22-05-2022
16:47
16:31
15:58
15:08
14:59
14:54
14:47
14:13
14:08
14:01
13:43
13:21
13:16
12:47
12:35
12:28
12:26
12:21
11:49
10:53
10:36
10:36
10:17
10:16
10:08
09:50
09:48
09:25
09:23
09:17
09:05
09:02
09:00
21-05-2022
20-05-2022
19-05-2022
18-05-2022
17-05-2022
14-05-2022
21:56
21:56
21:54
21:53
21:52
21:51
21:50
21:47
21:00
19:50
07:30
11-05-2022
09-05-2022
08-05-2022
07-05-2022
14:36
06-05-2022
13:22
12:56
05-05-2022
20:01
04-05-2022
14:05
11:18
08:30
03-05-2022
02-05-2022
01-05-2022
30-04-2022
10:51
29-04-2022
27-04-2022
13:16
25-04-2022
24-04-2022
23-04-2022
16:50
16:07
22-04-2022
21-04-2022
20-04-2022
19-04-2022
18-04-2022
17-04-2022
16-04-2022
15-04-2022
21:29
20:59
20:44
11:21
14-04-2022
20:11
20:11
13-04-2022
14:49
14:15
13:21
13:14
12-04-2022
18:30
17:30
12:05
08:54
11-04-2022
20:28
20:23
17:00
16:12
14:11
11:31
11:05
10:58
10-04-2022
19:06
18:58
11:00
10:50
09-04-2022
22:22
22:16
22:10
22:00
21:20
21:11
16:30
12:31
08-04-2022
16:37
10:42
10:42
10:42
1. นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร ผู้สมัครผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) หมายเลข 1 พรรคก้าวไกล
facebook : Wiroj Lakkhanaadisorn - วิโรจน์ ลักขณาอดิศร
นายวิโรจน์ กล่าวในเวทีเปิดแนวคิดผู้สมัครผู้ว่าฯกทม. กับนโยบายด้านสิทธิมนุษยชน หัวข้อ "กรุงเทพฯ เมืองที่ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง" ว่า สิทธิการชุมนุมและการแสดงออกทางการเมืองว่า ขั้นพื้นฐานที่สุดต้องมีการจัดเตรียมห้องสุขา กล้องวงจรปิดและให้ความยุติธรรมกับทุกคน แต่มีอีก 2 เรื่องที่ควรต้องทำ เปิดหน่วยงานราชการกรุงเทพมหานครเป็นพื้นที่ปลอดภัยให้ผู้ชุมนุมได้ และจัดเจ้าหน้าที่สังเกตการณ์การชุมนุมอย่างเป็นกลางได้ ทำงานร่วมกันกับนักข่าวพลเมือง ทำงานร่วมกับภาคีเครือข่ายต่างๆ เพื่อให้การชุมนุมมีความเป็นกลาง และสิทธิของประชาชนได้รับการปกป้อง
ด้านประเด็นผู้สูงอายุต้องลดจำนวนผู้สูงอายุที่ไม่จำเป็นต้องติดเตียงให้ได้ ด้วยการฉีดวัคซีนป้องกันโรคปอดอักเสบ พร้อมตั้งศูนย์กายภาพบำบัดในสวนสาธารณะ มีการจัดส่งยาและแพทย์สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง และกรุงเทพมหานครต้องจัดจ้างผู้บริบาลผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้น
