16-11-2022
21:03
17:37
17:33
17:31
12:57
10:42
10:38
15-11-2022
21:06
20:45
20:36
17:11
14:52
10:43
10:27
10:20
10:19
09:43
08:43
14-11-2022
18:47
18:33
18:24
18:21
18:18
18:08
15:50
14:47
13:21
10:23
13-11-2022
22:08
21:44
17:50
16:08
15:50
15:06
14:50
14:50
12-11-2022
15:40
14:13
14:10
09:58
09:19
11-11-2022
20:49
19:13
17:44
17:29
17:26
17:09
11:12
10-11-2022
11:15
08:39
08:39
08:39
09-11-2022
08-11-2022
22:40
17:26
16:43
15:32
09:17
07-11-2022
06-11-2022
05-11-2022
04-11-2022
17:48
16:28
16:28
11:46
11:02
10:57
10:54
02-11-2022
01-11-2022
18:56
14:49
14:49
14:49
31-10-2022
30-10-2022
มาเริ่มกันที่คำถามแรก APEC คืออะไร และมีความสำคัญอย่างไร
ความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก หรือ (Asia-Pacific Economic Cooperation : APEC) เป็นการรวมกลุ่มแบบพหุภาคี 21 เขตเศรษฐกิจ ที่ตั้งอยู่ในพื้นที่เขตมหาสมุทรแปซิฟิก ประกอบด้วย รัสเซีย สาธารณรัฐประชาชนจีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น จีนไทเป(ไต้หวัน) เขตบริหารพิเศษฮ่องกง เวียดนาม ไทย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย บรูไน ปาปัวนิวกินี ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ แคนาดา สหรัฐอเมริกา เม็กซิโก เปรู และ ชิลี โดยไทยเป็นหนึ่งใน 12 เขตเศรษฐกิจผู้ร่วมก่อตั้ง และประเทศไทยเคยเป็นเจ้าภาพในการจัดประชุมเมื่อปี 2535 และปี 2546
APEC ถูกจัดตั้งเมื่อปี 2532 เพื่อเป็นเวทีความร่วมมือและแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นในประเด็นทางเศรษฐกิจ ให้สมาชิกที่มีแนวนโยบายที่แตกต่างกันหาแนวทางร่วมกันเพื่อบรรลุเป้าหมาย โดยเน้นประเด็นด้านการเติบโตทางเศรษฐกิจ ความร่วมมือในเศรษฐกิจของทุกภาคส่วน พลังงาน สาธารณสุข E-commerce และสิ่งแวดล้อม เพื่อลดอุปสรรคและอำนวยความสะดวกทางการค้า (สินค้าและบริการ) การลงทุน และการเดินทางระหว่างประเทศ
2. APEC แตกต่างจากข้อตกลงพหุภาคีอื่น ๆ อย่างไร
APEC คือ การรวมกลุ่มเพื่อปรึกษาหารือและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นที่ครอบคลุมหลายมิติในความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ต่างจากข้อตกลงในพหุภาคีอื่น ๆ ที่เน้นเจรจาเพื่อการค้า การดำเนินความร่วมมืออยู่บนพื้นฐานของฉันทามติ ความสมัครใจ และความยืดหยุ่น รวมถึงไม่มีผลผูกพันทางกฎหมาย สมาชิกสามารถดำเนินการเพื่อนำไปสู่การเปิดเสรีทางการค้า การลงทุนตามความพร้อมของแต่ละสมาชิก
การประชุม APEC ไม่ใช่ความร่วมมือเฉพาะของภาครัฐเท่านั้น แต่เป็นความร่วมมือจากภาคเอกชนด้วย ซึ่งก็คือ สภาที่ปรึกษาทางธุรกิจของ APEC โดยทุกปีจะมีการรวมตัวกัน เพื่อหารือและแลกเปลี่ยนมุมมองด้านธุรกิจและความท้าทายทางเศรษฐกิจที่สำคัญ เพื่อสรุปคำแนะนำประจำปีต่อผู้นำเขตเศรษฐกิจ APEC
3. APEC สำคัญอย่างไรต่อเศรษฐกิจโลก
APEC ถือเป็นความร่วมมือพหุภาคีที่สำคัญของโลกทั้งในเชิงเศรษฐกิจ และจำนวนประชากร โดยจากข้อมูลของ World Bank ในปี 2564 พบว่า มูลค่า GDP ของสมาชิก APEC เท่ากับ 59.4 ล้านล้านดอลลาร์ รวมกันคิดเป็นสัดส่วนสูงถึง 61% ของ GDP ในจำนวนนี้ 3 ชาติสมาชิกหลักของ APEC ถือเป็นประเทศที่มีขนาดทางเศรษฐกิจใหญ่ 3 ลำดับแรกของโลก ได้แก่ สหรัฐฯ จีน และญี่ปุ่น
ส่วนไทยมีขนาดทางเศรษฐกิจอยู่ในลำดับที่ 11 (GDP เท่ากับ 0.5 ล้านล้านดอลลาร์) รองจากไต้หวัน (0.7 ล้านล้านดอลลาร์) และเมื่อเทียบในกลุ่มอาเซียนถือเป็นลำดับที่ 2 รองจากอินโดนีเซีย (1.2 ล้านล้านดอลลาร์)
ทางด้านประชากร APEC มีพลเมืองในปี 2564 รวมกันทั้งสิ้น 2.9 พันล้านคน คิดเป็นสัดส่วน 37% ของทั้งโลก ซึ่งในจำนวนนี้มี 3 ชาติสมาชิกสำคัญที่จำนวนพลเมืองอยู่ใน 5 ลำดับแรกของโลก ได้แก่ จีน (อันดับ 1) สหรัฐฯ (อันดับ 3) และอินโดนีเซีย (อันดับ 4) ส่วนไทยอยู่ในลำดับที่ 9 ของกลุ่ม APEC และถือเป็นลำดับที่ 4 ของกลุ่มอาเซียนที่เป็นสมาขิก APEC
นอกจากจะเป็นการรวมกลุ่มที่มีขนาดใหญ่แล้ว APEC ยังเป็นเขตเศรษฐกิจที่มีศักยภาพสูง โดยโครงสร้างทางประชากรกว่า 2 ใน 3 ยังอยู่ในวัยทำงาน ซึ่งสูงกว่าสัดส่วนของทั้งโลก (59%) บ่งชี้โอกาสในการลงทุน และการเข้าถึงตลาดที่มีแนวโน้มเติบโต นอกจากนี้ APEC ยังเป็นตลาดที่มีพลวัตสูง เนื่องจากหลายประเทศอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่านไปสู่ความเป็นเมือง
4. ความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจระหว่างไทยกับ APEC เป็นอย่างไร
