"ดร.อนุสรณ์" มอง "เศรฐกิจโลก" เสี่ยงถดถอยรุนแรง "ภาษีสหรัฐฯ" ฉุดการค้าโลก แนะไทยจับมืออาเซียนรวมกลุ่มเจรจา

ดร.อนุสรณ์ ธรรมใจ คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และอดีตกรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ สาขาเศรษฐศาสตร์ เปิดเผยกับ TNN Wealth ว่ามาตรการภาษีของสหรัฐฯ กระทบเศรษฐกิจโลกอย่างมาก เศรญฐกิจอาจจะเข้าสู่ภาวะถดถอยรุนแรงครั้งใหญ่ใกล้เคียงกับวิกฤติซับไพรม์ได้ แต่ไม่ถึงขั้นเศรษฐกิจตกต่ำรุนแรงเหมือนในช่วงปี 1930 ปริมาณการค้าโลกโดยรวมปรับตัวลดลงรุนแรง การส่งออก และนำเข้าระหว่างสหรัฐฯ และจีนลดลงอย่างมีนัยยะสำคัญ เศรษฐกิจโลกขยายตัวต่ำกว่าคาดการณ์ค่อนข้างมาก จากเดิมคาดการณ์ขยายตัวที่ 3.1% ส่วนเศรษฐกิจสหรัฐฯจะขยายตัวได้ต่ำกว่า 2% ในขณะที่เศรษฐกิจจีนก็จะขยายตัวได้ต่ำกว่าเป้าหมายที่ 5% เช่นเดียวกัน

"ดร.อนุสรณ์" มอง "เศรฐกิจโลก" เสี่ยงถดถอยรุนแรง "ภาษีสหรัฐฯ" ฉุดการค้าโลก แนะไทยจับมืออาเซียนรวมกลุ่มเจรจา

สรุปข่าว

ดร.อนุสรณ์ ธรรมใจ แนะนำให้ประเทศไทยเร่งวางกรอบการเจรจาในเชิงรุก รวมถึงการรวมกลุ่มประเทศเจรจา เพื่อสร้างอำนาจต่อรองที่สูงขึ้น โดยการร่วมกันหารือ และกำหนดยุทธศาสตร์ รวมถึงกำหนดวาระร่วมในการเจรจา เพื่อให้เกิดผลประโยชน์กับทุกประเทศอย่างเป็นธรรม

ส่วนเศรษฐกิจไทยมีความเป็นไปได้สูงที่จะขยายตัวได้ต่ำกว่า 2% โดยมีความเป็นไปได้ที่จะมีการขยายตัวติดลบในบางไตรมาส เช่นในไตรมาสที่ 2 ส่วนครึ่งปีหลัง ถ้าหากไทยไม่สามารถเจรจาหาทางออกได้ ก็มีโอกาสที่เศรษฐกิจจะขยายตัวติดลบ

โดยผลกระทบในอุตสาหกรรมต่าง ๆ จะเห็นผลกระทบรุนแรงในอุตสาหกรรมที่พึ่งพาสหรัฐฯค่อนข้างมาก มีมูลค่าการส่งออกไปยังสหรัฐฯในปริมาณที่สูง ไม่ว่าจะเป็น ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์ ซึ่งมีมูลค่าการส่งออกไปยังสหรัฐฯ 3.7 แสนล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 19.23% ของการส่งออกไปยังสหรัฐฯ โทรศัพท์ และอุปกรณ์โทรศัพท์ มีมูลค่าการส่งออกไปยังสหรัฐ 1.6 แสนล้าน คิดเป็นสัดส่วน 8.45% ของการส่งออกไปยังสหรัฐฯ รวมถึงอุปกรณ์กึ่งตัวนำ หรือทรานซิสเตอร์ หม้อแแปลงไฟฟ้า และส่วนประกอบ และรถยนต์ รวมถึงอุปกรณ์ส่วนประกอบ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม

ซึ่งอาจจะกระทบต่อภาคแรงงงาน ในการลดกำลังการผลิต ในขณะที่การย้ายฐานการผลิตอาจจะยังไม่เกิดขึ้นในระยะแรก แต่อาจจะเห็นการปรับสมดุลการผลิตของบริษัทข้ามชาติที่มีฐานการผลิตในประเทศไทย เช่นบริษํทที่มีฐานการผลิตในหลายประเทศ รวมถึงในสหรัฐฯ ก็อาจจะเพิ่มกำลังผลิตในสหรัฐฯแทนที่การผลิตเพื่อส่งออกจากต่างประเทศ

ในขณะเดียวกันการกำหนดมาตรการภาษีก็จะส่งผลใหคนในสหรัฐฯเผชิญกับค่าครองชีพที่สูงขึ้น อัตราเงินเฟ้อสูงขึ้น ถึงแม้ว่าจะสามารถแก้ไขปัญหาในเรื่องของการขาดดุลการค้าจำนวนมากในหลายประเทศได้ รวมถึงการดึงดูดเม็ดเงินลงทุนจากต่างชาติเข้ามายังสหรัฐฯ และที่สำคัญสหรัฐฯจะสามารถนำเงินที่เก็บภาษีได้เพิ่มขึ้นมาลดการขาดดุลงบประมาณ และสามารถลดภาระภาษีของภาคธุรกิจ และนักลงทุนในสหรัฐฯลงได้ แต่วิธีการนี้ก็จะนำมาซึ่งผลกระทบไปยังหลาย ๆ ประเทศ และเศรษฐกิจโลกโดยรวม

เงินเฟ้อทั่วโลกอาจจะปรับตัวสูงขึ้น โดยเฉพาะประเทศที่พึ่งพาการนำเข้าที่สูงมาก แต่สำหรับประเทศที่สามารถผลิตเพื่อบริโภคภายในประเทศที่สูงกว่า ก็จะได้รับผลกระทบในเรื่องของเงินเฟ้อที่ต่ำกว่า ซึ่งจะส่งผลต่ออัตราดอกเบี้ยที่มีโอกาสที่จะปรับตัวลดลง เพื่อเป็นการผ่อนคลายทางการเงิน

ในขณะที่ประเทศไทย การดำเนินนโยบายการคลังซึ่งในปัจจุบันมีข้อจำกัดที่สูง จากการตั้งงบประมาณขาดดุลต่อเนื่องหลายปี และปริมาณหนี้สาธารณะที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องใกล้เคียงเพดานที่ 70% ซึ่งอาจจะสามารถทำได้ในลักษณะของการเข้าไปบรรเทาผลกระทบเฉพาะจุด เช่นแรงงานที่ถูกเลิกจ้าง ช่วยเหลือ SME เป็นต้น จากงบประมาณที่จำกัด

พร้อมทั้งแนะนำให้ประเทศไทยเร่งวางกรอบการเจรจาในเชิงรุก รวมถึงการรวมกลุ่มประเทศเจรจา เพื่อสร้างอำนาจต่อรองที่สูงขึ้น โดยการร่วมกันหารือ และกำหนดยุทธศาสตร์ รวมถึงกำหนดวาระร่วมในการเจรจา เพื่อให้เกิดผลประโยชน์กับทุกประเทศอย่างเป็นธรรม

ที่มาข้อมูล : ดร.อนุสรณ์ ธรรมใจ

ที่มารูปภาพ : TNN

avatar

มงคล เกษตรเวทิน