สำหรับเรื่องที่พักราคาแพง เราสามารถใช้กลไกราคาที่ดิน ลดภาษีที่ดินให้กับอพาร์ตเมนต์ที่มีราคาไม่แพงได้ แต่คำถามคือ เราจะเอาเงินที่ไหนมาอุดหนุน ซึ่งโรงแรมใน กทม. 80,000 กว่าแห่ง แต่เข้าระบบเพียง 20,000 กว่าแห่ง เพราะถ้าเข้าระบบจะถูกรีดไถจาก กทม. ซึ่งกทม.มีนักท่องเที่ยวที่มาพักแรมปีละ 30-35 ล้านคน เราจัดเก็บค่าธรรมเนียมได้แค่ 400-500 ล้านบาท หากจัดเก็บได้ครบถ้วน จะสามารถเก็บเงินประมาณ 1,5000 ล้านบาท เราจะเอาเงินไปอุดหนุนบ้านเช่าในการลดภาษีที่ดินอพาร์ตเมนต์ที่มีค่าเช่าในราคาย่อมเยาได้
2. นายสกลธี ภัททิยกุล ผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม. หมายเลข 3 ในนามอิสระ
Facebook : สกลธี ภัททิยกุล
นายสกลธี กล่าวในเวทีเปิดแนวคิดผู้สมัครผู้ว่าฯกทม. กับนโยบายด้านสิทธิมนุษยชน หัวข้อ "กรุงเทพฯ เมืองที่ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง" ว่า การที่จะทำงบประมาณและบริหารกทม.ให้ดี ซึ่งตนเองจะเป็นผู้ว่าที่หาเงินได้และใช้เงินเป็น และกทม.ต้องเริ่มหางาน จะรอเพียงการอุดหนุนจากรัฐบาลอย่างเดียวคงไม่พอ จากสถานการณ์โควิดในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ชี้ให้เห็นแล้วว่า การรอเงินอุดหนุนทำให้กทม.ไม่สามารถพัฒนาไปได้อย่างที่เป็น
สำหรับเรื่องวิกฤตสาธารณสุข ตอนเป็นรองผู้ว่าฯกทม.ได้เห็นปัญหา ซึ่งแนวทางแก้ปัญหาต้องมีการกระจายอำนาจลงไปจุดต่างๆต้องมีมากขึ้นเพราะที่ผ่านมารวมศูนย์ไว้หมด ซึ่งที่จริงแล้วกทม. มีศูนย์สาธารณสุข 69 ศูนย์ กระจายอยู่ตามชุมชนใหญ่ แต่ไม่ได้รับการพัฒนาเท่าที่ควร
ทั้งนี้ นโยบายของตนเอง คือ ต้องติดอาวุธ บุคลากร เทคโนโลยี ทำให้ศูนย์สาธารณสุขแบ่งเบาภาระของโรงพยาบาลให้ได้ และเพิ่มศูนย์บริการสาธารณสุขให้ทั่วถึง เพิ่มงบประมาณให้ยืนหยุ่นให้ได้ในภาวะวิกฤติ
นายสกลธี กล่าวว่า กทม.อาจไม่มีหน้าที่โดยตรงในการดูแลปัญหาค่าครองชีพ แต่ผู้ว่าฯกทม.สามารถช่วยได้ คือ การหาเงินให้เขา ซึ่งกทม.มีระเบียบที่สามารถจัดสรรงบประมาณส่วนกลางได้ และผู้ว่าฯกทม.ต้องเป็นนักบริหารหาแหล่งทุนมาช่วยเหลือ และต้องสร้างอาชีพ และการเพิ่มรายได้ให้คนกทม. โดยกทม.จัดพื้นที่สาธารณะให้ขายอย่างสมดุล โดยต้องไม่กระทบคนเดินเท้าและการจราจร รวมถึงช่วยผู้ค้าที่ไม่มีกำลังไปเช่าแผงในอาคารพาณิชย์ ปรับพื้นที่รกร้างเป็นพื้นที่ทำมาหากิน
ทั้งนี้ นายสกลธี ยืนยันว่า เห็นด้วยกับการใช้สิทธิในการชุมนุมอย่างเต็มที่ในแสดงออกทางการเมืองในพื้นที่สาธารณะ เพราะตนเองเคยทำมาก่อน คิดว่าหากทำภายใต้กฎหมายหรือพื้นที่ที่กำหนดไว้ แต่หากขัดต่อกฎหมายอย่างที่ตนเคยทำก็ต้องรับผลของการกระทำ
ส่วนปัญหาคนเร่ร่อน ต้องได้รับความร่วมมือจากทุกหน่วยงาน ต้องบูรณาการ เจ้าหน้าที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เจ้าหน้าที่ตำรวจ เจ้าหน้าที่กทม.
3. นายสุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ ผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม. หมายเลข 4 พรรคประชาธิปัตย์
facebook : เอ้ สุชัชวีร์
นายสุชัชวีร์กล่าวในเวทีเปิดแนวคิดผู้สมัครผู้ว่าฯกทม. กับนโยบายด้านสิทธิมนุษยชน หัวข้อ "กรุงเทพฯ เมืองที่ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง" ว่า จากการลงพื้นที่ทั้ง 50 เขต ยอมรับว่า คนกรุงเทพฯ ไม่เท่ากันจริงๆ มีปัญหาในทุกพื้นที่ ตนเองจึงประกาศวิสัยทัศน์ว่า กทม. ต้องเป็นเมืองสวัสดิการที่ทันสมัยต้นแบบของอาเซียน คือ ต้องทำให้ทุกคนเข้าถึงการบริการที่ฟรี ทั่วถึง และเท่าเทียม และที่ต้องทันสมัย เพราะที่ผ่านมาเราเสียโอกาสจากการไม่ได้ใช้เทคโนโลยี เพื่อแก้ปัญหารถติด น้ำท่วม การทุจริตคอร์รัปชั่น ส่วนที่ต้องเป็นต้นแบบของอาเซียน เพราะคนไทยน่ารัก มีศักยภาพ มีทรัพยากรสิ่งแวดล้อมที่สมบูรณ์แบบ แต่ยังขาดผู้นำที่จะได้ใช้ได้เต็มศักยภาพ
นายสุชัชวีร์ ยืนยันว่า พร้อมให้การสนับสนุนการแสดงสิทธิทางการเมืองภายใต้ขอบเขตของกฎหมาย และตนเองจะไม่มีเรื่องสองมาตรฐาน จะดูแลการชุมนุมอย่างเท่าเทียมกัน แต่สำคัญที่สุดคือ เรื่องความปลอดภัย ซึ่งสิทธิความปลอดภัยต้องเป็นสิทธิพื้นฐานของคน กทม. ต้องมีการใช้กล้อง CCTV ที่เชื่อมต่อด้วย WiFi ซึ่งจะทำให้การชุมนุม มีความปลอดภัยแน่นอน
สำหรับปัญหาคนไร้บ้าน นายสุชัชวีย์ กล่าวว่า เราต้องคิดว่าคนเท่ากัน คนในเมืองต้องได้รับการดูแลอย่างเท่าเทียมกัน หากเขาต้องการอยู่นอกบ้านเราต้องดูแล และสามารถส่งกลับบ้านได้รับความอบอุ่นได้เราต้องทำ แต่ต้องยอมรับว่า มีคนไร้บ้านจริงๆ ตกงาน ซึ่งเป็นหน้าที่กทม.ต้องมีที่พักพิงและฝึกอาชีพให้ ซึ่งตนเองตั้งใจเป็นผู้ว่าฯ ที่ดูแลทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ โดยมีศูนย์บริการสาธารณสุขที่มีนักจิตบำบัดอย่างทั่วถึง ปัญหาคนไร้บ้านต้องดูแลเยียวยาให้อุ่นใจ คิดว่าเขาเป็นส่วนหนึ่งของครอบครัวคนกรุงเทพฯ
4.นายชัชชาติ สิทธิพันธ์ ผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม. หมายเลข 8 ในนามอิสระ
Facebook : ชัชชาติ สิทธิพันธุ์
นายชัชชาติ กล่าวในเวทีเปิดแนวคิดผู้สมัครผู้ว่าฯกทม. กับนโยบายด้านสิทธิมนุษยชน หัวข้อ "กรุงเทพฯ เมืองที่ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง" ว่า นโยบายด้านสิทธิมนุษยชนนั้น ตรงกับวิสัยทัศน์ของตนเอง คือ ทำให้กรุงเทพฯ เป็นเมืองที่น่าอยู่สำหรับทุกคน และเน้นเรื่องการทำเส้นเลือดฝอยที่เข้าถึงชุมชนและคนตัวเล็ก ซึ่งถือเป็นปัญหาสิทธิมนุษยชน
