จุดเริ่มของนโยบายร้อนครั้งนี้ ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 18 มีนาคมที่ผ่านมา นายกรัฐมนตรีของไทย นางสาวแพทองธาร ชินวัตร ได้ออกมาย้ำถึงแนวคิด การซื้อหนี้ประชาชน ว่าอยากให้เกิดขึ้นจริง หลังจากที่พ่อของตนเอง หรืออดีตนายกรัฐมนตรี นายทักษิณ ชินวัตร ได้กล่าวในระหว่างการปราศรัยในวันก่อนหน้านั้นว่า อยากจะให้มีการ “ซื้อหนี้ประชาชนจากระบบธนาคาร” โดยให้เอกชนเข้าไปซื้อ เพื่อให้คนไทยได้หลุดจากเครดิตบูโร พ้นจากการเป็นหนี้ ได้เริ่มชีวิตใหม่ตั้งตัวอีกครั้ง และเป็นการแก้หนี้ให้กับประเทศ
สรุปข่าว
“สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ได้สำรวจความคิดเห็นเฉพาะประชาชนที่มีหนี้สิน ต่อกรณี “ซื้อหนี้..แก้ ปัญหาให้ประชาชน” จากความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่าง
น.ส.พรพรรณ บัวทอง ประธานสวนดุสิตโพล ระบุว่า จากผลโพลบ่งบอกถึง “ความทุกข์” ของคนไทยที่มีหนี้ และอยู่ในภาวะการเงินที่เปราะบาง แม้มีความหวังต่อมาตรการใหม่อย่างการ “ซื้อหนี้” ที่อาจช่วยปลดล็อกความอึด อัดจากหนี้สิน แต่ก็ยังมีความกังวลว่าจะกลายเป็นการแก้ปัญหาแบบครึ่ง ๆ กลาง ๆ และไม่ยั่งยืนในระยะยาว “เสียงส่วนใหญ่ จึงเรียกร้องให้รัฐบาลปรับโครงสร้างหนี้ ลดภาระค่าครองชีพ และลดอัตราดอกเบี้ย เพื่อช่วยเหลือประชาชน”
อย่างไรก็ตาม การซื้อหนี้ทำได้จริง และไม่ใช่เรื่องใหม่ เคยเกิดขึ้นมาแล้วในเมืองไทย สมัยวิกฤตต้มยำกุ้งปี 40 แต่ถามว่าเหมือนหรือว่าต่างกันอย่างไร
ที่มาข้อมูล : TNN WEALTH
ที่มารูปภาพ : CANVA

ทิฆัมพร อยู่กำเหนิด