

สรุปข่าว
นักวิทยาศาสตร์องค์กรวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งออสเตรเลีย ค้นพบว่าซากฟอสซิลจระเข้อายุ 93 ล้านปีในก้อนหินขนาดใหญ่ ณ เซ็นทรัลควีนส์แลนด์ ประเทศออสเตรเลีย ซึ่งเก็บรักษาไว้ร้อยละ 35 ประกอบด้วยกะโหลกที่ใกล้จะสมบูรณ์และฟันที่น่ากลัว หลังตรวจสอบรายละเอียดเพิ่มเติมโดยใช้เทคนิคนิวเคลียร์สแกนส่วนที่เป็นซากดึกดำบรรพ์ของกระเพาะอาหารก็ต้องตกตะลึง เนื่องจากจระเข้ดังกล่าวได้กินลูกไดโนเสาร์ตัวหนึ่งก่อนที่มันจะตายได้ไม่นาน
ทั้งนี้ จระเข้ดังกล่าวถูกขนานนามว่า Confractosuchus sauroktonos ซึ่งแปลว่า ‘นักฆ่าไดโนเสาร์จระเข้ที่แตก” โดยวัดความยาวจระเข้ได้ประมาณ 2 – 2.5 เมตร ซึ่งทีมวิจัยและนักโบราณคดีจากพิพิธภัณฑ์ยุคไดโนเสาร์แห่งออสเตรเลีย และมหาวิทยาลัยนิวอิงแลนด์ ได้ใช้การถ่ายภาพนิวเคลียร์และซินโครตรอนขั้นสูงเพื่อยืนยันว่า จระเข้ได้กินลูกไดโนเสาร์ที่อายุน้อยกว่าก่อนที่มันจะตายอย่างกะทันหัน หลังจากเกิดอุทกภัยโดยนักโบราณคดีเชื่อว่า มีความเป็นไปได้ที่จระเข้จะถูกฝัง และเสียชีวิต ส่วนคำว่า ‘แตก’ ของชื่อหมายถึง ความจริงที่ว่ามันถูกค้นพบในก้อนหินขนาดใหญ่ที่แตกเป็นเสี่ยง ๆ
ดอกเตอร์โจเซฟ เบวิตต์ นักวิทยาศาสตร์เครื่องมืออาวุโส ผู้ร่วมวิจัย ระบุว่า “ซากฟอสซิลถูกพบในก้อนหินขนาดใหญ่ มวลสารมักเกิดขึ้นจากอินทรีย์วัตถุ โดยสันนิษฐานว่าจระเข้จมลงสู่ก้นแม่น้ำ เนื่องจากสภาพแวดล้อมอุดมไปด้วยแร่ธาตุ ในการสแกนครั้งแรกในปี 2015 เห็นกระดูกฝังอยู่ในนั้น ซึ่งดูเหมือนกระดูกไก่ที่มีขอเกี่ยวและคิดทันทีว่าเป็นไดโนเสาร์อยู่ในลำไส้ แต่ยังไม่มีการระบุสายพันธุ์อย่างเป็นทางการ เบื้องต้นสันนิษฐานว่าเป็นออร์นิโทพอด ทั้งนี้ เพื่อยืนยันว่าไดโนเสาร์อยู่ในลำไส้ของจระเข้จริง ๆ ทีมงานได้สำรวจอุโมงค์หนอน รากพืช และลักษณะทางธรณีวิทยาที่ขยายระหว่างเศษหิน ดังนั้น เราจึงมีเคมีของหินเป็นหลักฐาน
ที่มาข้อมูล : -