23-05-2022
11:18
08:40
06:21
06:11
00:33
22-05-2022
23:03
22:20
22:20
22:16
21:44
21:03
20:44
20:44
20:20
20:15
20:14
20:09
19:06
18:50
18:38
17:36
17:26
16:47
16:31
15:58
15:08
14:59
14:54
14:47
14:13
14:08
14:01
13:43
13:21
13:16
12:47
12:35
12:28
12:26
12:21
11:49
10:53
10:36
10:36
10:17
10:16
10:08
09:50
09:48
09:25
09:23
09:17
09:05
09:02
09:00
21-05-2022
20-05-2022
19-05-2022
18-05-2022
17-05-2022
14-05-2022
21:56
21:56
21:54
21:53
21:52
21:51
21:50
21:47
21:00
19:50
07:30
11-05-2022
09-05-2022
08-05-2022
07-05-2022
14:36
06-05-2022
13:22
12:56
05-05-2022
20:01
04-05-2022
14:05
11:18
08:30
03-05-2022
02-05-2022
01-05-2022
30-04-2022
10:51
29-04-2022
27-04-2022
13:16
25-04-2022
24-04-2022
23-04-2022
16:50
16:07
22-04-2022
21-04-2022
20-04-2022
19-04-2022
18-04-2022
17-04-2022
16-04-2022
15-04-2022
21:29
20:59
20:44
11:21
14-04-2022
20:11
20:11
13-04-2022
14:49
14:15
13:21
13:14
12-04-2022
18:30
17:30
12:05
08:54
11-04-2022
20:28
20:23
17:00
16:12
14:11
11:31
11:05
10:58
10-04-2022
19:06
18:58
11:00
10:50
09-04-2022
22:22
22:16
22:10
22:00
21:20
21:11
16:30
12:31
08-04-2022
16:37
10:42
10:42
10:42
กรุงเทพมหานคร (กทม.) ได้สรุปผลการเลือกตั้งภายหลังการนับคะแนนเลือกตั้งแล้วเสร็จทั้ง 50 สำนักงานเขต รวม 6,817 หน่วยเลือกตั้ง ผลการนับคะแนนผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (ส.ก.) อย่างไม่เป็นทางการ อย่างไม่เป็นทางการ ในเวลา 01.10 น. ของวันที่ 23 พฤษภาคม 2565 มีดังนี้
การเลือกตั้ง ส.ก.
- ผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมดของหน่วยที่นับคะแนนแล้ว 4,357,098 คน
- ผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งของหน่วยที่นับคะแนนแล้ว 2,635,283 คน
- ร้อยละของผู้มาใช้สิทธิ 60.48
- เป็นผู้สมัครสังกัดพรรคเพื่อไทย จำนวน 19 คน พรรคก้าวไกล 14 คน พรรคประชาธิปัตย์ 9 คน พรรคไทยสร้างไทย 2 คน พรรคพลังประชารัฐ 2 คน กลุ่มรักษ์กรุงเทพ 2 คน และผู้สมัครอิสระ 2 คน
TNNONLINE
วันนี้ (23 พ.ค.65) กรุงเทพมหานคร โดยสำนักงานประชาสัมพันธ์ ได้เผยแพร่ข้อมูลโดยระบุว่า ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นสมควรให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่นของกรุงเทพมหานคร และคณะกรรมการการเลือกตั้งได้ประกาศกำหนดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (ส.ก.) และผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ในวันที่ 22 พฤษภาคม 2565 เวลา 08.00 - 17.00 น.
ทั้งนี้เมื่อนับคะแนนเลือกตั้งแล้วเสร็จทั้ง 50 สำนักงานเขต รวม 6,817 หน่วยเลือกตั้ง ผลการนับคะแนนผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็น ส.ก. และผู้ว่าฯ กทม. อย่างไม่เป็นทางการ ในเวลา 01.10 น. ของวันที่ 23 พฤษภาคม 2565 มีดังนี้
การเลือกตั้ง ส.ก.
- ผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมดของหน่วยที่นับคะแนนแล้ว 4,357,098 คน
- ผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งของหน่วยที่นับคะแนนแล้ว 2,635,283 คน
- ร้อยละของผู้มาใช้สิทธิ 60.48
- เป็นผู้สมัครสังกัดพรรคเพื่อไทย จำนวน 19 คน พรรคก้าวไกล 14 คน พรรคประชาธิปัตย์ 9 คน พรรคไทยสร้างไทย 2 คน พรรคพลังประชารัฐ 2 คน กลุ่มรักษ์กรุงเทพ 2 คน และผู้สมัครอิสระ 2 คน
การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
- ผู้มีสิทธิเลือกตั้งในบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง จำนวน 4,402,948 คน
- ผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่มาแสดงตนขอรับบัตรเลือกตั้ง จำนวน 2,673,696 คน
- ร้อยละของผู้มาใช้สิทธิ 60.73
- บัตรดี จำนวน 2,561,447 บัตร คิดเป็นร้อยละ 95.80
- บัตรเสีย จำนวน 40,017 บัตร คิดเป็นร้อยละ 1.50
- บัตรไม่ประสงค์ลงคะแนน จำนวน 72,227 บัตร คิดเป็นร้อยละ 2.70
- เขตที่มีผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งมากที่สุด คือ เขตทวีวัฒนา ร้อยละ 67.65
- เขตที่มีผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งน้อยที่สุด คือ เขตดุสิต 45.82
ผลการนับคะแนนผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ปรากฎว่า หมายเลข 8 นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร สังกัดอิสระ ได้รับคะแนนเสียงเลือกตั้งสูงสุด จำนวน 1,386,215 คะแนน
แจ้งเหตุที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งระหว่างวันที่ 23-29 พฤษภาคม 2565
ผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งได้เนื่องจากมีเหตุอันสมควรให้แจ้งเหตุที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งต่อนายทะเบียนท้องถิ่น ระหว่างวันที่ 23-29 พฤษภาคม 2565 โดยสามารถแจ้งเหตุได้ 3 ช่องทาง คือ
1. ทำเป็นหนังสือยื่นด้วยตนเองหรือมอบหมายให้บุคคลอื่นยื่นแทน
2. ทำเป็นหนังสือจัดส่งทางไปรษณีย์ โดยถือเอาวันที่ไปรษณีย์ลงรับเป็นวันแจ้งเหตุฯ
3. แจ้งทางอิเล็กทรอนิกส์ที่เว็บไซต์ www.bora.dopa.go.th หรือ www.ect.go.th หรือ แอปพลิเคชัน Smart Vote หัวข้อ การแจ้งเหตุจำเป็นที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งทางอิเล็กทรอนิกส์
ทั้งนี้ เหตุที่ถือเป็นเหตุจำเป็นที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งได้ ประกอบด้วย
1. มีกิจธุระจำเป็นเร่งด่วนที่ต้องเดินทางไปพื้นที่ห่างไกล
2. เจ็บป่วยและไม่สามารถเดินทางไปใช้สิทธิเลือกตั้งได้
3. เป็นคนพิการหรือทุพพลภาพ หรือผู้สูงอายุและไม่สามารถเดินทางไปใช้สิทธิเลือกตั้งได้
4. เดินทางออกนอกราชอาณาจักร
5. มีถิ่นที่อยู่ห่างไกลจากที่เลือกตั้งเกินกว่า 100 กิโลเมตร
6. ได้รับคำสั่งจากทางราชการให้ไปปฏิบัติหน้าที่นอกเขตเลือกตั้ง
7. เหตุสุดวิสัยอื่น
ข้อมูลจาก กรุงเทพมหานคร
ภาพจาก TNN ONLINE
TNNONLINE
ความคืบหน้าการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (ส.ก.) และผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (ผู้ว่าฯกทม.) ที่มีขึ้นในวันที่ 22 พฤษภาคม 2565 เวลา 08.00 - 17.00 น. ที่ผ่านมา
ทั้งนี้ เมื่อนับคะแนนเลือกตั้งแล้วเสร็จทั้ง 50 สำนักงานเขต รวม 6,817 หน่วยเลือกตั้ง ผลการนับคะแนนผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็น ส.ก. และผู้ว่าฯ กทม. อย่างไม่เป็นทางการ ในเวลา 01.10 น. ของวันที่ 23 พฤษภาคม 2565 มีดังนี้
การเลือกตั้ง ส.ก.
- ผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมดของหน่วยที่นับคะแนนแล้ว 4,357,098 คน
- ผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งของหน่วยที่นับคะแนนแล้ว 2,635,283 คน
- ร้อยละของผู้มาใช้สิทธิ 60.48
การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
- ผู้มีสิทธิเลือกตั้งในบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง จำนวน 4,402,948 คน
- ผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่มาแสดงตนขอรับบัตรเลือกตั้ง จำนวน 2,673,696 คน
- ร้อยละของผู้มาใช้สิทธิ 60.73
- บัตรดี จำนวน 2,561,447 บัตร คิดเป็นร้อยละ 95.80
- บัตรเสีย จำนวน 40,017 บัตร คิดเป็นร้อยละ 1.50
- บัตรไม่ประสงค์ลงคะแนน จำนวน 72,227 บัตร คิดเป็นร้อยละ 2.70
- เขตที่มีผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งมากที่สุด คือ เขตทวีวัฒนา ร้อยละ 67.65
- เขตที่มีผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งน้อยที่สุด คือ เขตดุสิต 45.82
ข้อมูลจาก กรุงเทพมหานคร
ภาพจาก TNN ONLINE
TNNONLINE
ผลคะแนนเลือกตั้งผู้ว่า กทม. (อย่างไม่เป็นทางการ) นับแล้ว 100%
อันดับ 1 เบอร์ 8 นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ สมัครในนามอิสระ 1,386,769 คะแนน
อันดับ 2 เบอร์ 4 นายสุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ พรรคประชาธิปัตย์ 254,723 คะแนน
อันดับ 3 เบอร์ 1 นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร พรรคก้าวไกล 253,938 คะแนน
อันดับ 4 เบอร์ 3 นายสกลธี ภัททิยกุล สมัครในนามอิสระ 230,534 คะแนน
อันดับ 5 เบอร์ 6 พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง สมัครในนามอิสระ 214,805 คะแนน
อันดับ 6 เบอร์ 7 นางสาวรสนา โตสิตระกูล สมัครในนามอิสระ 79,009 คะแนน
อันดับ 7 เบอร์ 11 น.ต.ศิธา ทิวารี พรรคไทยสร้างไทย 73,926 คะแนน
อันดับ 8 เบอร์ 5 นายวีรชัย เหล่าเรืองวัฒนะ สมัครในนามอิสระ 20,750 คะแนน
อันดับ 9 เบอร์ 2 พ.ท.หญิง ฐิฏา รังสิตพล มานิตกุล สมัครในนามอิสระ 19,859 คะแนน
อันดับ 10 เบอร์ 9 นางสาววัชรี วรรณศรี สมัครในนามอิสระ 8,280 คะแนน
อันดับ 11 เบอร์ 24 นายโฆสิต สุวินิจจิต สมัครในนามอิสระ 3,247 คะแนน
อันดับ 12 เบอร์ 12 นายประยูร ครองยศ สมัครในนามอิสระ 2,219 คะแนน
อันดับ 13 เบอร์ 10 นายศุภชัย ตันติคมน์ สมัครในนามอิสระ 2,189 คะแนน