นายชัชชาติ ยืนยันว่า เสรีภาพการชุมนุมป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชน ซึ่งต้องมีการอำนวยความสะดวกเต็มที่ ต้องมีการเก็บขยะ น้ำดื่ม ห้องน้ำสาธารณะ ความปลอดภัย แพทย์ฉุกเฉิน กล้องวงจรปิดเพื่อให้เกิดความปลอดภัย จำเป็นต้องดูแลทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน
ทั้งนี้ กทม.ต้องเตรียมพื้นที่สาธารณะให้มีการชุมนุมได้ ตามมาตรา 9 ของพ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะฯ หน่วยงานราชการสามารถกำหนดพื้นที่สาธารณะเพื่อการชุมนุมได้ โดยผู้ชุมนุมไม่ต้องขออนุญาตตำรวจตามหมวด 2 เช่น ลานคนเมือง สนามกีฬาไทย-ญี่ปุ่น หรือสวนสาธารณะในทุกๆเขตได้
สำหรับปัญหาวิกฤตโควิด-19 นายชัชชาติ กล่าวว่า หลังจากโควิด กรุงเทพฯ ต้องไม่เหมือนเดิม ซึ่งเห็นปัญหาคือ การไม่มีระบบการจัดการ ไม่ทั่วถึง และไม่ฟังประชาชน ซึ่งกทม. ต้องเน้นศูนย์สาธารณสุขที่อยู่ใกล้ชิดกับคนให้มีคุณภาพและครอบคลุม ส่งแพทย์ลงไปดูแลที่เตียง ขยายการดูแลสาธารณสุขไปถึงบ้านของผู้ป่วยติดเตียง พร้อมทั้งเพิ่มบุคลากรทำงานสาธารณสุขในพื้นที่เส้นเลือดฝอย
ส่วนปัญหาคนไร้บ้าน นายชัชชาติ กล่าวว่า จากที่ได้วิ่งแถวถนนสุขุมวิท พบว่า มีทั้งคนไร้บ้าน คนเร่ร่อน ผู้ป่วยจิตเวช คนขายบริการ ซึ่งหัวใจการแก้ไขปัญหาคือ ไร้บ้านแต่ต้องไม่ไร้สิทธิ ไร้โอกาส กทม. ต้องมีการลงทะเบียนกับกระทรวงมหาดไทยให้คนเหล่านี้มีสิทธิเข้าถึงให้เข้าสู่ระบบ และมีสวัสดิการพื้นฐาน พร้อมทั้งต้องมีศูนย์ช่วยดูแลคนไร้บ้าน เพื่อพักช่วงกลางคืนและทำความสะอาดร่างกาย
นายชัชชาติ กล่าวถึง ความเจริญเข้ามาในเมืองดั้งเดิมว่า หัวใจสำคัญคืออย่าปล่อยให้เมืองพังแล้วค่อยกังวล ต้องมีการสร้างอัตลักษณ์ของเมืองแต่ต้น เพื่อมีจุดแข็งแต่ละย่าน สร้างคุณค่าแต่ละย่าน ไม่ให้คนหนีออกหมดจนนายทุนเข้ามากว้านซื้อที่ดิน ต้องทำให้ชุมชนมีตัวตน สร้างระบบให้เข้มแข็ง มีระบบประชาสังคม ทำให้ประชาพิจารณ์ไม่ให้เป็นแค่พิธีกรรม และกระบวนการผังเมืองและการประเมินสิ่งแวดล้อม (EIA) ต้องเป็นธรรม
5. นางสาวรสนา โตสิตระกูล ผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม. หมายเลข 7 ในนามอิสระ
Facebook : รสนา โตสิตระกูล
นางสาวรสนา กล่าวในเวทีเปิดแนวคิดผู้สมัครผู้ว่าฯกทม. กับนโยบายด้านสิทธิมนุษยชน หัวข้อ "กรุงเทพฯ เมืองที่ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง" ว่า การประกาศเจตจำนงค์ที่สำคัญที่สุดของ กทม. คือ ต้องหยุดโกง กรุงเทพฯเปลี่ยนแน่ ถ้าหากหยุดโกงได้สามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงให้ กทม.ได้ ผู้ว่าฯ กทม.ต้องหยุดโกง แล้วการเปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้นได้จริงใน กทม.