เศรษฐกิจไทยพึ่งพาการค้าระหว่างประเทศค่อนข้างสูง โดยในปี 2564 มูลค่าการค้าระหว่างประเทศ (ทั้งสินค้าและบริการ) มากถึง 116.7% ของ GDP สะท้อนถึงความสำคัญของการเปิดประเทศเพื่อส่งเสริมภาคต่างประเทศให้เป็นอีกหนึ่งเครื่องยนต์ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย โดยเฉพาะด้านการส่งออกและการนำเข้าสินค้าที่มีมูลค่าสูงถึง 53.4% และ 45.4% ของ GDP
ไทยพึ่งพาด้านการค้ากับกลุ่ม APEC ทั้งการส่งออกสินค้าที่มากถึง 72.1% ของการส่งออกสินค้าทั้งหมด ขณะที่การนำเข้าสินค้าจากกลุ่ม APEC คิดเป็น 71.9% ของการนำเข้าจากทั่วโลก ตลาดการส่งออกและนำเข้าสินค้าที่สำคัญ คือ สหรัฐฯ จีน และญี่ปุ่น
นอกจากนี้ไทยยังมีการเชื่อมโยงทางด้านการลงทุนกับกลุ่มสมาชิก APEC อย่างต่อเนื่อง ทั้งการลงทุนโดยตรงจากประเทศสมาชิก APEC ที่ไหลเข้าต่อเนื่อง และการลงทุนของไทยในประเทศสมาชิก APEC เพิ่มขึ้นเช่นกัน
5. กลุ่ม APEC มีบทบาทอย่างไรต่อภาคอุตสาหกรรมของไทย
ในกลุ่ม APEC มีหลายชาติในภูมิภาคเอเชียที่พึ่งพาการผลิตภาคอุตสาหกรรม โดยเฉพาะจีน ไทย และเกาหลีใต้ ที่อัตราส่วนการผลิตภาคอุตสาหกรรม (Share of Manufacturing to GDP) คิดเป็นสัดส่วนสูงประมาณเกือบ 30% ของ GDP ซึ่งสูงกว่าอัตราส่วนของ APEC (15.4%) และของโลก (17.0%) บ่งชี้ว่าอุตสาหกรรมเป็นกลไกขันเคลื่อนเศรษฐกิจที่สำคัญของไทยและหลายชาติในเอเชียซึ่งได้ชื่อว่าเป็น “โรงงานของโลก”
กรณีของไทยนั้น Krungthai COMPASS พบว่า สินค้าส่งออกที่สำคัญของไทย 4 อันดับแรกในปี 2564 เป็นผลผลิตภาคอุตสาหกรรม ได้แก่ ผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า ยานยนต์และชิ้นส่วน ผลิตภัณฑ์ยาง และพลาสติก ซึ่งสินค้าเหล่านี้ส่วนใหญ่ถูกส่งออกไปยัง APEC ทั้งผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ฯ ที่ผลิตป้อนตลาด APEC ถึง 77.3% ยานยนต์ฯ (57.5%) ผลิตภัณฑ์ยาง (72.5%) และพลาสติก (72.8%) แสดงถึงบทบาทของการค้าระหว่างกันในกลุ่มสมาชิก (Intra-trade) ที่มีความเชื่อมโยงกันอย่างสูง
6. นักท่องเที่ยวต่างชาติจาก APEC มีความสำคัญต่อไทยอย่างไร
นักท่องเที่ยวต่างชาติเป็นปัจจัยขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่สำคัญที่สุดของไทยเมื่อเปรียบเทียบกับสมาชิกอื่นในกลุ่ม APEC ซึ่งไทยเป็นประเทศพึ่งพารายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติมากที่สุดในกลุ่ม APEC ซึ่งคิดเป็น 11.8% ของ GDP ในปี 2562 (หรือคิดเป็นมูลค่า 1.9 ล้านล้านบาท) ส่วนใหญ่เป็นรายได้จากนักท่องเที่ยวในกลุ่ม APEC คิดเป็น 66.2% ของรายได้ทั้งหมด
โดยสัญชาติที่สำคัญ คือ จีน คิดเป็นร้อยละ 1 ใน 4 ของรายได้นักท่องเที่ยวต่างชาติทั้งหมด รองลงมาคือ มาเลเซีย (5.6%) รัสเซีย (5.4%) และญี่ปุ่น (4.9%)
ทั้งนี้ ก่อนสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ไทยมีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติจากกลุ่มประเทศ APEC สูงถึง 28.1 ล้านคน คิดเป็น 70.4% ของจำนวนนักท่องเที่ยวที่มาไทยทั้งหมดในปี 2562
7. ความสามารถในการแข่งขันของไทยอยู่ระดับไหน หากเทียบกับสมาชิก APEC
หากพิจารณาถึงขีดความสามารถทางการแข่งขันของไทยในโลก จากการจัดอันดับของ International Institute for Management Development หรือ IMD ปี 2565 เผยว่าไทยมีความสามารถทางการแข่งขัน 63.7 คะแนน จาก 100 คะแนน และอยู่อันดับที่ 33 จาก 63 ประเทศทั่วโลก โดยไทยถูกจัดอันดับลดลง 5 อันดับ
ปัจจัยที่ทำให้อันดับความสามารถทางการแข่งขันลดลงมากที่สุด คือ ด้านสภาวะเศรษฐกิจเนื่องจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลให้เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวช้ากว่าหลายประเทศเนื่องจากไทยพึ่งพาการค้าระหว่างประเทศและการท่องเที่ยวสูง จึงทำให้อันดับของไทยอยู่ในอันดับต่ำเมื่อเทียบกับก่อนเกิดการแพร่ระบาดของโควิด
นอกจากนี้หากเปรียบเทียบในกลุ่มเอเชีย-แปซิฟิก จะเห็นว่าความสามารถทางการแข่งขันของไทยในปี 2565 อยู่อันดับที่ 9 จาก 14 ประเทศ ซึ่งคงอันดับเดิมจากปีก่อน และอยู่สูงกว่า ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ ที่เป็นสมาชิกใน APEC
ทั้งนี้ คาดว่าเศรษฐกิจไทยที่อยู่ในช่วงกำลังฟื้นตัวโดยเฉพาะภาคการท่องเที่ยวที่เป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญจะสนับสนุนให้อันดับขีดความสามารถของไทยปรับดีขึ้นได้ในระยะข้างหน้า แม้ว่าไทยยังมีความเปราะบางในหลายด้านโดยเฉพาะด้านโครงสร้างพื้นฐานที่ยังอยู่ในอันดับที่ต่ำ
8. APEC มีความสำคัญเพียงใดต่อภาคการเงินและการขับเคลื่อน Digital economy
