TNN รู้จัก "เส้นเลือดฝอยอักเสบ" สาเหตุเกิดจากอะไร ลักษณะรอยโรคเป็นอย่างไร?

TNN

Health

รู้จัก "เส้นเลือดฝอยอักเสบ" สาเหตุเกิดจากอะไร ลักษณะรอยโรคเป็นอย่างไร?

รู้จัก เส้นเลือดฝอยอักเสบ สาเหตุเกิดจากอะไร ลักษณะรอยโรคเป็นอย่างไร?

ทำความรู้จัก "ภาวะเส้นเลือดฝอยอักเสบ" แพทย์ผิวหนังชี้รักษาได้ สาเหตุเกิดจากอะไร ลักษณะรอยโรคเป็นอย่างไร

ทำความรู้จัก "ภาวะเส้นเลือดฝอยอักเสบ" แพทย์ผิวหนังชี้รักษาได้ สาเหตุเกิดจากอะไร ลักษณะรอยโรคเป็นอย่างไร

นายแพทย์ไพโรจน์ สุรัตนวนิช รองอธิบดีกรมการแพทย์  กล่าวว่า เส้นเลือดฝอยอักเสบ สามารถพบได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ โดยจะพบในวัยผู้ใหญ่มากกว่า 90% ภาวะเส้นเลือดฝอยอักเสบ ประมาณครึ่งหนึ่งเกิดจากความผิดปรกติของผิวหนังเอง ไม่สามารถหาสาเหตุได้ ในส่วนที่มีสาเหตุ พบว่า ผื่นรอยโรคอาจเกิดจากการกระตุ้นจากการติดเชื้อแบคทีเรียได้หลายชนิด หรือเกิดจากการติดเชื้อไวรัส เช่น ไวรัสตับอักเสบบี ไวรัสตับอักเสบซี เป็นต้น นอกจากนั้นสามารถเกิดร่วมกับโรคแพ้ภูมิตัวเอง รวมถึงการกระตุ้นจากยา หรือ อาหารเสริมบางชนิด ก็มีรายงานทําให้เกิดภาวะนี้ได้


ลักษณะเส้นเลือดฝอยอักเสบ


นายแพทย์ทนงเกียรติ เทียนถาวร แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคผิวหนัง สถาบันโรคผิวหนัง กล่าวว่า ลักษณะรอยโรคเป็นผื่นที่มีรอยแดงเป็นปื้นที่กดไม่จาง หรือ เป็นตุ่มแดง มีลักษณะคล้ายลมพิษ ในบางรายถ้ามีอาการรุนแรง อาจพบเป็นลักษณะเป็นตุ่มหนอง แตกเป็นแผลได้ โดยผื่นมักจะพบบ่อยที่บริเวณขาทั้งสองข้าง ประมาณ 5-25% จะพบมีอาการทางกายร่วมด้วย เช่น ไข้ ปวดข้อ ปวดกล้ามเนื้อ น้ำหนักลด คลื่นไส้อาเจียน เป็นต้น 


การรักษา


จะเน้นที่การรักษาปัจจัยที่กระตุ้นการเกิดโรคหรือรักษาโรคร่วม การรักษาอาการอักเสบที่ผิวหนัง เป็นการให้ยาแก้แพ้ ยากดภูมิชนิดคอร์ติโคสเตียรอยด์ ยาแก้ปวดบางชนิด เช่น colchicine หรือ indomethacin ซึ่งจะสามารถลดการอักเสบของผื่นได้ ผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง พบว่า ผื่นและอาการของโรคสามารถหายได้ในระยะเวลาไม่กี่อาทิตย์ถึงเป็นเดือน แต่ในบางรายเกือบประมาณ 10% ที่มีอาการรุนแรงหรือมีโรคพบร่วมเยอะ จะพบมีอาการของโรคเรื้อรังระยะเวลานานเป็นปีได้ 


ดังนั้น หากพบว่ามีอาการและรอยโรคที่มีลักษณะคล้ายภาวะดังกล่าว ควรรีบมาปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางเพื่อตรวจวินิจฉัย รวมถึงหาสาเหตุของโรคและให้การรักษาที่เหมาะสม


รู้จัก เส้นเลือดฝอยอักเสบ สาเหตุเกิดจากอะไร ลักษณะรอยโรคเป็นอย่างไร?




ที่มา กรมการแพทย์

ภาพจาก กรมการแพทย์ / AFP

ข่าวแนะนำ