วิจัยเผยความลับ “ขนหมีขั้วโลก” ฝ่าความหนาวเย็นได้อย่างไร

ทีมนักวิทยาศาสตร์นานาชาติศึกษาขนของหมีขั้วโลก เพื่อไขความลับเกี่ยวกับคุณสมบัติการป้องกันการจับตัวของน้ำแข็งบนขน โดยพบว่ามาจากสารเคลือบไขมันตามธรรมชาติ การค้นพบนี้ช่วยอธิบายว่าหมีขั้วโลกทนทานต่อสภาพความหนาวเย็นในแถบแอนตาร์กติกาได้อย่างไร และอาจจะนำเอาคุณสมบัตินี้ไปใช้ในพัฒนาเทคโนโลยี ที่จะช่วยป้องกันการจับตัวของน้ำแข็ง

วิจัยเผยความลับ “ขนหมีขั้วโลก” ฝ่าความหนาวเย็นได้อย่างไร

สรุปข่าว

นักวิจัยศึกษาเกี่ยวกับ “หมีขั้วโลก” ที่นักวิจัยพยายามหาคำตอบว่าขนของพวกมันทำไมถึงไม่ค่อยมีหิมะเกาะ เพื่อจะเอาไปใช้พัฒนาเทคโนโลยีป้องกันการจับตัวของน้ำแข็ง ในบรรดาอุตสาหกรรม

ทีมนักวิจัยจากวิทยาลัยทรินิตี้ดับลิน (Trinity College Dublin) ในประเทศไอร์แลนด์ตั้งข้อสังเกตว่า ถึงแม้บรรดาหมีขั้วโลกจะกลิ้งไปมาบนหิมะ และอยู่ในสภาวะที่อุณหภูมิต่ำกว่าศูนย์องศา แต่ขนของพวกมัน กลับไม่มีน้ำแข็งเกาะ พวกเขาจึงได้ตรวจสอบตัวอย่างขนจากหมีขั้วโลกป่า 6 ตัว โดยมุ่งไปที่องค์ประกอบทางเคมีของไขมันในขนซึ่งเป็นสารเคลือบผิว ตามธรรมชาติ


จากการศึกษาพบว่าไขมันในขน มีองค์ประกอบทางเคมี ที่ประกอบด้วยคอเลสเตอรอล (cholesterol) ไดเอซิลกลีเซอรอล (diacylglycerols) และกรดไขมัน ซึ่งช่วยลดการยึดเกาะของน้ำแข็งได้อย่างมีนัยสำคัญ แต่ถ้ากำจัดไขมันออกไป ขนก็จะมีคุณสมบัติคล้ายกับเส้นผมของมนุษย์ ที่น้ำแข็งอาจจะเกาะติดได้ง่าย


โดยนักวิจัยได้จำลองว่าเส้นขนที่มีไขมันเหล่านี้ จะมีปฏิกิริยากับน้ำแข็งอย่างไร พบว่าเส้นขนสามารถผลักน้ำแข็งได้ดีมาก ส่วนประกอบเหล่านี้ทำให้หมีขั้วโลกมีความได้เปรียบในการป้องกันไม่ให้น้ำแข็งเกาะติดกับตัวของมัน


และนอกจากประโยชน์เชิงโครงสร้างแล้ว ขนที่เคลือบด้วยไขมัน อาจมีบทบาทในกลยุทธ์การล่าอาหารของหมีขั้วโลก โดยช่วยลดแรงเสียดทานเมื่อพวกมันเคลื่อนที่ไปบนน้ำแข็ง และช่วยให้พวกมันประหยัดพลังงาน โดยการลื่นไถลไปบนพื้นน้ำแข็งได้ง่ายขึ้น 

การค้นพบนี้ตีพิมพ์ในวารสารวิจัย Science Advances ซึ่งอาจจะมีส่วนช่วยปูทางไปสู่งานวิจัยต่อไป ที่จะศึกษากลไกการป้องกันการจับตัวของน้ำแข็งตามธรรมชาติในวงกว้าง และนำไปสู่การพัฒนาสารเคลือบที่ยั่งยืนสำหรับพื้นผิวที่สัมผัสกับความเย็นจัด แทนที่สารเคมีสังเคราะห์ เพื่อใช้ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ต่อไป

ที่มาข้อมูล : Reuters / ALFRED-WEGENER-INSTITUTE/UFA-DOCUMENTARY / Jon Aars/Norwegian Polar Institute

ที่มารูปภาพ : Unsplash

แท็กบทความ

วิจัย
ขนหมีขั้วโลก
หมีขั้วโลก
ความหนาวเย็น
greasyhair
polarbears
tnntech