

สรุปข่าว
วันนี้ (4 มี.ค.) นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม และประธานกรรมการ การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) เปิดเผยภายหลังการประชุมเตรียมการแก้ปํญหาวิกฤตภัยแล้งในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี ) ปี 2563 ระหว่าง กนอ. บริษัท จัดการและพัฒนาทรัพยากรน้ำภาคตะวันออก จำกัด (มหาชน) หรือ EASTW และสมาคมนิคมอุตสาหกรรมไทยและพันธมิตร โดยระบุว่า จากการสำรวจ พบว่า ปริมาณน้ำต้นทุนจากอ่างเก็บน้ำต่างๆภาคตะวันออกอยู่ที่ 35 ล้านลูกบาศก์เมตร(ลบ.ม.)เพียงพอใช้ป้อนภาคอุตสาหกรรมถึงเดือนมิถุนายน ที่ประชุมจึงได้เตรียมมาตราการต่างๆ เพื่อรับมือภัยแล้ง ทั้งการใช้ซ้ำ , การนำน้ำกลับมาใช้ใหม่, และโรงงานต่างๆในนิคมอุตสาหกรรมในภาคตะวันออกประหยัดน้ำให้ได้ 10%
ขณะเดียวกัน ให้ทาง EASTW จัดหาแหล่งน้ำดิบเพิ่มเติมจากบ่อดินภาคเอกชนเข้ามาเสริมในจังหวัดชลบุรีและฉะเชิงเทรา รวมทั้ง กรมชลประทาน ก็จัดหาน้ำเสริมด้วยเช่นกันพบว่า มี 14 โครงการ ที่มีน้ำเข้ามาเสริมระบบ เพื่อป้อนให้ภาคอุตสาหกรรม
ทั้งนี้ หากพ้นเดือนมิถุนายน ยังไม่มีปริมาณน้ำฝนเข้ามาเสริม ทาง กนอ. มีโครงการนำน้ำจากบ่อบำบัดมาเข้ากระบวนการ RO (Reverse Osmosis) เพื่อให้นำน้ำกลับมาใช้ในระบบอุตสาหกรรมได้ราว 14,000 -20,000 ลูกบาศก์เมตร/วัน นอกจากนี้ ในต้นเดือนมิถุนายน จะสามารถสูบน้ำจากแม่น้ำบางปะกงมาใช้ได้ หลังไม่มีปัญหาน้ำกร่อย
ด้านนายจิรายุทธ รุ่งศรีทอง กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท จัดการและพัฒนาทรัพยากรน้ำภาคตะวันออก จำกัด (มหาชน) กล่าว่า ขณะนี้บริษัทได้ดำเนินการทำสัญญาซื้อน้ำจากบ่อเก็บน้ำของภาคเอกชน ที่จังหวัดชลบุรี และมีการเริ่มทยอยสูบน้ำขึ้นมาใช้ป้อนภาคอุตสาหกรรม คิดเป็นปริมาณน้ำเพิ่มขึ้นมา 16 ล้านลูกบาศก์เมตร พร้อมเสนอคณะกรรมการบริษัทอนุมัติการเข้าซื้อบ่อเก็บน้ำภาคเอกชนขนาด 7 ล้านลูกบาศก์เมตร เพื่อเป็นแหล่งเก็บน้ำช่วงภัยแล้งในภาคตะวันออกอีกด้วย
เกาะติดข่าวที่นี่
website: www.TNNThailand.com
facebook : TNNThailand
twitter : @TNNThailand
Line : @TNNThailand
Youtube Official : TNNThailand
ที่มาข้อมูล : -