เมื่อทั่วโลกตื่นตัวและหาทางออกของปัญหาโลกเดือดร่วมกัน แต่การเดินหน้าสู่เป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนไม่สามารถพึ่งพาพลังงานหมุนเวียนเพียงอย่างเดียวได้ การใช้พลังงานสะอาดที่เป็นเชื้อเพลิงมั่นคงจึงเป็นอีกทางเลือกที่สำคัญ โดยร่างแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของไทย หรือ PDP2024 ได้บรรจุโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ขนาดเล็ก Small Modular Reactor หรือ SMR ที่มีขนาดกำลังผลิต 300 เมกะวัตต์ จำนวน 2 โรงไฟฟ้า
โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ระบบ SMR เป็นพลังงานสะอาดที่ใช้ความร้อนที่ได้จากปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิชชันแทนการเผาไหม้เชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า ออกแบบเครื่องปฏิกรณ์ให้สามารถผลิตและประกอบเบ็ดเสร็จจากโรงงาน จึงสามารถควบคุมคุณภาพการผลิตได้ง่าย ติดตั้งในพื้นที่ได้อย่างรวดเร็ว มีความยืดหยุ่นสูง สามารถลดหรือเพิ่มกำลังการผลิตได้ตามความต้องการ ขนาดของโรงไฟฟ้าที่เล็กลงส่งผลต่อรัศมีในการปล่อยสารกัมมันตรังสีเมื่อเกิดการรั่วไหล โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ขนาดใหญ่อาจมีรัศมี 16 กิโลเมตร ขณะที่ SMR มีรัศมีไม่เกิน 1 กิโลเมตร จึงสามารถทำแผนฉุกเฉินครอบคลุมภายในบริเวณรอบรั้วโรงไฟฟ้าได้
สรุปข่าว
"แน่นอนว่าโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ไม่ว่าจะเป็นทั้งขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่มันมีความได้เปรียบในเรื่องของการปลดปล่อยทางคาร์บอน เนื่องจากมันเป็นเชื้อเพลิงที่เรียกว่า ไม่ได้ก่อให้เกิดคาร์บอนไดออกไซด์โดยตรง …..ไม่มีความผันผวนในเรื่องของราคา ไม่มีความเปลี่ยนแปลงของปริมาณการผลิตที่ขึ้นอยู่กับอากาศหรือแสงแดด เพราะฉะนั้นผมมองว่าสำหรับประเทศที่ต้องการบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอนนิวเคลียร์น่าจะตอบโจทย์
ตามแผนของร่างพีดีพี2024 ......เมื่อเทียบกับขนาดกำลังการผลิตของโรงไฟฟ้าของทั้งประเทศก็อยู่ในปริมาณ 1%…. มันเป็นจุดเริ่มต้นเป็นก้าวที่สำคัญที่ประเทศจะได้เรียนรู้เทคโนโลยีและ เรื่องของการวางแผนโรงไฟฟ้านิวเคลียร์….. อย่างที่ทุกท่านทราบนะครับตอนนี้เรามีความต้องการที่จะมีดาต้าเซ็นเตอร์ในประเทศ …... ผมคิดว่านิวเคลียร์ เป็นสิ่งที่ตอบโจทย์ในเรื่องของ….การผลิตคาร์บอนไดออกไซด์ที่ต่ำกว่าเชื้อเพลิงประเภทอื่นๆ
โดยทั่วไปตามที่แผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานโรงไฟฟ้านิวเคลียร์สำหรับประเทศที่ไม่เคยมีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์มาก่อนตามขบวนการปรมาณูระหว่างประเทศจะแบ่งไว้ 4 เฟส กินเวลาประมาณ 15- 20 ปี แล้วแต่ประเทศ…... ประเทศไทยเคยอยู่ในช่วงของ เฟสศูนย์และเฟสหนึ่ง ……โดยเรามีคาพาซิตี้เดิม...…. เรามีหน่วยงานของรัฐ ทั้งการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติและหน่วยงานการศึกษา เช่นที่มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์เราก็มีภาควิชาวิศวกรรมนิวเคลียร์ ผมคิดว่าเรามี โพซิชั่นที่ดีที่เรารักษา คาพาซิตี้ที่จะบิวท์โครงการโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ได้ ถ้าหากภาครัฐต้องการ ที่จะใช้โรงไฟฟ้านิวเคลียร์เอสเอ็มอาร์”
โดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย หรือ กฟผมีการสั่งสมประสบการณ์เทคโนโลยีนิวเคลียร์มาโดยตลอด นับตั้งแต่ปี 2550 โดยศึกษาความเหมาะสมของโครงการ ค้นหาพื้นที่ศักยภาพ สรรหาเทคโนโลยี และพัฒนาบุคลากรผู้เชี่ยวชาญ เตรียมความพร้อมรองรับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ขนาดเล็กที่จะเกิดขึ้นในอนาคตตามร่างแผน PDP2024โดยล่าสุดได้ศึกษาและแลกเปลี่ยนความรู้ด้านเทคโนโลยีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ขนาดเล็ก SMR ในเมืองไห่หนานของจีนในช่วงปี 2567 ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นเมืองที่เน้นการใช้พลังงานสะอาดในกลุ่มธุรกิจดาต้าเซ็นเตอร์ และในกลุ่มผู้ผลิตรถยนต์เพื่อใช้เป็นพลังงานทดแทนในอนาคต
“ประเทศที่เป็นเจ้าของเทคโนโลยีเอสเอ็มอาร์ที่มีการใช้งานแล้วในประเทศก็คงเป็นประเทศจีน …… มีโรงไฟฟ้าที่ชื่อว่าเอชทีอาร์พีเอ็มที่มณฑลฉางตง ตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว 2 ยูนิต ยูนิตละ 100 กว่าเมกะวัตต์ เพราะฉะนั้นจีนจะเป็นประเทศที่พรูฟให้เห็นว่า เทคโนโลยีเอสเอ็มอาร์มีความปลอดภัยมีการใช้ได้แล้วก็ตอบสนองอุตสาหกรรมต่างๆ ได้เป็นอย่างดี ….เกาหลีใต้ก็มีโครงการโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ขนาดเล็ก รวมถึงประเทศที่เราคิดว่าอยู่ในตะวันออกกลางที่มีน้ำมันเยอะแยะ ก็มีความคิดที่จะใช้โรงไฟฟ้านิวเคลียร์เหมือนกัน…. จะพบว่าอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย เริ่มคิดที่จะหันมาใช้โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ขนาดเล็กเหมือนกัน
ในฐานะที่ผมมาจากภาคการศึกษาผมเล็งเห็นว่าการที่จะเริ่มโครงการโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ได้ในประเทศสิ่งที่จำเป็นที่สุดคือการให้ความรู้ประชาชนการที่ให้ประชาชนตระหนักถึงประโยชน์ที่เราจะได้จากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์และก็ข้อด้อยที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์มีอยู่แล้วเราอาจจะต้องชั่งกันนิดหนึ่งว่าเราได้ประโยชน์มากกว่าที่เราเสียประโยชน์หรือเปล่า เพราะฉะนั้นการมีส่วนร่วมของประชาชนเป็นสิ่งที่จำเป็นเพื่อให้เขาเห็นว่าโครงการโรงไฟฟ้านิวเคลียร์จำเป็นหรือมีความเหมาะสมที่จะเดินต่อไปหรือเปล่า"
ทั้งนี้ตามรายงานของการ์ทเนอร์ ชี้ว่าดาต้าเซ็นเตอร์ต้องการพลังงานที่พร้อมใช้งานตลอด 24 ชั่วโมง ใน 7วัน ซึ่งพลังงานหมุนเวียน เช่น พลังงานลมหรือพลังงานแสงอาทิตย์ ไม่เสถียรเพียงพอรองรับ สำหรับพลังงานที่เชื่อถือได้และพร้อมใช้งานตลอดเวลาคือพลังงานที่ได้จากโรงไฟฟ้าพลังน้ำ เชื้อเพลิงฟอสซิล หรือนิวเคลียร์เท่านั้นซึ่งธุรกิจกลุ่มนี้มีอัตราการเติบโตสูงอย่างต่อเนื่อง