GGC ปรับกลยุทธ์ ลุย Specialty Chemicals เต็มตัว ทุ่มงบ 1,500 ลบ.ดันยอด HVP ตั้งเป้า EBITDA โต 2 เท่าในปี 73

นายกฤษฎา ประเสริฐสุโข กรรมการผู้จัดการ บริษัท โกลบอลกรีนเคมิคอล จากัด (มหาชน) หรือ GGC เปิดเผยว่า แผนการดำเนินงานในปี 2568 บริษัทคาดว่าจะสามารถสร้างรายได้ และการเติบโตจากการใช้กำลังการผลิตที่เพิ่มขึ้น โดยตั้งเป้าอัตรากำไร EBITDA Margin จะอยู่ในระดับใกล้เคียงกับในปัจจุบันที่ประมาณ 4%

GGC ปรับกลยุทธ์ ลุย Specialty Chemicals เต็มตัว ทุ่มงบ 1,500 ลบ.ดันยอด HVP ตั้งเป้า EBITDA โต 2 เท่าในปี 73

สรุปข่าว

สำหรับ GGC ภาพรวมของธุรกิจ Bio Energy อาจจะยังดูไม่สดใสมากนักจากความต้องการที่ลดลง จึงมีแผนในการที่จะเพิ่มสัดส่วนผลิตภัณฑ์ HVP ที่มีความสามารถในการทำกำไรที่สูงกว่าเพิ่มมากขึ้นในอนาคต ซึ่งจะเห็นสัดส่วนรายได้ และ EBITDA ของ HVP เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องภายใน 3-5 ปีต่อจากนี้

สำหรับแผนการดำเนินงานใน 5 ปี (2568-2572) บริษัทเตรียมความพร้อมเพื่อการขยาย และสร้างความยั่งยืนทางธุรกิจในระยะยาว ด้วยงบลงทุนไม่น้อยกว่า 1,500 ล้านบาท เพื่อสนับสนุนแผนการเติบโตในระยะยาว รวมถึงการเพิ่มอัตรากำไร โดยตั้งเป้ารายได้มากกว่า 20,000 ล้านบาท และมี EBITDA เติบโตเป็น 2 เท่าจากในปัจจุบัน โดยปัจจุบันบริษัทฯไม่มีหนี้สินทางการเงิน หรือ Debt Free มีสถานะทางการเงินที่แข็งแรง การเตรียมความพร้อมในการจัดหาเงินทุนในรูปแบบ Sustainability Financing พร้อมที่จะจัดหาเงินทุนเพื่อสนับสนุนการเติบโตตามแผนกลยุทธ์

โดยบริษัทได้มีการทบทวนโครงการลงทุนสำคัญ และเร่งดำเนินการต่างๆ อย่างระมัดระวัง โดยการปรับกลยุทธ์ใหม่เพื่อบรรลุเป้าหมายระยะยาวที่สำคัญ ภายใต้กรอบยุทธ์ศาสตร์ Transformation for Future Growth โดยดำเนินการตาม 3 กลยุทธ์หลัก คือ เข้มแข็ง เติบโต ยั่งยืน ด้วยการปรับเปลี่ยนกลุ่มธุรกิจหลักจาก ธุรกิจพลังงานชีวภาพ หรือ BioEnergy ไปสู่ธุรกิจเคมีชีวภาพ หรือ BioChemical ซึ่งยังมีความต้องการและมีแนวโน้มเติบโตในอนาคต

รวมถึงเร่งแสวงหาผลิตภัณฑ์มูลค่าเพิ่ม หรือ High Value Products : HVP ที่ให้ผลตอบแทนสูง และตอบสนองความต้องการของตลาดเข้ามาเพิ่มเติม เพื่อให้บริษัทรักษาขีดความสามารถในการแข่งขัน และเติบโตอย่างยั่งยืน โดยขับเคลื่อนเชิงกลยุทธ์ด้วย 3 Strategic Focus ได้แก่

1. Portfolio Transformation : Transform BioEnergy to BioChemicals

2. Growth in BioChemicals by Capacity Expansion

3. Growth in Specialty Platform with Asset Light Strategy

ทั้งนี้จากสถานการณ์แนวโน้มธุรกิจพลังงานชีวภาพที่ได้รับผลกระทบจากการเข้ามาของ EV Car ทาให้แนวโน้มความต้องการผลิตภัณฑ์ในกลุ่มนี้ลดลง ส่งผลให้ด้านการตลาดมีการแข่งขันที่สูง รายได้จากการขายผลิตภัณฑ์ในกลุ่มพลังงานชีวภาพมีแนวโน้มลดลง บริษัทจึงมีมาตรการบริหารจัดการต้นทุน ลดค่าใช้จ่าย เพื่อรักษาขีดความสามารถในการแข่งขัน รวมถึงมีนโยบายปรับโครงสร้างทางธุรกิจของบริษัทฯ โดยมุ่งเน้นการขยายกำลังการผลิตในกลุ่มผลิตภัณฑ์เคมีชีวภาพให้มากยิ่งขึ้น