Deloitte คาดว่า เศรษฐกิจดิจิทัลในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกอยู่ในทิศทางที่เติบโตอย่างรวมเร็ว จากการค้าผ่านระบบ E-commerce และ Digital Banking ที่ช่วยกระตุ้นธุรกรรมข้ามพรมแดนระหว่างสมาชิก APEC สอดคล้องกับตัวเลขสัดส่วนการเข้าถึง Internet ต่อประชากร ซึ่งเป็นดัชนีหนึ่งที่บ่งชี้ถึงความพร้อมของระบบนิเวศน์ทางดิจิทัล
โดยอัตราการเข้าถึง Internet ของสมาชิกกลุ่ม APEC ในปี 2564 เท่ากับ 81.1% สูงกว่าค่าเฉลี่ยของโลกที่ 59.9% ขณะที่ตัวเลขของหลายชาติในเอเชียและไทยต่างมีสัดส่วนที่เหนือกว่าค่าเฉลี่ยของโลก นวัตกรรมล่าสุดจากการพัฒนาระบบข้อมูลเปิดที่เชื่อมโยงกัน ซึ่งธนาคารกลางในกลุ่มอาเซียนรวมถึงไทยได้ร่วมกันผลักดันเพื่ออำนวยความสะดวกในการชำระเงินระหว่างประเทศผ่าน QR Payment ถือเป็นอีกเครื่องมือหนึ่งที่จะช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลในภูมิภาค
Krungthai COMPASS คาดว่า ตลาด APEC ที่มีพัฒนาการก้าวหน้าไปไกลกว่าหลายส่วนของโลกดังกล่าวข้างต้น จะเป็นโอกาสของผู้ประกอบการไทยในการขยายช่องทางการค้าและการลงทุนจากตลาดที่ยังมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่องแห่งนี้
9. การเข้าร่วม APEC ของไทย ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญอย่างไร
โดยตลอดช่วงกว่า 30 ปีที่ผ่านมา ไทยร่วมกับชาติสมาชิกได้ดำเนินการตามแผนปฏิบัติการเพื่อลดอัตราภาษีศุลกากรและข้อจำกัดทางการค้าระหว่างกัน ตลอดจนแสวงหาแนวทางอำนวยความสะดวกด้านการค้า การลงทุนและปรับปรุงกฎระเบียบให้เป็นบรรทัดฐานเดียวกัน เช่น พิธีการศุลกากร มาตรฐานสินค้า ผลจากการดำเนินการดังกล่าว ช่วยให้สมาชิกกลุ่ม APEC มีความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างกันมากขึ้น ซึ่งส่งผลดีต่อการส่งออกของไทยอีกด้วย
Krungthai COMPASS พบว่า สัดส่วนการส่งออกของไทยไปยัง APEC เพิ่มจาก 63.8% ของมูลค่าการค้าทั้งหมดในปี 2533 เป็น 72.1% ในปี 2564 โดยมูลค่าการค้าระหว่างกันเพิ่มอย่างมีนัยสำคัญจาก 14.7 พันล้านดอลลาร์ในปี 2533 เป็น 192.1 พันล้านดอลลาร์ในปี 2564 หรือเพิ่มขึ้นถึง 13.1 เท่าตัว ทั้งนี้ตลอดระยะเวลา 30 ปีที่ผ่านมา การส่งออกสินค้าไทยไปยังตลาด APEC เติบโตโดยเฉลี่ย (CAGR) ถึงประมาณปีละ 9.6%
10. ประเด็นสำคัญของการประชุม APEC ครั้งนี้คืออะไร และจะส่งผลอย่างไรต่อเศรษฐกิจไทยและโลก
สำหรับการประชุม APEC ครั้งที่ 29 สมาชิก APEC ต่างอยู่ในช่วงปรับเศรษฐกิจเพื่อรองรับความท้าทายใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้น การประชุมครั้งนี้จึงถูกจัดขึ้นภายใต้หัวข้อ “เปิดกว้างสร้างสัมพันธ์ เชื่อมโยงกัน สู่สมดุล ”
ภายใต้ประเด็นหลักที่ไทยในฐานะเจ้าภาพครั้งนี้ มุ่งผลักดันให้เกิดผลเป็นรูปธรรมคือ การเปิดโอกาสด้านการการค้าเสรีและการลงทุนผ่านเขตการค้าเสรีเอเชีย-แปซิฟิก (Free Trade Area of Asia-Pacific: FTAAP) ซึ่งไทยจะนำเสนอแผนงานการขับเคลื่อน FTAAP โดยมีเป้าหมายให้สามารถจัดตั้งขึ้นได้ภายในปี 2583 โดยจะผลักดันให้ผู้นำ APEC ออกแถลงการณ์ร่วมเพื่อรับรองแผนงาน
ซึ่งหากไทยสามารถผลักดันประเด็นนี้ให้มีความก้าวหน้าอย่างเป็นรูปธรรมได้ จะส่งผลให้เกิดเขตการค้าเสรีที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกได้สำเร็จ ความคืบหน้าดังกล่าวจะช่วยเพิ่มอำนาจต่อรองกับประเทศนอกกลุ่ม APEC ทั้งยังจะช่วยกดดันให้การเจรจาเปิดเสรีทางการค้าในกรอบของ WTO ที่ชะงักงันให้เดินหน้าต่อไป
จากการศึกษาของ World Bank ประเมินว่า FTAAP จะช่วยให้การส่งออกและ GDP ของไทยเติบโตสะสมในช่วง 10 ปีภายหลังการจัดตั้งประมาณ 4.1% และ 0.8% ตามลำดับ นอกจากนี้ World Bank ยังพบว่า หากเปรียบเทียบผลได้จากการเปิดเสรีทางการค้าในกรอบ FTAAP เทียบกับกรอบอื่น ๆ แล้ว FTAAP จะช่วยให้ GDP ของโลกเพิ่มขึ้นได้มากกว่ากรอบความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (CPTPP) และกรอบความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค ( RCEP) ที่เพิ่มขึ้นประมาณ 0.1% และ 0.6% ตามลำดับ
ซึ่ง Krungthai COMPASS คาดว่า FTAAP จะเป็นกลไกสำคัญในการขจัดอุปสรรคทางการค้าระหว่างประเทศ และหนุนการเชื่อมโยงของห่วงโซ่อุปทานในหมู่สมาชิก ประกอบกับความพยายามจัดตั้ง FTAAP ในกรอบพหุภาคึจะช่วยลดการเผชิญหน้าและช่วยผ่อนคลายข้อขัดแย้งของชาติมหาอำนาจได้ในอนาคต ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อไทยในระยะยาว
TNNONLINE
