CREDIT โชว์กำไรปี 2567 ทะลุ 3,624.0 ล้านบาท ทำ All time High ใหม่

ธนาคารไทยเครดิต จำกัด (มหาชน) หรือ CREDIT เปิดเผยว่า สำหรับผลการดำเนินงานของธนาคารไตรมาส 4/2567 สามารถทำสถิติสูงสุดใหม่ (New High) ที่ 1,192.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 61.1% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และกำไรสุทธิของธนาคารในปี 2567 เติบโตได้สูงสุดเป็นประวัติการณ์อีกครั้งที่ 3,624.0 ล้านบาท 

ปัจจัยหลักจากอัตราส่วนผลขาดทุนด้านเครติดที่คาดว่าจะเกิดขึ้นต่อเงินให้สินเชื่อเฉลี่ย (%Creat cost) ลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อน เนื่องจากสินเชื่อด้อยคุณภาพที่เกิดขึ้นใหม่ลดลง จากการบริหารจัดการและคุณภาพหนี้ที่ดีขึ้น หลังจากที่ธนาคารเพิ่มพนักงานติดตามหนี้ (Collection team) ในช่วงตันปี โดยรายได้ดอกเบี้ยของธนาดารเพิ่มขึ้น 10.5% สอดคล้องกับการขยายตัวของเงินให้สินเชื่อย่างแข็งแกร่งที่ 132% 

เนื่องจากธนาคารสามารถรักษาอัตราการเติบโตของเงินให้สินเชื่อได้อย่างต่อเนื่องท่ามกลางเศรษฐกิจที่ยังไม่ฟื้นตัวทั่วทุกภาคส่วนปริมาณเงินให้สินเชื่อที่เดิบโตเพิ่มขึ้นในทุกลุ่มผลิตภัณฑ์สินเชื่อหลักของธนาคาร โดยเฉพาะในกลุ่มผลิตภัณฑ์สินเชื่อธุรกิจไมโครเอสเอ็มอี สินเชื่อส่วนบุคคล และสินเชื่อบ้าน

ธนาคารมีอัตราส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยสุทธิแข็งแกร่งอยู่ที่ 8.6% ลดลงเล็กน้อยจาก 8.7% ในปีก่อน เนื่องจากคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติให้ลอัตราดอกเบี้ยนโยบายในไตรมาสที่ 4/2567 ส่งผลให้กำไรสุทธิต่อส่วนของเจ้าของในปี 2567 ยังอยู่ในระดับที่สูงเมื่อเทียบกับอุตสาหกรมมที่ 17.88% ทั้งนี้ธนาคารและบริษัทย่อยตั้งค่าเผื่อผลขาดทุนด้านเครคิดสำหรับเงินให้สินเชื่อที่คาดว่าจะเกิดขึ้น เพิ่มขึ้น 8.8% เพื่อรักษาระดับของ Coverage rato ในระดับสูงเพื่อรองรับความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต


CREDIT โชว์กำไรปี 2567 ทะลุ 3,624.0 ล้านบาท ทำ All time High ใหม่

สรุปข่าว

CREDIT กำไรสุทธิของธนาคารในปี 2567 เติบโตได้สูงสุดเป็นประวัติการณ์อีกครั้งที่ 3,624.0 ล้านบาท Creat cost ลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อน เนื่องจากสินเชื่อด้อยคุณภาพที่เกิดขึ้นใหม่ลดลง จากการบริหารจัดการและคุณภาพหนี้ที่ดีขึ้น

ดอกเบี้ยธนาคารเพิ่มขึ้น 14.1% จากเดิม 15,894.6 ล้านบาท โดยสิ้นสุดปี 2567 อยู่ที่ 18,138.0 ล้านบาท โดยสาเหตุหลักมาจากรายได้ดอกเบี้ยเงินให้สินเชื่อแก่ลูกหนี้เพิ่มขึ้น 2134.2 ล้านบาท เนื่องจากปริมาณเงินให้สินเชื่อที่เติบโตเพิ่มขึ้นในกลุ่มผลิตภัณฑ์สินเชื่อหลักของธนาคาร โดยเฉพาะกลุ่มสินเชื่อไมโครเอสเอ็มอี สินเชื่อส่วนบุคคล และสินเชื่อบ้านรวมถึงรายได้รายการระหว่างธนาคารและตลาดเงินและเงินลงทุนในตราสารหนี้เพิ่มขึ้น


ทางด้านใช้จ่ายดอกเบี้ยของธนาคารปี 2567 อยูที่ 3,408.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 32.9% จากสิ้นปี 2566 2,564.0 ล้านบาท จากค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยจากเงินรับฝากที่เพิ่มขึ้นเท่ากับ 668.1 ล้านบาท โดยเฉพาะโปรแกรมเงินฝากออมทรัพย์อัลฟา โปรแกรมเงินฝากประจำ และเงินฝากประจำทันใจ ส่งผลให้ค่าใช้จ่ายเงินนำส่งสถาบันคุ้มครองเงินฝากและ ธปท. เพิ่มขึ้นเท่ากับ 51.9 ล้านบาท เมื่อเทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อน


ส่วนรายได้ดอกเบี้ยสุทธิ ด้วยเหตุผลดังกล่าวข้างต้น ส่งผลให้รายได้ดอกเบี้ยสุทธิของธนาคาร ในปี 2567 เท่ากับ 14,729.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 10.5% เมื่อเทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อน

รายได้ (รายจ่าย) ค่าธรรมเนียมและบริการสุทธิเท่ากับ 260.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 191.9 ล้านบาท หรือ 278.8% จากงวดเดียวกันของปีก่อน สาเหตุหลักมาจากค่าธรรมเนียมการค้ำประกันเงินให้สินเชื่อ (บลย.) เพิ่มขึ้น สอดคล้องกับการปล่อยสินเชื่อใหม่ที่เพิ่มขึ้นของเงินให้สินเชื่อไมโครเอสเอ็มอี และสินเชื่อนาโนและไม่โครเครดิต

ทางด้าน สินเชื่อด้อยคุณภาพก่อนหักกค่าเผื่อผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น (gross NPLs) เพิ่มขึ้น 18.2% จากเดิม อยู่ที่ 7,228.4 ล้านบาท อยู่ที่ 6,115.6 ล้านบาท  และอัตราส่วนสินเชื่อด้อยคุณภาพก่อนหักค่าเผื่อผลขาดทุนด้านเครติดที่คาดว่าจะเกิดขึ้น (gross NPLS rato) เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดิมเป็น 4.4% จากปี 2566 ที่ 4.2%  ตามการคาดการณ์ของธนาคาร ซึ่งยังอยู่ในเกณฑ์ที่บริหารจัดการได้ โดยมีสาเหตุหลักมาจากมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้จาก ธปท. หมดโครงการลงในปี 2566 ส่งผลให้สินเชื่อด้อยคุณภาพมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น รวมถึงสภาวะเศรษฐกิจในประเทศภาพรวมที่ยังคงไม่แน่นอนซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่อ คุณภาพสินเชื่อและความสามารถในการชำระหนี้ของลูกหนี้ธนาคาร เช่นแนวโน้มเศรษฐกิจไทยที่คาดว่าจะฟื้นตัวช้า หนี้สินครัวเรือนที่เพิ่มขึ้นในระดับสูง และความไม่แน่นอนทางด้านนโยบายเศรษฐกิจ