ในปี 2567 ยังคงดำเนินโครงการปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงานทั่วทั้งองค์กร หรือ Max Integration เพื่อบริหารจัดการต้นทุน และลดค่าใช้จ่ายทั่วทั้งองค์กร รวมถึงการสร้างความเป็นเลิศทางการตลาด เพื่อขยายการขายออกสู่ตลาดใหม่ที่มีผลกำไรสูงขึ้น นอกจากนี้ได้เริ่มดำเนินการนำเครื่องจักรอุปกรณ์ที่มีอยู่มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด หรือ Asset Utilization เพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ในกลุ่มผลิตภัณฑ์เคมีชีวภาพ และทดลองขายออกสู่ตลาดเรียบร้อยแล้วในช่วงปลายปี 2567 ทั้งนี้ ในปี 2568 ยังคงดำเนินการอย่างต่อเนื่องเพื่อการผลิตและขายผลิตภัณฑ์ใหม่ให้เป็นไปตามเป้าหมาย

ทั้งนี้ภาพรวมธุรกิจเคมีชีวภาพ ยังมีแนวโน้มเติบโตในอนาคต โดยเฉพาะในกลุ่มผลิตภัณฑ์เคมีภัณฑ์สาหรับของใช้ในบ้านและของใช้ส่วนตัว หรือ Home and Personal Care Product: HPC ประกอบกับความได้เปรียบทั้งในการเป็นผู้ผลิตเพียงรายเดียวในประเทศ โดยในปี 2567 ได้เร่งดำเนินการศึกษาโครงการปรับปรุงกระบวนการผลิตในกลุ่มผลิตภัณฑ์เคมีชีวภาพ และการวางแผนในการบริหารจัดการวัตถุดิบให้เพียงพอและมีต้นทุนที่แข่งขันได้ โดยในปี 2568 จะมีการพิจารณาแนวทางการดำเนินการและวางแผนจัดเตรียมเงินลงทุนอย่างเหมาะสมสาหรับการดาเนินการปรับปรุงกระบวนการผลิตในอนาคต

ในขณะเดียวกันบริษัทฯได้เริ่มต้นพัฒนาผลิตภัณฑ์มูลค่าเพิ่ม หรือ HVP เพื่อตอบสนองแนวโน้ม Megatrend ด้านสุขภาพ และความยั่งยืน โดยมุ่งเน้นการสร้างผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์ตลาด และเพิ่มความยั่งยืนทางธุรกิจ ต่อยอดจากผลิตภัณฑ์เดิมที่มีอยู่ 4 แพลตฟอร์ม ได้แก่ 1. อาหารและส่วนประกอบอาหาร (Food & Feed) 2. เครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์ส่วนบุคคล (Cosmetics & Personal Care) 3. โภชนเภสัช (Pharmaceuticals) และ 4. เคมีภัณฑ์ชนิดพิเศษ (Industrial Applications)

โดยตั้งเป้าหมาย EBITDA จากผลิตภัณฑ์มูลค่าสูง และผลิตภัณฑ์ใหม่ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 15 ในปี 2573 ซึ่งบริษัทฯ ได้ดาเนินการศึกษาโอกาสพัฒนาผลิตภัณฑ์มูลค่าสูง (High Value Products) และผลิตภัณฑ์เพื่อความยั่งยืน (Sustainable Products) เพื่อเพิ่มรายได้และกาไรให้กับบริษัทในอนาคต

ในขณะที่แนวทางในการดำเนินการเกี่ยวกับสัดส่วนของผู้ถือหุ้นรายย่อย หรือ Free Float ที่ต่ำกว่าเกณฑ์นั้น บริษัทได้จัดเตรียมแนวทางในการแก้ปัญหาไว้เรียบร้อยแล้ว และมั่นใจว่าจะสามารถดำเนินการให้เป็นไปตามเกณฑ์ที่ตลท.กำหนดได้ภายในเดือนพฤษภาคมปีนี้ ซึ่งถ้าหากมีความคืบหน้าอย่างไรจะแจ้งต่อตลท.ให้นักลงทุนได้ทราบต่อไป

ที่มาข้อมูล : บริษัทจดทะเบียน

ที่มารูปภาพ : TNN

avatar

มงคล เกษตรเวทิน

Thailand Web Stat