ทำเนียบขาวระบุ ประธานาธิบดีไบเดน ผู้นำสหรัฐฯ ไม่ติดโควิด หลังพบปะสมเด็จฮุนเซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา ที่กรุงพนมเปญ ก่อนเดินทางไปร่วมประชุมจี 20 ที่เกาะบาหลีของอินโดนีเซีย และการที่ประธานาธิบดีไบเดน มีผลตรวจเป็นลบ จึงไม่ถือว่าเป็นผู้ที่มีความเสี่ยง ถ้อยแถลงของทำเนียบขาวมีขึ้น เพื่อลดกระแสความวิตก หลังผู้นำสหรัฐฯ พบปะนายกรัฐมนตรีฮุนเซน และทั้งคู่ยังนั่งติดกันในงานกาลาดินเนอร์อีกด้วย ซึ่งหลังจากนั้นผู้นำกัมพูชามีผลตรวจเชื้อเป็นบวก
ไบเดน มีอายุครบ 80 ปีเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา และได้รับวัคซีนป้องกันโควิดแล้ว 5 เข็ม ซึ่งรวมถึงวัคซีนสูตรใหม่ที่สามารถป้องกันโควิดได้สองสายพันธุ์เมื่อเดือนตุลาคม หลังเพิ่งติดเชื้อโควิดเมื่อช่วงฤดูร้อนที่ผ่านมา โดยมีอาการป่วยเล็กน้อย
ส่วนสมเด็จฮุนเซน เปิดเผย ผ่านเฟซบุ๊คส่วนตัวว่า เขามีผลตรวจโควิดเป็นบวกเมื่อคืนที่ผ่านมา (14 พ.ย.) หมายความว่าติดเชื้อโควิด หลังจากเดินทางถึงเกาะบาหลี อินโดนีเซียเมื่อวานนี้ เพื่อเตรียมเข้าร่วมประชุมกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมใหญ่ที่สุด 20 ประเทศ หรือจี20
โดย แพทย์อินโดนีเซียยืนยันผลตรวจโควิดของเขาแล้ว และเขากำลังเดินทางกลับกัมพูชา พร้อมกับยกเลิกการประชุมทั้งหมดในจี20 รวมถึงการประชุมกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเปค ที่จะจัดขึ้นที่กรุงเทพฯ ต่อจากจี20 ด้วย
ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรี ฮุนเซนมีกำหนดจะพบนอกรอบจี20 กับประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ของจีน และประธานาธิบดี เอ็มมานูเอล มาครง ของฝรั่งเศส แต่ตรวจพบโควิดเสียก่อน
กัมพูชาเพิ่งเป็นเจ้าภาพการประชุมสุดยอดผู้นำกลุ่มประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรืออาเซียน เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว และเพิ่งสิ้นสุดลงในวันอาทิตย์ที่ผ่านมา (13 พ.ย.) โดยฮุนเซนเป็นประธานการประชุมที่จัดขึ้นที่กรุงพนมเปญ เมืองหลวงกัมพูชา และมีผู้นำโลกเข้าร่วมประชุมหลายคน อาทิประธานาธิบดี โจ ไบเดน ของสหรัฐฯ , นายกรัฐมนตรี หลี่ เค่อเฉียง ของจีน , นายกรัฐมนตรี ฟูมิโอะ คิชิดะ ของญี่ปุ่น , เซอร์เก ลาฟรอฟ รัฐมนตรีต่างประเทศรัสเซีย
ภาพจาก Reuters , TNN Online
สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กพท.) แจ้งว่า เนื่องในช่วงวันหยุดยาวและสัปดาห์การประชุม APEC ระหว่างวันที่ 16-20 พฤศจิกายน 2565 นั้นอาจส่งผลให้มีปริมาณเที่ยวบินและผู้โดยสารที่เดินทางทางอากาศทั้งเส้นทางภายในประเทศและเส้นทางระหว่างประเทศเพิ่มมากขึ้น
CAAT จึงขอให้ผู้โดยสารที่จะทำการบินในช่วงเวลาดังกล่าว เตรียมการล่วงหน้า เช่น การเตรียมเอกสารการเดินทางตามที่จุดหมายปลายทางต้องการ และการเดินทางมายังสนามบินก่อนเวลาปกติ
ทั้งนี้ สำหรับเที่ยวบินระหว่างประเทศ ขอให้เดินทางมาสนามบินก่อนเวลาไม่ควรต่ำกว่า 3 ชั่วโมง เนื่องจากในหลายประเทศจะยังคงมีการตรวจเอกสาร ซึ่งทำให้ขั้นตอนการเช็กอินใช้เวลามากกว่าปกติ และสำหรับเที่ยวบินภายในประเทศไม่ควรต่ำกว่า 2 ชั่วโมง ในกรณีที่มีการจราจรในพื้นที่สนามบินหนาแน่นกว่าปกติ เพื่อมิให้เกิดปัญหาในการเตรียมตัวขึ้นเครื่อง
นอกจากนี้ CAAT ยังคำนึงถึงการเปลี่ยนแปลงของเวลาการทำการบินที่อาจขึ้น จึงได้เน้นย้ำให้สายการบินต่าง ๆ ให้ข้อมูลแก่ผู้โดยสารล่วงหน้าอย่างครบถ้วน ในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงเที่ยวบิน เที่ยวบินล่าช้าหรือการยกเลิกเที่ยวบิน เพื่อให้ผู้โดยสารได้เตรียมการอย่างเหมาะสม รวมถึงสายการบินจะต้องดูแลผู้โดยสารตามสมควร แม้ว่ามิใช่เหตุจากสายการบิน
TNNONLINE
ในโอกาสที่ประเทศไทยได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค ครั้งที่ 29 ระหว่างวันที่ 16 – 20 พ.ย. 2565 โดยในการประชุมครั้งนี้จะมีความสำคัญอย่างยิ่งกับประเทศไทย ในด้านความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ซึ่งจะมีผู้นำจากประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจของโลกมาเข้าร่วมประชุม
ล่าสุด สำนักพระราชวัง แจ้งปิดการเข้าชมพระบรมมหาราชวังและวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ระหว่างวันที่ 16-19 พฤศจิกายน2565 เนื่องจากมีพิธีต้อนรับผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค และคู่สมรส ในโอกาสที่จะเข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี
TNNONLINE
