสิกรไทย จำกัด เปิดเผยว่า คาดการณ์ว่าในปี 68 เศรษฐกิจไทยน่าจะเติบโตราวร้อยละ 2.4 ภายใต้เงินเงินเฟ้อร้อยละ 1.3 โดยค่าเฉลี่ยการลงทุนหุ้นไทยปีที่แล้วให้ผลตอบแทนที่ร้อยละ 1.8 และมองไปข้างหน้าระยะยาว 5-10 ปี คดผลตอบแทนเฉลี่ยน่าจะอยู่ที่ระดับร้อยละ 5 หลักๆ ผลตอบแทนมาจากเงินปันผลเป็นหลัก จึงมีความน่าสนใจที่จ่ายปันผลดีในระดับต้นๆ ของตลาดโลกด้วย โดยภาวะตลาดในปัจจุบันมองไปข้างหน้าเริ่มน่าสนใจเข้าสะสมการลงทุนได้ในหลายกลุ่มที่่ปันผลดี อาทิ แบงก์ อสังหาริมทรัพย์ สื่อสาร พลังงาน ทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (Real Estate Investment Trust หรือ REIT) เป็นต้น บวกกับขณะนี้สถานการณ์ตลาดหุ้นไทยมีมูลค่าหุ้น (Value ) น่าสนใจที่จะเริ่มสะสมได้ ขณะที่ คาดการณ์เป้าดัชนีหุ้นไทยปี 2568 หลักทรัพย์กสิกรไทยคาดการณ์ไว้ที่ระดับ 1,520 จุด
"ตามที่ให้ข้อมูลตลาดหุ้นไทยไป แม้เราจะคาดหวังผลตอบแทนหุ้นไทยที่ร้อยละ 5 ต่อปี เทียบกับหุ้นโลกที่ร้อยละ 6-7 แต่หุ้นไทยก็ถือว่ามีเสน่ห์ข้อหนึ่ง ซึ่งไม่มีใครมี คือ ปันผล จริงๆ ผลตอบแทนร้อยละ 5 ที่จะได้มา มาจากปันผลสักประมาณร้อยละ 4 เพราะฉะนั้นถ้าถามผมว่าหุ้นไทยมีจุดน่าสนใจตรงไหน ผมจะเลือกว่าเป็นหุ้นปันผลสูง ซึ่งเราจ่ายปันผลมากอันดับท้อปๆ ของโลกแล้ว ตัวเลขปันปลร้อยละ 5 ต่อปี เป็นปันผลก็ร้อยละ 4 แล้ว ดังนั้น ก็จะแนะนำว่าถ้าท่านยังจะลงทุนในหุ้นไทยก็อาจจะลองดูหุ้นที่อยู่ในกลุ่มปันผลสูง" นายวิน กล่าว
สรุปข่าว
ทั้งนี้ จากการทำงานวิจัยครั้งแรกร่วมกับ J.P. Morgan Asset Management เพื่อประเมินภาพเศรษฐกิจและหาความเสี่ยงในการลงทุน ให้ตอบโจทย์ความต้องการของผู้ลงทุนไทย ก่อนที่จะนำมาจัดพอร์ตในระยะยาว 10 -15 ปีขึ้นไป และจะให้เป็นทางเลือกของนักลงทุนทั่วไปและแผนสำหรับการลงทุนเพื่อรองรับการเกษียณอายุได้นั้น จากการศึกษาพบว่าการกระจายไปลงทุนในต่างประเทศด้วยและลงทุนในหลากหลายสินทรัพย์คละกันไปจะได้ผลตอบแทนที่ดีกว่าการลงทุนในตลาดหุ้นไทยหรือลงทุนในประเทศอย่างเดียว นอกจากนี้ การกระจายลงทุนยังช่วยรองรับความไมแน่นอนจากความเสี่ยงจากนโยบายประธานาธิบดีสหรัฐ นายโดนัลด์ ทรัมป์ ด้วย ทั้งนี้ งานวิจับพบว่าการลงทุนในหุ้นโลกได้ผลตอบแทนเฉลี่ยในระยะ 10 ปี อยู่ที่ราวร้อยละ 7-8 , หุ้นไทยเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 5 , ตราสารหนี้ไทยอยู่ที่ร้อยละ 2.8 และ Private Equity เฉลี่ยร้อยละ 8-9
โดย บลจ.กสิกรไทย ได้ทำงานวิจัยนี้เผยให้เห็นถึงเศรษฐกิจโลกที่กำลังเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ เช่นเดียวกันกับประเทศไทยที่กำลังเผชิญกับความท้าทายด้านโครงสร้างหลายประการ เช่น ปัญหาสังคมผู้สูงอายุและภาระหนี้ครัวเรือนสูงปัจจัยเหล่านี้ล้วนส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญ ทั้งในเชิงบวกและเชิงลบต่อผลตอบแทนการลงทุนในตลาดการเงินทั้งในและต่างประเทศ
ดังนั้น เพื่อต่อยอดจากบทวิจัย "Long-Term Capital Market Assumptions" (LTCMAs) ของJ.P. Morgan Asset Management ที่ได้รับการยอมรับมาอย่างยาวนาน บลจ.กสิกรไทย จึงได้พัฒนาบทวิจัย "KAsset Capital Market Assumptions" (KCMA) ขึ้น เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของผู้ลงทุนไทยโดยเฉพาะบทวิจัยนี้ ครอบคลุมแนวโน้มเศรษฐกิจระยะยาวในอีก 10-15 ปีข้างหน้าอย่างครบถ้วน รวมถึงการเติบโตทางเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อ อัตราดอกเบี้ย และผลตอบแทนของสินทรัพย์กว่า 100 ประเภท ทั้งในและต่างประเทศ ทั้งนี้ บทวิจัย KCMA เป็นผลงานที่เกิดจากความมุ่งมั่นทุ่มเทในการทำงานร่วมกันของทีมผู้เชี่ยวชาญกว่า 30 คน จาก 4 ทีมบริหารการลงทุนหลัก ทั้งจากบลจ.กสิกรไทย และ J.P. Morgan Asset Management
โดยบทวิจัย KCMA จัดทำขึ้นเพื่อให้คำแนะนำนักลงทุนทัวไทยคนที่ลงทุนรองรับการเกษียณเกี่ยวกับผลตอบแทนที่คาดหวังจากการลงทุนในสินทรัพย์ต่างๆ ซึ่งจะช่วยให้ผู้ลงทุนกลุ่มต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นผู้ลงทุนสถาบัน ผู้จัดการกองทุน และที่ปรึกษาทางการเงิน สามารถจัดสรรสินทรัพย์เชิงกลยุทธ์ (Strategic Asset Allocation) และการบริหารจัดการความเสี่ยงได้อย่างเป็นระบบ
ปัจจุบัน บลจ.กสิกรไทย ได้นำกรอบบทวิจัยมาใช้ในการบริหารจัดการพอร์ตการลงทุนแบบกระจายในหลากหลายสินทรัพย์ เช่น กองทุนกลุ่มK-WealthPLUS Series และการวางแผนการจัดสรรสินทรัพย์ในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพตามกลุ่มช่วงอายุของสมาชิก (Life Path Solution) โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างผลตอบแทนระยะยาวอย่างยั่งยืนต่อไป
ที่มาข้อมูล : บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กสิกรไทย จำกัด
ที่มารูปภาพ : บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กสิกรไทย จำกัด