สำหรับในภาคธุรกิจมีความพยายามให้หน่วยงานประกาศอย่างชัดเจนว่าทำงานอย่างซื่อสัตย์สุจริต มีธรรมาภิบาล ซึ่งกทม.ควรจะตอบรับ และขอประกาศว่า ถ้ามีโอกาสได้เป็นผู้ว่าฯ กทม.จะนำเครื่องมือ ACT AI มาใช้ทำฐานข้อมูลสำคัญในการจัดซื้อจัดจ้าง เพราะที่ผ่านมาพบว่า โครงการใหญ่มักจะมีเงินทอน เรียกร้องให้ผู้สมัครทุกคนประกาศเป็นสัญญาประชาคม ต่อหน้าประชาชน และเชื่อว่า เมื่อทำอย่างโปร่งใสจะมีงบประมาณเพียงพอทำโครงการหลากหลายได้
นางสาวรสนา กล่าวว่า หากกทม.มีการประมูลโครงการ จะเปิดให้คนทั่วไปเข้ามาสังเกตการณ์ ทำให้เกิดความโปร่งใสประชาชนทั่วไปเข้าถึงข้อมูลได้ และสิ่งสำคัญอีกเรื่อง กทม.มีภาคประชาสังคมที่มีความเชี่ยวชาญในหลากหลายประเด็น จึงต้องเปิดพื้นที่ให้คนที่มีความเชี่ยวชาญเข้ามาร่วมพัฒนา
6.น.ต.ศิธา ทิวารี ผู้สมัครผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร หมายเลข 11 พรรคไทยสร้างไทย
Facebook : น.ต.ศิธา ทิวารี
น.ต.ศิธา กล่าวบนเวทีเปิดแนวคิดผู้สมัครผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กับนโยบายด้านสิทธิมนุษยชน หัวข้อ "กรุงเทพฯ เมืองที่ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง" ว่า ตนเองชูนโยบาย "คิดต่างเพื่อคนกรุงเทพฯ" ทำในสิ่งที่ผู้ว่าฯ กทม. ไม่เคยทำ
สำหรับเรื่องพื้นที่แสดงออกการชุมนุมทางการเมืองนั้น น.ต.ศิธา กล่าวว่า ผู้ว่าฯ กทม. ต้องไปดูปัญหาที่คับข้องใจของคนที่เข้ามาเรียกร้องใน กทม. โดยต้องเข้าไปดูแลและต้องมีการบังคับใช้กฎหมาย รักษาความเป็นระเบียบร้อย และต้องอำนวยความสะดวก และช่วยประสานไปยังหน่วยงานคู่ขัดแย้ง หากการชุมนุมทำให้เกิดความเดือดร้อนต่อคนอื่นต้องมีการเจรจาเพื่อให้เกิดทางออกร่วมกัน
ส่วนเรื่องคนเร่ร่อน น.ต.ศิธา กล่าวว่า กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ รับผิดชอบเรื่องนี้อยู่แล้ว ทางกทม. ต้องไปช่วยดูแลแต่ไม่ควรเอางบประมาณไปจัดสรรซ้ำกับหน่วยงานอื่น แต่ต้องไปเติมเต็มในส่วนที่ขาด ช่วยบริหารจัดการ
น.ต.ศิธา กล่าวถึง วิกฤติโควิดที่ผ่านมาว่า รัฐไม่มีการบริหารงานที่ดี ถ้าบริหารจัดการได้ดี อัตราผู้เสียชีวิตจะลดลงครึ่งหนึ่งได้ และต้องบริหารเสมือนเป็นภาวะสงคราม ที่ต้องบูรณาการทั้งทหาร ตำรวจ และทุกทรัพยากรของรัฐในการแก้ปัญหา
ภาพจาก : AFP
TNNONLINE