อันดับ 14 เบอร์ 16 นางสาวศศิกานต์ วัฒนะจันทร์ สมัครในนามอิสระ 2,129 คะแนน
อันดับ 15 เบอร์ 22 นายวรัญชัย โชคชนะ สมัครในนามอิสระ 1,128 คะแนน
อันดับ 16 เบอร์ 14 นายธเนตร วงษา สมัครในนามอิสระ 1,094 คะแนน
อันดับ 17 เบอร์ 18 นางสาวสุมนา พันธุ์ไพโรจน์ สมัครในนามอิสระ 909 คะแนน
อันดับ 18 เบอร์ 13 นายพิศาล กิตติเยาวมาลย์ สมัครในนามอิสระ 868 คะแนน
อันดับ 19 เบอร์ 31 นายวิทยา จังกอบพัฒนา สมัครในนามอิสระ 813 คะแนน
อันดับ 20 เบอร์ 17 นายอุเทน ชาติภิญโญ สมัครในนามอิสระ 757 คะแนน
อันดับ 21 เบอร์ 19 นายไกรเดช บุนนาค สมัครในนามอิสระ 636 คะแนน
อันดับ 22 เบอร์ 15 พล.อ.ต.ทูตปรีชา เลิศสันทัดวาที สมัครในนามอิสระ 574 คะแนน
อันดับ 23 เบอร์ 20 นางอมรพรรณ อุ่นสุวรรณ สมัครในนามอิสระ 558 คะแนน
อันดับ 24 เบอร์ 29 นายกฤตชัย พยอมแย้ม พรรคประชากรไทย 494 คะแนน
อันดับ 25 เบอร์ 25 นายประพัฒน์ บรรจงศิริเจริญ สมัครในนามอิสระ 460 คะแนน
อันดับ 26 เบอร์ 23 นายเฉลิมพล อุตรัตน์ สมัครในนามอิสระ 432 คะแนน
อันดับ 27 เบอร์ 30 นายพงศา ชูแนม พรรคกรีน 424 คะแนน
อันดับ 28 เบอร์ 27 นายภูมิพัฒน์ อัศวภูภินทร์ สมัครในนามอิสระ 391 คะแนน
อันดับ 29 เบอร์ 26 พล.ต.ท.มณฑล เงินวัฒนะ สมัครในนามอิสระ 360 คะแนน
อันดับ 30 เบอร์ 21 นายนิพัทธ์พนธ์ สุวรรณชนะ สมัครในนามอิสระ 342 คะแนน
เกาะติดการรายงานผลคะแนนเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.ได้ที่นี่
TNNONLINE
ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นสมควรให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่นของกรุงเทพมหานคร และคณะกรรมการการเลือกตั้งได้ประกาศกำหนดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (ส.ก.) และผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2565 ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำกรุงเทพมหานคร นายขจิต ชัชวานิชย์ ปลัดกรุงเทพมหานคร จึงประกาศกำหนดระยะเวลารับสมัครรับเลือกตั้งระหว่างวันที่ 31 มีนาคม - 4 เมษายน 2565 ณ ห้องบางกอก อาคารไอราวัตพัฒนา และให้มีการเลือกตั้ง ในวันที่ 22 พฤษภาคม 2565 เวลา 08.00 - 17.00 น.
ทั้งนี้ เมื่อนับคะแนนเลือกตั้งแล้วเสร็จทั้ง 50 สำนักงานเขต รวม 6,817 หน่วยเลือกตั้ง ผลการนับคะแนนผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็น ส.ก. และผู้ว่าฯ กทม. อย่างไม่เป็นทางการ ในเวลา 01.10 น. ของวันที่ 23 พฤษภาคม 2565 มีดังนี้
การเลือกตั้ง ส.ก.
ผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมดของหน่วยที่นับคะแนนแล้ว 4,357,098 คน
ผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งของหน่วยที่นับคะแนนแล้ว 2,635,283 คน
ร้อยละของผู้มาใช้สิทธิ 60.48
เป็นผู้สมัครสังกัดพรรคเพื่อไทย จำนวน 19 คน พรรคก้าวไกล 14 คน พรรคประชาธิปัตย์ 9 คน พรรคไทยสร้างไทย 2 คน พรรคพลังประชารัฐ 2 คน กลุ่มรักษ์กรุงเทพ 2 คน และผู้สมัครอิสระ 2 คน
การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ผู้มีสิทธิเลือกตั้งในบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง จำนวน 4,402,948 คน
ผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่มาแสดงตนขอรับบัตรเลือกตั้ง จำนวน 2,673,696 คน
ร้อยละของผู้มาใช้สิทธิ 60.73
บัตรดี จำนวน 2,561,447 บัตร คิดเป็นร้อยละ 95.80
บัตรเสีย จำนวน 40,017 บัตร คิดเป็นร้อยละ 1.50
บัตรไม่ประสงค์ลงคะแนน จำนวน 72,227 บัตร คิดเป็นร้อยละ 2.70
เขตที่มีผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งมากที่สุด คือ เขตทวีวัฒนา ร้อยละ 67.65
เขตที่มีผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งน้อยที่สุด คือ เขตดุสิต 45.82
ผลการนับคะแนนผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ปรากฎว่า หมายเลข 8 นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร สังกัดอิสระ ได้รับคะแนนเสียงเลือกตั้งสูงสุด จำนวน 1,386,215 คะแนน
TNNONLINE
รศ.ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้สมัครอิสระ หมายเลข 8 กำลังจะก้าวขึ้นมานั่งเป็น “ผู้ว่าฯกทม.คนที่ 17” ของประเทศไทย ชูนโยบายเพื่อคนกทม. "กรุงเทพฯต้องเป็นเมืองน่าอยู่"
สำหรับนโยบายของ “ชัชชาติ” นั้น วางโจทย์หลักในการออกแบบนโยบายให้ “กรุงเทพฯ ต้องเป็นเมืองน่าอยู่สำหรับทุกคน” โดยใช้ดัชนีชี้วัดเมืองน่าอยู่ (The Global Liveability Index) ของ Economist Intelligence Unit (EIU) เพื่อใช้เป็นพื้นฐานในการจัดกลุ่มนโยบายและดัดแปลงให้ครอบคลุมบริบทของ กรุงเทพฯจนนำมาสู่ “กรุงเทพฯ 9 ดี” หรือ “นโยบาย 9 มิติ” ดังนี้
1. สิ่งแวดล้อมดี - สะอาดใกล้บ้าน เข้าถึงพื้นที่สีเขียวภายใน 15 นาที
2. สุขภาพดี - ดูแลสุขภาพเชิงรุก ปรับปรุงการบริหารจัดการ พาหมอไปหาประชาชน
3. เดินทางดี - เชื่อมต่อคล่องตัว เข้าถึงได้ ราคาถูก ราคาเดียว
4. ปลอดภัยดี - ปลอดภัยทุกที่ทุกเวลา ลดจุดเสี่ยง เพิ่มความพร้อมในการรับมือเหตุฉุกเฉิน
5. บริหารจัดการดี - ประชาชนมีส่วนร่วมโปร่งใส ไม่ส่วย มีประสิทธิภาพ
6. โครงสร้างดี ครอบคลุมทุกเส้นเลือดฝอย ทั้งโครงสร้างการระบายน้ำ ที่พักอาศัย และผังเมือง
7. เศรษฐกิจดี - ทำกรุงเทพฯ ให้ถูกลง สร้างโอกาส สร้างรายได้ ขยายศักยภาพเศรษฐกิจเมือง
8. สร้างสรรค์ดี - ที่ไหนก็สร้างสรรค์ พิพิธภัณฑ์ พื้นที่สาธารณะ ห้องสมุดดิจิทัล และพื้นที่งานศิลปะ
