
ธนาคารทหารไทยธนชาต [TTB] เปิดเผยว่าที่ประชุมคณะกรรมการของธนาคาร ครั้งที่ 2/2568 อนุมัติการเข้าซื้อหุ้น 89.97% ของ บล.ธนชาต หรือจำนวนหุ้น 2,698,9598,721 หุ้น มูลค่า 3,000 ล้านบาท จาก บมจ.ทุนธนชาต [TCAP] เพื่อเสริมสร้างศักยภาพและความสามารถในการแข่งขันของธนาคาร
โดยอาศัยจุดแข็งของ บล.ธนชาต ซึ่งเป็นบริษัทหลักทรัพย์ชั้นนำที่มีฐานะการเงินแข็งแกร่งและมีประสบการณ์ในธุรกิจยาวนาน โดยจะเสนอการประชุมสามัญประจำปี 2568 ในวันที่ 21 เม.ย.68 เพื่อพิจารณาอนุมัติการเข้าทำรายการ คาดว่าธุรกรรมจะเสร็จสิ้นภายในไตรมาส 3/68

สรุปข่าว
ธนาคารจะใช้แหล่งเงินทุนภายใน ได้แก่ ส่วนเกินจากส่วนทุนที่มีอยู่ โดยการเข้าทำธุรกรรมนี้ไม่มีผลกระทบต่อนโยบายการจ่ายเงินปันผล และดำรงเงินกองทุนของธนาคารฯ เนื่องจากที่ผ่านมาดำรงเงินกองทุนในระดับสูงกว่าเกณฑ์ขั้นต่ำของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) อย่างมีนัยสำคัญมาโดยตลอด
สะท้อนได้จากอัตราส่วนเงินกองทุนรวม (CAR) ของธนาคารอยู่ที่ 19.3% และอัตราส่วนเงินกองทุนขั้นที่ 1 (Tier 1) อยู่ที่ 16.9% ณ สิ้นปี 67 เทียบกับเกณฑ์ขั้นต่ำของธนาคารกลุ่ม D-SIBs ที่ธปท.กำหนดไว้ที่ 12% และ 9.5% ตามลำดับ
แผนการใช้เงินทุนดังกล่าว เป็นไปตามแนวทางในการบริหารจัดการส่วนทุน (Capital Management) อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้เกิดการพัฒนาที่เกี่ยวเนื่องกับการให้บริการและยกระดับประสบการณ์ลูกค้า การสร้างโอกาสในการขยายขอบเขตงานให้กับพนักงานและการสร้างการเติบดตอย่างมีคุณภาพและผลตอบแทนที่ยั่งยืนให้กับผู้ถือหุ้นในระยะยาว
ผลประโยชน์ทางธุรกิจ (Synergy) ที่จะเกิดขึ้นใน 3 ด้านหลัก ได้แก่
1.ผลประโยชน์ด้านรายได้ (Revenue Synergy) ที่จะเกิดจากการยกระดับการให้บริการผ่านจุดแข็งของบล.ธนชาต ซึ่งเป็ฯบริษัทหลักทรัพย์ชั้นนำที่อยู่ในธุรกิจมาอย่างยาวนานและมีฐานะทางการเงินที่แข็งแกร่ง ย่อมสร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้าหากเข้ามาเป็นบริษัทย่อยของธนาคารฯที่จะเข้ามาช่วยเสริมการให้บิรการสำหรับลูกค้ารายย่อยกลุ่ม Wealth Ecosystem โดยเฉพาะอย่วงยิ่งในด้านการลงทุนได้มีความครบครันในที่เดียว (one stop) และช่วยให้ลูกค้าสามารถบริหารจัดการพอร์ตความมั่งคั่ง ได้ครบทุกแง่ทุกมุมการลงทุนแบบ 360 องศา นอกจากนี้ยังช่วยสนับสนุนบริการวาณิชธนกิจ บริการด้านตลาดทุน และการนำเสนอเครื่องมือทางการเงินอื่นๆ สำหรับลูกค้าธุรกิจให้ครอบคลุมและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
2.ผลประโยชน์ด้านต้นทุนการเงิน (Funding Synergy) ที่จะเกิดความยืดหยุ่นและทางเลือกในการจัดหาเงินทุน รวมไปถึงโอกาสในการบริหารสภาพคล่องส่วนเกินของธนาคารฯ เพื่อใช้เป็นแหล่งเงินทุนสำหรับ บล.ธนชาต ในการให้บริการลูกค้า ซึ่งแนวทางดังกล่าวจะช่วยให้การให้บริหารต้นทุนทางการเงินของทั้งธนาคาร และบล.ธนชาตมีประสิทธิภาพมายิ่งขึ้น
3.การรับรู้ผลประโยชน์ด้านต้นทุน (Cost Synergy) จากการปรับปรุงกระบวนการทำงานภายใน และใช้ Facility ร่วมกันในการให้บริการด้านการลงทุน วาณิชธนกิจ และบริการที่เกี่ยวเนื่องกับตลาดทุน
ที่มาข้อมูล : บริษัทจดทะเบียน, ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
ที่มารูปภาพ : TNN