นายชวินทร์ ศิรินาค รองปลัดกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า ในส่วนของการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร ซึ่งจะมีขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 22 พฤษภาคม 2565 ตั้งแต่เวลา 08.00-17.00 น. กรุงเทพมหานครได้ดำเนินการจัดเตรียมสถานที่เลือกตั้งภายใต้มาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ตามที่ภาครัฐกำหนด ดังนี้
- สถานที่ ดังนี้ 1.เตรียมพื้นที่โดยแยกพื้นที่ แยกโซน ไม่ปะปนกับคนทั่วไป ทั้งนี้ให้อยู่ในการกำกับของเจ้าหน้าที่และปรับให้เหมาะสมบริบทพื้นที่ 2.เตรียมคูหาพิเศษ สำหรับผู้ติดเชื้อโควิด-19 สำหรับเจ้าหน้าที่ประจำหน่วย ต้องสวมถุงมือ หน้ากากอนามัย face shield ในขณะปฏิบัติหน้าที่
- เจ้าหน้าที่ ดังนี้ 1.หลีกเลี่ยงการเข้าไปในสถานที่แออัด หรือร่วมกิจกรรมที่มีคนรวมกัน ก่อนการปฏิบัติงาน 5 วัน 2.กรณีเจ้าหน้าที่มีประวัติเดินทางไปในสถานที่มีความเสี่ยงสูง มีความใกล้ชิดกับบุคคลที่ติดเชื้อ หรือมีอาการเจ็บป่วย เช่น มีไข้ ไอ เจ็บคอ มีน้ำมูก ควรหลีกเลี่ยงการปฏิบัติหน้าที่และตรวจ ATK ก่อนการปฏิบัติงาน 3.สวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลาที่อยู่ในหน่วยเลือกตั้ง 4.หลีกเลี่ยงการสัมผัสบริเวณใบหน้า ตา จมูก ปาก หรือสัมผัสกับหน้ากากอนามัย 5.หมั่นล้างมือด้วยสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์ โดยเฉพาะก่อนรับประทานอาหาร หลังเข้าห้องน้ำ หรือเมื่อสัมผัสกับพื้นผิวหรือมือผู้อื่น 6.ระหว่างการนับคะแนน ควรจัดให้มีการเว้นระยะห่างระหว่างเจ้าหน้าที่และประชาชนอย่างน้อย 1-2 เมตร และขอความร่วมมือกับประชาชนให้หลีกเลี่ยงการตะโกนเชียร์ขณะนับคะแนน 7.เมื่อเสร็จจากการปฏิบัติหน้าที่และกลับถึงบ้านให้รีบอาบน้ำทำความสะอาดร่างกายทันที 8.เฝ้าระวังสังเกตอาการตนเอง 7 วัน หากมีอาการเจ็บป่วยสงสัยติดเชื้อโควิด-19 ให้ตรวจหาเชื้อด้วย ATK ทันที
- ประชาชนผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง ดังนี้ 1.เตรียมอุปกรณ์ที่จำเป็น เช่น เจลแอลกอฮอล์ ปากกาส่วนตัวสำหรับใช้ลงทะเบียนและกาบัตรเลือกตั้ง 2.สวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา เมื่อออกจากบ้านและขณะอยู่ในหน่วยเลือกตั้ง 3.ตรวจวัดอุณหภูมิ และล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ก่อนเข้าหน่วยเลือกตั้ง หากมีอุณหภูมิสูงกว่า 37.5 องศาเซลเซียส เป็นหวัด ไอหรือจามผิดปกติ ให้ใช้สิทธิลงคะแนนในคูหาพิเศษ ที่คณะกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งได้จัดเตรียมไว้ 4.เว้นระยะห่างจากผู้อื่นอย่างน้อย 1 เมตร 5.ทำการหย่อนบัตรเอง ภายใต้การกำกับดูแลของเจ้าหน้าที่ 6.ล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ก่อนออกจากหน่วยเลือกตั้ง
