ไฮสปีด 3 สนามบิน ดอกเบี้ยสูง วัดใจรัฐ (ตอน 1)

ไฮสปีด 3 สนามบิน ดอกเบี้ยสูง วัดใจรัฐ (ตอน 1)

สรุปข่าว


โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน เป็นโครงการนำร่องในการพัฒนาพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC  ซึ่งเป็นโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมที่สำคัญ เชื่อมโยงการเดินทาง อำนวยความสะดวกให้นักท่องเที่ยว นักลงทุน โดยมีมูลค่าโครงการลงทุน 2.24 แสนล้านบาท

โครงการขนาดใหญ่ใช้เงินลงทุนสูงลิ่ว ซึ่งแน่นอนว่าต้องมีการกู้เงินมาลงทุน แต่การกู้เงินครั้งนี้มีแนวโน้มว่าต้องจ่ายดอกเบี้ยสูงอย่างแน่นอน ด้วยที่รัฐกังวลว่าจะซ้ำรอยกรณีโฮปเวลล์ ที่รัฐได้ร่วมจ่ายเงินไปแต่งานไม่เสร็จ ทำให้เสียค่าโง่ทั้งขึ้นทั้งล่อง ทำให้โครงการนี้ใช้รูปแบบเอกชนออกเงินลงทุนก่อน 5 ปี และรัฐมาผ่อนชำระตั้งแต่ปีที่ 6 ปีละ 14,965 ล้านบาท เป็นเวลา 10 ปี ซึ่งวิธีการนี้ทำให้แบกภาระดอกเบี้ยเป็นหลักหมื่นล้าน  แม้ว่ามีวิธีการชำระเงินรูปแบบอื่น ที่ลดภาระดอกเบี้ยลง  เช่น การทยอยจ่ายเงินค่าก่อสร้างตามงานที่เสร็จ ซึ่งจะประหยัดค่าดอกเบี้ยได้มาก แต่คณะกรรมการคัดเลือกโครงการไม่รับข้อเสนอ เพราะอย่างที่บอกกลัวโฮปเวล จนหลอนเสียผลประโยชน์ที่ประเทศที่จะได้รับ 

ขณะเดียวกันต้นทุนที่เพิ่มขึ้นไม่ใช่เพียงดอกเบี้ยจากการชำระคืนที่ล่าช้าเท่านั้น อีกประเด็น คือรัฐไม่ค้ำประกันจำนวนผู้โดยสารในโครงการนี้ ทั้งที่มีผลการศึกษาระบุไว้ ในปี 2566 ช่วงดอนเมือง-สุวรรณภูมิ 103,920 คนต่อวัน และช่วง สุวรรณภูมิ- อู่ตะเภา 65,630 คนต่อวัน

แต่เพราะความกลัวของรัฐบาลไทย ทั้งทึี่โครงการรถไฟและรถไฟความเร็วสูงทัั่วโลกล้วนเข้ามาประกันจำนวนผู้โดยสารทั้งสิ้น แต่เมื่อไม่ยอมค้่ำประกันจำนวนผู้โดยสาร สถาบันการเงินระหว่างประเทศไม่มั่นใจในโครงการ ส่งผลให้หาแหล่งเงินกู้ยาก  ถึงแม้จะมีแต่ภาระดอกเบี้ยเงินกู้ก็แพงเกินไป  ด้วยเพราะมีความเสี่ยงของโครงการในอนาคตสูง กลัวผู้โดยสารไม่ได้ตามเป้าที่ตั้งไว้ จึงกลายเป็นต้นทุนที่เพิ่มขึ้นมหาศาล

การผลักภาระความเสี่ยงทางการเงินให้เอกชน ทั้งๆที่ไม่ได้เป็นตามมาตรฐานสากลที่ทำกันทั่วโลก หวังเพียงแต่ป้องกันความเสี่ยงที่เกิดกับฝั่งรัฐเท่านั้น คงอยากที่จะให้ต่างชาติเข้ามาร่วมลงทุนในโครงการสำคัญของประเทศ   

ที่มาข้อมูล : -

ที่มารูปภาพ :

แท็กบทความ

โครงการรถไฟความเร็วสูง
โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน
ไฮสปีด 3 สนามบิน