9. เรียนดี - ยกระดับการดูแล เพิ่มโอกาส เพิ่มเวลาให้ครู นักเรียน ผู้ปกครอง
อ่านข่าวต่อ คลิก https://www.tnnthailand.com/news/politics/114554/
TNNONLINE
ผลคะแนนเลือกตั้งผู้ว่า กทม. (อย่างไม่เป็นทางการ) เวลา 00.00 น. นับแล้ว 99.82%
อันดับ 1 เบอร์ 8 นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ สมัครในนามอิสระ 1,383,901 คะแนน
อันดับ 2 เบอร์ 4 นายสุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ พรรคประชาธิปัตย์ 254,341 คะแนน
อันดับ 3 เบอร์ 1 นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร พรรคก้าวไกล 253,464 คะแนน
อันดับ 4 เบอร์ 3 นายสกลธี ภัททิยกุล สมัครในนามอิสระ 230,176 คะแนน
อันดับ 5 เบอร์ 6 พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง สมัครในนามอิสระ 214,459 คะแนน
เกาะติดการรายงานผลคะแนนเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.ได้ที่นี่ https://bit.ly/3MSolUV
TNNONLINE
เมื่อวานนี้ (22 พ.ค.65) เวลา 20.30 น. ที่สเตเดี้ยม วัน สปอร์ต คอมมิวนิตี้ เขตปทุมวัน รศ.ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม. หมายเลข 8 ในนามอิสระ เปิดใจกับสาธารณะชนชาวกรุงเทพฯ อย่างเป็นทางการครั้งแรก ภายหลังมีคะแนนการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. เหนือคู่แข่ง
โดยยังคงไม่ขอประกาศชัยชนะ เพื่อรอให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือ กกต. รับรองผลการเลือกตั้งอย่างเป็นทางการก่อน แต่ย้ำว่า พร้อมที่จะเป็นผู้ว่าฯ กทม. ของคนทุกคน ไม่ว่าจะได้ลงคะแนนให้ตนหรือไม่ เพราะถือเป็นฉันทามติ ที่ประชาชนให้ความไว้วางใจ เป็นตัวแทนจากผู้สมัครทั้งหมดมาแล้ว
ทั้งนี้ ถึงแม้ว่าตนเป็นผู้สมัครอิสระ แต่เชื่อว่าจะสามารถทำงานทางการเมืองได้อย่างมีพลังไม่น้อยไปกว่าการอยู่กับพรรคการเมือง และพร้อมจะรับนโยบายที่ดีจากผู้สมัครหลายคนมารวมกัน และพร้อมทำงานร่วมกับ ส.ก.ทุกคนที่มาจากแต่ละพรรคแต่ละกลุ่ม
"ถ้ากกต. รับรองผลทางการแล้ว ผมพร้อมเป็นผู้ว่าฯ ของทุกคน ไม่ว่าท่านไหนจะเลือก หรือไม่ได้เลือกผมก็ตาม เพราะผมเป็นตัวแทนคนกรุงเทพฯ ต้องดูแลทุกคนเท่าเทียมกัน กทม.เป็นมหานครแห่งความหวัง มีคุณค่ามาก
ที่ผ่านมา เพชรเม็ดนี้ไม่ได้เจียรนัย แต่ผมอาสาเป็นผู้นำแห่งความหวัง เดินร่วมกันไป เราเห็นต่างได้ แต่อย่าเกลียด อย่าโกรธกัน คุยกันด้วยเหตุผล เราจะทำกทม.ให้เป็นมหานครที่สวยงาม ให้คนมีความสุข เดินไปพร้อมกัน เป็นมืองน่าอยู่ของทุกคนให้ได้" รศ.ดร.ชัชชาติ กล่าว
อย่างไรก็ตาม เมื่อ กกต.ยืนยันผลการเลือกตั้งแล้วก็คาดว่าจะใช้เวลา 1-2 วันในการตั้งทีมบริหาร กทม.และสิ่งแรกที่จะทำคือให้ข้าราชการ กทม.อ่านนโยบายที่นำเสนอประชาชนในการหาเสียงไว้ 223 ข้อ และนโยบายรายเขต 50 เขตให้ละเอียด เพราะคือสิ่งที่ประชาชนแสดงความต้องการผ่านการเลือกตั้ง
TNNONLINE