- ผู้ติดเชื้อโควิด-19 ดังนี้ 1.เตรียมอุปกรณ์ที่จำเป็น เช่น เจลแอลกอฮอล์ ปากกาส่วนตัวสำหรับใช้ลงทะเบียนและกาบัตรเลือกตั้ง 2.สวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา เมื่อออกจากบ้านหรือสถานที่กักตัวและขณะอยู่ในหน่วยเลือกตั้ง 3.หลีกเลี่ยงการใช้บริการขนส่งสาธารณะโดยไม่จำเป็น แนะนำให้เดินทางโดยใช้รถยนต์ส่วนตัว หรือนั่งรถที่หน่วยงานท้องถิ่นมีการจัดเตรียมไว้เท่านั้น 4.เว้นระยะห่างจากผู้อื่นอย่างน้อย 1 เมตร 5.ปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด ให้ออกจากบ้านหรือสถานที่กักตัว เพื่อไปเลือกตั้งตามช่วงเวลาที่กำหนดไว้ และเข้าคูหาสำหรับผู้ติดเชื้อโควิด-19 เท่านั้น 6.ทำการหย่อนบัตรเอง ภายใต้การกำกับดูแลของเจ้าหน้าที่ 7.เมื่อเสร็จจากการเลือกตั้งให้รีบกลับบ้านหรือกลับสถานที่กักตัวทันที ไม่แวะทำกิจกรรมใดๆ ระหว่างทางโดยเด็ดขาด
ที่มา : กรุงเทพมหานคร โดยสำนักงานประชาสัมพันธ์
TNNONLINE
4 พ.ุค.65 ตั้งแต่เวลา 17.30 น. เป็นต้นไป "เอ้ สุชัชวีร์" หรือนายสุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ ผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม. เบอร์ 4 พรรคประชาธิปัตย์ ขึ้นเวทีปราศรัยเป็นครั้งแรก พร้อมกับนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน อดีตผู้ว่าฯกทม.และฮูวัยดีย๊ะ พิศสุวรรณ อุเซ็ง (น้องสาว ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ) อดีตผู้สมัคร ส.ส.ปชป. เขตคลองสามวา และกรรมการบริหารพรรค ที่บินตรงกลับมาจากปากีสถานเพื่อขึ้นเวทีปราศรัยในครั้งนี้ ให้กับชาวคลองสามวา คันนายาว บางเขน มีนบุรี สายไหม หนองจอก ที่โรงเรียนวัดพระยาสุเรนทร์ เขตคลองสามวา
โดยมีผู้สมัคร ส.ก. 6 เขต ประกอบด้วย นที เข็มศรีสุวรรณ ผู้สมัคร ส.ก. เบอร์ 2 เขตคลองสามวา สุนันท์ มีนมณี ผู้สมัคร ส.ก. เบอร์ 6 เขตคันนายาว ณัฐิดา เตาเฟ็ส ผู้สมัคร ส.ก. เบอร์ 3 เขตหนองจอก ศรินทิพย์ มีนมณี ผู้สมัคร ส.ก. เบอร์ 6 เขตมีนบุรี ณรงค์ศักดิ์ ฤทธิวรผล ผู้สมัคร ส.ก. เบอร์ 3 เขตสายไหม สุชาดา เวสารัชตระกูล ผู้สมัคร ส.ก. เบอร์ 6 เขตบางเขน ร่วมขึ้นเวทีปราศรัยด้วย
TNNONLINE