

สรุปข่าว
วันนี้(4พ.ค.63) ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผย ผลสำรวจความคิดเห็นผู้ประกอบการทั้งรายใหญ่และกลุ่ม SMEs ระหว่างวันที่ 10-24 เม.ย.63 จำนวน 299 ราย พบว่า ไวรัส COVID-19 ส่งผลกระทบทางลบต่อภาคธุรกิจเป็นวงกว้างผ่านช่องทางการขนส่งเป็นสำคัญ นอกจากนี้ไวรัส COVID-19 ยังส่งผลต่อเนื่องไปยังการจ้างงาน โดยธุรกิจใช้นโยบายให้สลับกันมาทำงานและลดชั่วโมงการทำงานเพิ่มขึ้นเพื่อควบคุมค่าใช้จ่ายโดยเฉพาะในภาคที่มิใช่การผลิต
ทั้งนี้ ภาคธุรกิจส่วนใหญ่มองว่า มาตรการช่วยเหลือที่เร่งด่วนที่สุดคือ การเลื่อนชำระหนี้ เพื่อเสริมสภาพคล่องของธุรกิจให้ดำเนินไปได้จนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลายในปีหน้า
ด้าน น.ส.พิมพ์ชนก วอนขอพร ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า(สนค.) กระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า ภาพรวมสถานการณ์ราคาสินค้าและบริการระหว่างวันที่ 22-28 เม.ย.63 จากการสำรวจในพื้นที่และสอบถามจากผู้ประกอบการพบว่าการซื้อขายมีทิศทางดีขึ้น ปริมาณเพียงพอต่อความต้องการ และราคายังเคลื่อนไหวในทิศทางที่ปกติเมื่อเทียบกับช่วงที่ผ่านมาโดยอาหารสดส่วนใหญ่ปรับราคาเพิ่มขึ้นตามสภาพอากาศที่แปรปรวน และปริมาณผลผลิตที่ออกสู่ตลาด
ส่วนสินค้าอุปโภคบริโภคทั่วไปที่จำหน่ายในห้างสรรพสินค้าส่วนใหญ่ราคาทรงตัวและบางรายการเคลื่อนไหวตามการจัดโปรโมชั่น สินค้าอนามัย เช่นเจลล้างมือ แอลกอฮอล์ น้ำยาฆ่าเชื้อ มีจำหน่ายเพียงพอต่อความต้องการ ส่วนหน้ากากอนามัย ปัจจุบันประชาชนส่วนใหญ่หันไปใช้หน้ากากผ้าทดแทน ขณะที่ภาคการผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคสามารถผลิตสินค้าได้เพียงพอ และมีอัตรากำลังการผลิตเหลืออยู่ แต่ความต้องการซื้อชะลอตัวและยังคงมีปัญหาอุปสรรคด้านสภาพคล่อง ต้นทุน การขนส่ง และแรงงาน ภาคการผลิตและจำหน่ายสินค้าวัสดุก่อสร้างมีการปรับลดอัตรากำลังการผลิตตามคำสั่งซื้อและการก่อสร้างที่ชะลอตัว สำหรับภาคการส่งออก ส่วนใหญ่มีแนวโน้มลดลง และทรงตัว ยกเว้นสินค้าในกลุ่มผลไม้สดและปลาแปรรูปมีแนวโน้มสูงขึ้น
ทั้งนี้ สถานการณ์ราคาและการผลิตยังไม่น่าเป็นห่วง ส่วนการบริโภคของประชาชน ไม่พบว่ามีการตื่นตกใจซื้อของไปเก็บจำนวนมากเหมือนที่ผ่านมาทั้งนี้มาตรการห้ามส่งออกไข่สิ้นสุดเมื่อ
เกาะติดข่าวที่นี่
website: www.TNNThailand.com
facebook : TNNThailand
twitter : @TNNThailand
Line : @TNNThailand
Youtube Official : TNNThailand
ที่มาข้อมูล : -