

สรุปข่าว
เมื่อเดือนตุลาคมปีที่แล้ว (2020) ยานจัดหาวัสดุ Northrop Grumman Cygnus ได้เป็นเจ้าภาพจัดงานสาธิตเทคโนโลยีที่ถูกเรียกว่า "SharkSat" ขึ้นเป็นเวลา 2 สัปดาห์ บนสถานีอวกาศนานาชาติ (ISS) โดย SharkSat คือการรวมเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นใหม่ในอวกาศ แล้วทำการส่งไปพัฒนาต่อยอดต่อที่ Northrop Grumman กล่าวง่าย ๆ ว่า SharkSat คืองานสาธิตเทคโนโลยี ที่วิจัยและทำการพัฒนาอยู่บนอวกาศนั่นเอง โดยในปี 2020 ได้มีเทคโนโลยีใหม่ ๆ เกิดขึ้นมา 4 อย่าง ดังนี้
- Silicon Germanium (SiGe)
- RF integrated circuits (IC)
- Digital Receiver/ Exciter system-on-a-chip ASIC
- Xilinx ZU19 multiprocessor systems-on-a-chip (MPSoC)
ทั้ง 4 เทคโนโลยีถูกสร้างขึ้นมาเพื่อประกอบกันเป็นซอฟต์แวร์ SDR ที่ชื่อว่า "Ka-Band" ซึ่งแปลว่าช่วงความถี่ของสเปกตรัมแม่เหล็กไฟฟ้าที่ที่จะใช้งาน (26.5 - 40 GHz) อันเป็นช่วงความถี่ที่ในปัจจุบันยังไม่หนาแน่นเท่ากับช่วงความถี่อื่น ๆ ที่ถูกนำไปใช้ในการสื่อสารโทรคมนาคม หรือใช้บนแอปพลิเคชันต่าง ๆ สเปกตรัมแม่เหล็กไฟฟ้าประกอบด้วย แสงที่มองเห็นได้ รังสีอินฟราเรด คลื่นไมโครเวฟ และความถี่วิทยุ เนื่องจากแอปพลิเคชันและช่องสัญญาณใช้ช่วงความถี่เดียวกันมากขึ้น แบนด์วิดท์เหล่านี้จึงเริ่มแออัด นั่นทำให้ Ka-Band มีแบนด์วิดท์ที่มีความหนาแน่นน้อยกว่า และมีอัตราการส่งข้อมูลที่เร็วกว่าแบนด์วิดท์ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน
ด้วย 4 เทคโนโลยีใหม่ที่ถูกนำเสนอใน SharkSat เชื่อว่า Ka-Band กำลังจะสามารถหยิบนำมาใช้ต่อได้ในอนาคตอันใกล้ เช่น 5G, การสื่อสารจากอวกาศไปอวกาศ หรือจากอวกาศลงไปสู่พื้นดิน ซึ่งคาดว่าจะปูทางไปสู่เทคโนโลยียุคหน้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับการใช้งานในสภาพแวดล้อมแบบอวกาศ ที่มีความล่าช้ากว่าการใช้งานทั่ว ๆ ไป
website: www.TNNTHAILAND.com
facebook : TNNONLINE
facebook live : TNN Live
twitter : TNNONLINE
Line : @TNNONLINE
Youtube Official : TNNONLINE
Instagram : TNN_ONLINE
TIKTOK : @TNNONLINE
แหล่งที่มา sciencetimes.com
ที่มาข้อมูล : -