APEC 2022 นายสรรเพ็ชร ศุภบวรเสถียร ที่ปรึกษานายกสมาคมโรงแรมไทยภาคตะวันออก เปิดเผยว่า การท่องเที่ยวในเมืองพัทยา อาจได้อานิสงค์ทางอ้อม จากการประชุมเอเปคครั้งนี้ เนื่องจากมีการประกาศวันหยุดเพิ่มเติมในพื้นที่ กรุงเทพมหานครฯ และปริมณฑล โดยมียอดจองห้องพักเข้ามาในช่วงดังกล่าวแล้วประมาณ ร้อยละ 60-70
ส่วนสถานการณ์ท่องเที่ยว ภาพรวมช่วงนี้ วันศุกร์ และเสาร์ จะมีนักท่องเที่ยวชาวไทยเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในเมืองพัทยาเพิ่มมากขึ้น โดยพบพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวที่เปลี่ยนไปหลังการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 คือ ส่วนใหญ่จะไม่จองล่วงหน้าแต่จะเข้ามาจองและเข้าพักในวันนั้นเลย ส่วนช่วงวันธรรมดา จะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติ เช่น ชาวอินเดีย เกาหลีใต้ เวียดนาม ซึ่งเป็นตลาดหลักของเมืองพัทยาในตอนนี้เข้ามา แต่จำนวนยังไม่เยอะมาก แต่ก็ถือว่าพอหล่อเลี้ยงผู้ประกอบการโรงแรมได้ และในช่วงสุดสัปดาห์หลายโรงแรมก็จะได้กลุ่มนักท่องเที่ยวที่มาจัดเลี้ยงสัมนา เนื่องจากหลายพื้นที่ได้มีการผ่อนคลายมากขึ้น
ส่วนในเรื่องความพร้อมรับนักท่องเที่ยว นายสรรเพ็ชร บอกว่า ตอนนี้โรงแรมส่วนใหญ่มีความพร้อม แต่ก็ยังมีปัญหาเรื่องบุคลากรอยู่บ้าง เนื่องจากตอนนี้โรงแรมส่วนใหญ่ ยังไม่จ้างงานพนักงานเต็มอัตรา บางส่วนใช้พนักงานชั่วคราว บางโรงแรม ก็มีการปรับเปลี่ยนมห้พนักงาน ทำมากกว่า 1 หน้าที่ เพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายเนื่องจากการท่องเที่ยวยังไม่ฟื้นตัวกลับมาเต็มที่ ส่วนอัตราการจ้างงานพนักงานประจำ ก็มีอัตราที่ลดลงเนื่องจากพนักงานโรงแรมบางคนก็เปลี่ยนไปทำอาชีพอื่น
ตามสถานที่ท่องเที่ยวต่าง ๆ ตอนนี้ จะเห็นภาพนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติ ท่องเที่ยวทั่วไทยกันอย่างคึกคัก แน่นอนว่า กว่าจะมาถึงจุดนี้ได้ ก็เกิดจากนโยบายของรัฐบาลภายใต้การนำของ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี โดยเฉพาะกระทรวงสาธารณสุข และกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ที่ช่วยกันขับเคลื่อนการท่องท่องเทียว พร้อม ๆ กับมาตการดูแลด้านสาธารณสุข จนทำให้ประเทศไทยสามารถเปิดประเทศฟื้นเศรษฐกิจได้อย่างรวดเร็ว จนหลาย ๆ ประเทศนำไปใช้เป็นแบบอย่าง
TNNONLINE
หากพูดถึงปลากุเลา ต้องนึกถึงปลากุเลา อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส ที่คนทั่วไปขนานนามว่า “ราชาแห่งปลาเค็ม” ที่มีเนื้อสัมผัส มีความร่วนซุย หอมอร่อยเฉพาะตัว ปัจจุบันปลากุเลาเค็มตากใบ มีราคาสูงถึงกิโลกรัมละ 1,300 - 1,500 บาท เลยทีเดียว หรือบางสโลแกนก็ว่า “คนซื้อไม่ได้กิน....คนกินไม่ได้ซื้อ” เนื่องจากกระบวนการผลิต ที่มีกรรมวิธีที่ซับซ้อน แต่ละร้านต่างมีเคล็ดลับเด็ด ที่สืบทอดกันมาตั้งแต่สมัย อาม่า อากง สืบทอดกันมาในสมัยรุ่นลูก รุ่นหลาน เช่น ร้านปลากุเลาแม่แป้น ตากใบ แห่งนี้
เริ่มจากอาม่าจู เริ่มทำปลากุเลาขาย มาตั้งแต่ 40 ปีก่อน เร่ขายไปยังอำเภอใกล้เคียง เช่น อำเภอสุไหงโก-ลก ขายดิบ ขายดี เนื่องจากคนมีกำลังซื้อในสมัยนั้น สนน ราคากิโลกรัมละ 300 บาท จนกระทั่งมาถึงรุ่นลูก ป้าแป้น ซึ่งเป็นบุตรสาว ได้สานต่อการทำปลากุเลาเค็มเป็นต้นมา
กระแสตอบรับจากการจำหน่ายปลากุเลาเค็ม ดีมากๆ ทำให้กำลังการผลิตไม่เพียงพอ เนื่องจากเป็นอุตสาหกรรมในครอบครัว จึงเรียกลูกๆกลับมาช่วยงานที่บ้าน เพื่อสานต่อการทำปลากุเลาเค็ม จนถึงปัจจุบัน
นายธิติ พันธเสน ทายาทร้านปลากุเลาทองแม่แป้น ตากใบ บอกว่า หลังจากได้กลับมาช่วยดำเนินกิจการปลากุเลาเค็ม ของทางครอบครัว ก็เริ่มจับการขายออนไลน์ ผ่านทางเฟซบุ๊ค เพจ กุเลาทองแม่แป้น ตากใบ ปลากุเลาเค็มเพื่อให้ทันยุคดิจิทัล ซึ่งผลตอบรับจากการขายออนไลน์ดีมาก ยอดขายก็เพิ่มมากขึ้นด้วย จึงไม่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในช่วงที่ผ่านมา
ทางด้านนางปัญจพร พันธเสน ทายาทร้านปลากุเลาทองแม่แป้น ตากใบ ได้มาช่วยออกแบบบรรจุภัณฑ์ทั้งหมดของแบรนด์ให้ดูทันสมัยขึ้น สามารถดึงดูดความสนใจจากผู้บริโภคในยุคปัจจุบันได้เป็นอย่างดี ล่าสุดพัฒนาบรรจุภัณฑ์บรรจุปลากุเลา เป็นกรอบไม้ พรีเมี่ยม ที่สามารถหิ้วขึ้นเครื่องได้ โดยไม่ส่งกลิ่นปลากุเลาเค็ม ที่นับว่าถูกใจทั้งผู้ให้และผู้รับเป็นอย่างดี พร้อมกล่าวเพิ่มเติมว่า ล่าสุดทางต่างประเทศได้มีการติดต่อขอซื้อปลากุเลาเค็มเพิ่มเติม เพื่อทดลองชิม ลิ้มลองในรสชาติกุเลาเค็มตากใบที่ขึ้นชื่อด้วย
สำหรับปลากุเลาเค็มตากใบ (Salted fish Kulao Tak Bai) ได้รับการคัดเลือกเป็นหนึ่งในเมนูอาหาร ที่จะเสิร์ฟในงานเลี้ยงกาลาร์ดินเนอร์ แก่ผู้นำ 21 เขตเศรษฐกิจภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก หรือเอเปค 2022 ซึ่งจัดขึ้นที่หอประชุมกองทัพเรือ ระหว่างวันที่ 18-19 พฤศจิกายน 2565 นี้ ยังถือเป็นความภาคภูมิใจ ในฐานะของชาวอำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส และคนทำปลากุเลาชายแดนภาคใต้
TNNONLINE
วันนี้ ( 15 พ.ย. 65 )สมเด็จอัคคมหาเสนาบดีเดโชฮุนเซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา เปิดเผย ผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัวของเขาว่า เขามีผลตรวจโควิด-19 เป็นบวกเมื่อคืนที่ผ่านมา หมายความว่าติดเชื้อโควิด-19 หลังจากเดินทางถึงเกาะบาหลี อินโดนีเซียเมื่อวานนี้ เพื่อเตรียมเข้าร่วมประชุมกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมใหญ่ที่สุด 20 ประเทศ หรือจี20
นายกฯ ฮุนเซนระบุในเฟซบุ๊คต่อไปว่า แพทย์อินโดนีเซียยืนยันผลตรวจโควิดของเขาแล้ว และเขากำลังเดินทางกลับกัมพูชา พร้อมกับยกเลิกการประชุมทั้งหมดในจี20 รวมถึงการประชุมกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเปค (APEC 2022) ที่จะจัดขึ้นที่กรุงเทพฯ ต่อจากจี 20 ด้วย
ทั้งนี้ นายกฯ ฮุนเซนมีกำหนดจะพบนอกรอบจี 20 กับประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ของจีน และประธานาธิบดี เอ็มมานูเอล มาครง ของฝรั่งเศส แต่ตรวจพบโควิดเสียก่อน
ก่อนหน้านี้ กัมพูชาเพิ่งเป็นเจ้าภาพการประชุมสุดยอดผู้นำกลุ่มประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรืออาเซียน เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว และเพิ่งสิ้นสุดลงในวันอาทิตย์ที่ผ่านมา (13 พ.ย.) โดยฮุนเซนเป็นประธานการประชุมที่จัดขึ้นที่กรุงพนมเปญ เมืองหลวงกัมพูชา และมีผู้นำโลกเข้าร่วมประชุมหลายคน อาทิประธานาธิบดี โจ ไบเดน ของสหรัฐฯ , นายกรัฐมนตรี หลี่ เค่อเฉียง ของจีน , นายกรัฐมนตรี ฟูมิโอะ คิชิดะ ของญี่ปุ่น , เซอร์เก ลาฟรอฟ รัฐมนตรีต่างประเทศรัสเซีย.
ภาพจาก : รอยเตอร์
APEC 2022 บขส.เตรียมรถเพิ่มวันละ 3,000 เที่ยว รับหยุดยาว
นายสัญลักข์ ปัญวัฒนลิขิต กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) เปิดเผยว่า ตามที่รัฐบาลกำหนดให้วันที่ 16-18 พฤศจิกายนนี้ เป็นวันหยุดราชการกรณีพิเศษ เฉพาะในเขตกรุงเทพมหานคร นนทบุรี และจังหวัดสมุทรปราการ เพื่อเตรียมความพร้อมในการเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปก ครั้งที่ 29 ส่งผลให้มีวันหยุดติดต่อกัน 5 วัน บขส.จึงได้เตรียมความพร้อมรองรับการเดินทางของประชาชน และอำนวยความสะดวกและความปลอดภัยให้เพียงพอ เพื่อไม่ให้มีผู้โดยสารตกค้าง โดย คาดว่า จะมีผู้ใช้บริการเพิ่มขึ้นเฉลี่ยวันละ 33,000 คน จึงเตรียมรถโดยสารทั้งรถ บขส. รถร่วมบริการ และรถตู้ เพิ่มวันละ 3,000 เที่ยว
นายสัญลักข์ บอกอีกว่า ในช่วงเดือนพฤศจิกายนถือเป็นฤดูท่องเที่ยวของไทย จึงทำให้มีประชาชนเดินทางเพิ่มมากขึ้นทุกปี โดยในภาพรวมการเดินทางตั้งแต่วันที่ 1-13 พฤศจิกายนที่ผ่านมา พบว่าปริมาณผู้โดยสารเดินทางกว่า 931,000 คน หรือประมาณวันละ 50,000-56,000 คน ส่วนปริมาณเที่ยววิ่ง รวมประมาณ 97,000 เที่ยว หรือประมาณวันละกว่า 5,000 เที่ยว นอกจากนี้ บขส.ได้ขอความร่วมมือผู้ประกอบการรถร่วมฯ นำรถโดยสารมาสนับสนุนให้เพียงพอต่อความต้องการของผู้ใช้บริการ และมีหนังสือขออนุญาตต่อนายทะเบียนกรมการขนส่งทางบก นำรถโดยสารไม่ประจำทางมาจัดเสริมในเส้นทางต่างๆ ประมาณ 120 คัน ส่วนในเที่ยวกลับ
ในส่วนมาตรการความปลอดภัย ได้เน้นย้ำให้ผู้ประกอบการรถร่วมฯ ที่นำรถโดยสารมาวิ่งจะต้องดำเนินการตามมาตรการสำหรับการเดินรถโดยสาร เพื่อการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 อย่างเคร่งครัด และให้ตรวจสภาพความพร้อมของรถโดยสาร พนักงานขับรถ ให้พร้อมก่อนออกเดินทางทุกครั้ง จำกัดความเร็วไม่เกิน 80-90 กิโลเมตรต่อชั่วโมง รวมทั้งนำมาตรการ 4 พร้อม สถานีพร้อม, พนักงานพร้อม, รถโดยสารพร้อม และการบริการพร้อม มาใช้ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในการเดินทางให้แก่ผู้โดยสาร
ภาพ TNNOnline
APEC 2022 ตลอด 33 ปีที่ผ่านมา นับตั้งแต่ก่อตั้งกลุ่ม APEC (Asia-Pacific Economic Cooperation) ในปี 1989 จวบจนปัจจุบัน ทั้ง 21 เขตเศรษฐกิจ ได้ร่วมมือร่วมใจกันทำงาน ผลักดันการค้าเสรี ทำให้ชาติสมาชิกมีรายได้และความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจมากขึ้น
ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (GDP) โดยรวมทั้งหมดเพิ่มขึ้นจาก 19 ล้านล้านดอลลาร์ในปี 1989 มาสู่ 55 ล้านล้านดอลลาร์ในปัจจุบัน ในขณะที่มูลค่าทางการค้าก็ขยายตัวถึง 7 เท่า คิดเป็นสัดส่วนมากกว่าครึ่งหนึ่งของการค้าทั่วโลก
TNN Wealth พาย้อนเวลากลับไปดูผลที่เกิดจากการทำงานร่วมกัน ในการผลักดันเศรษฐกิจให้เติบโต ทั้งในด้านการค้า การลงทุน ทั้งยังช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของประชากรให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
1. ลดกำแพงภาษี อุปสรรคการค้า
ปี 1994 ในการประชุมสุดยอดผู้นำที่เมืองโบโกร์ (Bogor) ประเทศอินโดนีเซีย ชาติสมาชิกต่างเห็นพ้องต้องกันที่จะทำให้การค้า การบริการ และเงินลงทุน ระหว่างกันมีความคล่องตัวมากขึ้น ผ่านการปรับปรุงกฎระเบียบของแต่ละประเทศให้ง่ายต่อการปฏิบัติ ลดกำแพงภาษีศุลกากร ในการเคลื่อนย้ายสินค้า ซึ่งช่วยลดต้นทุน สร้างให้เกิดบรรยากาศของการทำการค้ากับธุรกิจท้องถิ่นในแต่ละประเทศ
2. ส่งเสริมการค้าที่โปร่งใสและเป็นธรรม
ตั้งแต่ปี 2004 เป็นต้นมา สมาชิก APEC มีการปฏิรูปโครงสร้างการค้าระหว่างประเทศ โดยนำกฎระเบียบที่ชัดเจน โปร่งใส และเป็นธรรมมาใช้ในภูมิภาค เพื่อให้มั่นใจว่ากฎหมายของประเทศต่าง ๆ เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล สามารถเปิดเผยต่อสาธารณชน เพื่อให้สามารถกำหนดราคาและต้นทุนที่เป็นธรรม เข้าถึงได้โดยง่าย และสร้างประโยชน์อย่างแท้จริง
3. สนับสนุน SMEs มีส่วนร่วมการค้าโลก
ปี 2005 มีการจัดตั้งศูนย์นวัตกรรม SMEs (SMEs Innovation Center) ขึ้นที่เกาหลีใต้ เพื่อฟูมฟัก ส่งเสริม และพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขัน ตลอดจนเป็นที่ปรึกษาให้กับกิจการขนาดกลางและขนาดเล็กให้มีส่วนร่วมในห่วงโซ่การผลิตของการค้าเสรีและความร่วมมือในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกให้สามารถเติบโตไปพร้อม ๆ กับกิจการขนาดใหญ่
4. เปิด Single Window ยื่นเอกสารออนไลน์
ปี 2007 APEC กำหนดแนวทางแก้ปัญหาความซับซ้อนของงานเอกสาร ด้วยการเปิดช่องทาง Single Window ให้ชาติสมาชิกที่ทำการค้าระหว่างกัน สามารถยื่นเอกสารส่งออกและนำเข้าผ่านระบบออนไลน์ ทำให้การขนส่งสินค้าผ่านระบบศุลกากรรวดเร็วกว่าเดิม ไม่ต้องยื่นเอกสารที่เป็นแผ่นกระดาษ ไม่ต้องรอคิวนาน จนอาจทำให้สินค้าเสียหาย
5. ย่นระยะเวลาขออนุญาตทำธุรกิจ
ปี 2009 APEC ได้กำหนดแผนปฏิบัติ (Action Plan) ที่จะทำให้การทำธุรกิจระหว่างชาติสมาชิกสะดวกขึ้นกว่าเดิม เช่น การปรับลดระยะเวลาในการพิจารณาของทางการแต่ละประเทศในการอนุมัติการสร้างโรงงานหรือสำนักงานแห่งใหม่ในประเทศสมาชิก หรือการขอใบอนุญาตในการทำงานประเภทต่าง ๆ ทำให้ทุกอย่างง่ายขึ้น เร็วขึ้น และเสียค่าใช้จ่ายลดลง
6. ส่งเสริมสินค้าอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
ปี 2012 ในการประชุมที่วลาดิวอสต็อก ประเทศรัสเซีย ผู้นำประเทศต่าง ๆ เห็นชอบในการลดกำแพงภาษีการส่งออกและนำเข้าสินค้าเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม 54 รายการ เช่น แผงโซลาร์เซลล์ และกังหันลม คิดเป็นมูลค่ารวม 6 แสนล้านดอลลาร์ และมีการเพิ่มรายการสินค้าที่จะได้รับการยกเว้นการจัดเก็บภาษีในหมวดนี้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
7. พัฒนา “สตาร์ทอัพ” จับคู่ธุรกิจกับแหล่งทุน
ปี 2013 APEC ได้จัดตั้งเครือข่ายเร่งความเร็วให้กับธุรกิจ “สตาร์ทอัพ” (APEC Start-up Accelerator Network) ในการสนับสนุนให้ผู้ประกอบการที่มีไอเดีย แนวคิดใหม่ ๆ ในการผลิตสินค้าและบริการ ได้เชื่อมโยงกับเทคโนโลยี แหล่งเงินทุน และผู้เชี่ยวชาญที่จะช่วยให้ความเห็นพัฒนาโครงการต่าง ๆ ที่คิดขึ้นมา ให้เกิดผลที่เป็นรูปธรรม ผลิตนวัตกรรมใหม่ ๆ ออกสู่ตลาดเพื่อผู้บริโภค
8. สนับสนุนการใช้พลังงานอย่างคุ้มค่า
ปี 2014 คณะทำงานด้านพลังงานของ APEC ได้เริ่มพัฒนาโครงการต่าง ๆ ที่สนับสนุนให้ชาติสมาชิกลดการใช้พลังงานจากเชื้อเพลิงฟอสซิล อย่างน้ำมัน และหันมาใช้พลังงานทางเลือกและพลังงานสะอาดให้มากขึ้น หลังก่อนหน้านี้ภาคธุรกิจต่าง ๆ เริ่มตระหนักถึงปัญหาเรื่องแหล่งพลังงานในภาคการผลิต และหันมาผลิตสินค้าที่ลดการปล่อยปริมาณก๊าซเรือนกระจก ตระหนักถึงผลกระทบจากภาวะโลกร้อน มีการกำหนดเมืองสีเขียวต้นแบบปริมาณคาร์บอนต่ำ
9. พัฒนาเครือข่ายขนส่ง ท่องเที่ยว และโลจิสติกส์
ปี 2015 APEC ประสบความสำเร็จในการขจัดอุปสรรคในการเคลื่อนย้ายชิ้นส่วนที่นำมาใช้เป็นส่วนประกอบในการผลิต และสินค้าที่ผลิตเสร็จแล้วข้ามพรมแดนระหว่างประเทศ แก้ปัญหาด้านพิธีการศุลการกร และระบบสาธารณูปโภค ที่เคยติดขัดเป็นคอขวด ทำให้การส่งต่อห่วงโซ่การผลิตมีประสิทธิภาพ ช่วยลดทั้งระยะเวลาในการขนส่ง และต้นทุนลงได้ เกิดการเชื่อมโยงระหว่างภาคการผลิตในภูมิภาค รวมไปถึงการเดินทางของประชากรในประเทศสมาชิกทั้งในรูปแบบของการท่องเที่ยวและเพื่อธุรกิจ มีการอำนวยความสะดวกเป็นพิเศษ เช่น การให้ฟรีวีซ่า และบริการในสนามบิน เป็นต้น
10. สร้างความเท่าเทียมทางสังคม
APEC ตระหนักถึงการมีส่วนร่วมในการเติบโตทางเศรษฐกิจในบรรดาชาติสมาชิก จัดฝึกอบรมและทำโครงการที่ส่งเสริมการพัฒนาอย่างต่อเนื่องมาหลายปี เช่น การให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไป มีการจัดอบรมทักษะด้านคอมพิวเตอร์ให้กับประชากรของชาติสมาชิกไปแล้วกว่า 1 ล้านคน ได้มีความรู้เท่าทันกับโลกยุคดิจิทัล โดยเฉพาะผู้หญิงในหลายประเทศที่ยังขาดโอกาส ได้มีความรู้ มีงานทำ มีรายได้มาจุนเจือครอบครัว
ที่มา:
https://www.apec.org/.../about.../achievements-and-benefits
ติดตามข่าวหุ้นและการลงทุนทางไลน์
• Line @TNNWEALTH : https://bit.ly/3tCKmiD
———————————————————————
ติดตาม TNN Wealth ผ่านช่องทางต่าง ๆ ได้ที่
• Website : https://bit.ly/TNNWealthWebsite
• Youtube : https://bit.ly/TNNWealthYoutube
• TikTok : https://bit.ly/TNNWealthTikTok
TNNONLINE
ในกรณีของสหรัฐอเมริกาน่าสนใจมากสหรัฐอเมริกาเองตั้งเป้าไว้ว่าจะมาพบกับ ‘สี จิ้นผิง’ นอกรอบ แต่เผอิญมีสองเวที เวทีที่หนึ่ง ก็คือ G20 เวทีที่สอง คือ เอเปค ห่างกันไม่กี่วัน แต่ขณะเดียวกัน อันหนึ่งก็คือว่าเขายังไงก็คงได้พบกันนอกรอบที่การประชุม G20 อยู่แล้ว เพราะฉะนั้น ความจำเป็นที่ (ไบเดน) จะมาพบ ‘สี จิ้นผิง’ นอกรอบครั้งที่ 2 ในเอเปคก็น้อยลง
รศ.ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ นักวิชาการอิสระด้านเศรษฐศาสตร์และการเมือง ที่วิเคราะห์บทบาทของผู้นำที่จะเข้าร่วมการประชุมเอเปค 2022 ในวันที่ 14-19 พฤศจิกายนนี้การประชุมเอเปคในครั้งนี้ จะมีผู้นำเดินทางมาร่วมประชุมด้วยตนเอง จำนวน 14 เขตเศรษฐกิจ และมีเขตเศรษฐกิจที่ส่งผู้แทนมาร่วมประชุม มีจำนวน 6 เขตเศรษฐกิจ รวมถึงยังมีแขกพิเศษของรัฐบาล ได้แก่ นายกรัฐมนตรีกัมพูชา ประธานาธิบดีฝรั่งเศส และมกุฎราชกุมารแห่งซาอุดีอาระเบียเข้าร่วม
ด้านผู้เชี่ยวชาญชี้ว่า ผู้นำที่ถูกจับตามองมากที่สุด หนีไม่พ้น ประธานาธิบดี สี จิ้นผิงของจีน ที่ยืนยันเดินทางเข้าร่วมประชุมเอเปคพร้อมภริยา ระหว่างวันที่ 17 ถึง 19 พ.ย.
คนที่น่าจับตามองที่สุดหนีไม่พ้น ‘สี จิ้นผิง’ เพราะฉะนั้นบอกได้เลยว่าทำไมเป็นสี จิ้นผิง เพราะสี จิ้นผิง ประเทศจีนใหญ่ เป็นอันดับสองของโลกเป็นมหาอำนาจในทุกมิติ และที่สำคัญนั้นสี จิ้นผิง ได้ก้าวมาเป็น เป็นเลขาธิการพรรคสมัยที่สามซึ่งเขาเรียกว่าเป็นการสวมมงกุฎเรียบร้อยแล้ว เพราะฉนั้น การที่เขามาเอเปคถือว่าเป็นการออกนอกประเทศหลังจากที่ปิดประเทศจากเรื่องโควิดมาตลอดสองปี
การเดินทางเยือนในครั้งนี้ ยังถูกมองว่าเป็นสัญญาณในการเปิดประตูขยายความร่วมมือระหว่างจีนกับเขตเศรษฐกิจต่าง ๆ ส่วนการตัดสินใจเข้าร่วมประชุมของผู้นำของแต่ละเขตเศรษฐกิจขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย
หนึ่ง เป็นเหตุผลจำเป็นจริง ๆ สอง คือ เหตุผลในลักษณะที่เกี่ยวข้องกับความสำคัญที่ให้กับเอเปคอันนี้ต้องยอมรับว่าเราอย่ามองในแง่ชาตินิยมแต่ให้มองในภาพกว้างกับประการที่สามอาจมีเรื่องของประเด็นทางการเมืองอยู่ในนั้นบ้างหรือเปล่าก็ไม่ทราบ อย่างน้อยที่สุดก็มีเหตุผลในการที่จะอธิบายว่าทำไม (ผู้นำ) บางประเทศถึงไม่มา
มาเลเซีย มาได้ก็มาได้ แต่ต้องเห็นใจเขา เพราะว่าเขาจะมีการเลือกตั้งในปลายเดือนนี้ เพราะฉะนั้นเขาจำเป็นที่ต้องคล้าย ๆ กับว่าทำการบ้านหนัก คนที่สอง อันนี้ต้องเข้าใจ culture วัฒนธรรมของเกาหลี เพราะว่าเรื่องนี้เป็นที่มีความสำคัญมาก อย่างที่เรารู้ โศกนาฏกรรมครั้งใหญ่ เพราะฉะนั้นใครก็ตามที่ขึ้นมาขึ้นนำของประเทศนี้ คุณต้องให้ความสำคัญ
ส่วนประเทศแถบลาตินอเมริกาอย่างเม็กซิโก ที่ผู้นำไม่เข้าร่วมประชุมนั้น ถูกมองว่าเป็นเรื่องปกติ และขึ้นอยู่กับการวางตำแหน่งของประเทศ
ในแง่ของการเมือง การวางตำแหน่งของเม็กซิโก โดยปกติเขาจะไม่ค่อยออกมาเท่าไหร่ การประชุมเอเปคคราวที่แล้ว เช่นเดียวกันกับคราวนี้
ผู้เชี่ยวชาญชี้ว่า เอเปคเปรียบเสมือนองค์กรที่ช่วยเสริมในส่วนที่ขาด มีการผสมผสานที่น่าสนใจในเรื่องของความร่วมมือระหว่างกัน และยังเป็นการสร้างประวัติศาสตร์ฟื้นฟูความสัมพันธ์ทางการทูตทั้งในแง่ของ เศรษฐกิจ การค้า และการท่องเที่ยว
TNNONLINE