13-11-2022
22:08
21:44
17:50
16:08
15:50
15:06
14:50
14:50
12-11-2022
15:40
14:13
14:10
09:58
09:19
11-11-2022
20:49
19:13
17:44
17:29
17:26
17:09
11:12
10-11-2022
11:15
08:39
08:39
08:39
09-11-2022
08-11-2022
22:40
17:26
16:43
15:32
09:17
07-11-2022
06-11-2022
05-11-2022
04-11-2022
17:48
16:28
16:28
11:46
11:02
10:57
10:54
02-11-2022
01-11-2022
18:56
14:49
14:49
14:49
31-10-2022
30-10-2022
นายธานี แสงรัตน์ อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ กล่าวถึงการจัดการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปกในสัปดาห์หน้า ว่า จะเป็นสัปดาห์แห่งการประชุมเอเปก ถือเป็นงานสำคัญของประเทศไทย ซึ่งในการประชุมครั้งนี้จะมีผู้นำเดินทางมาร่วมประชุมด้วยตนเอง 14 เขตเศรษฐกิจ ได้แก่ อินโดนีเซีย สิงคโปร์ เวียดนาม จีน ฮ่องกง บรูไน ฟิลิปปินส์ ปาปัวนิวกินี ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ไต้หวัน ญี่ปุ่น แคนาดา และชิลี ส่วนเขตเศรษฐกิจที่ส่งผู้แทนมาร่วมประชุม 6 เขต ได้แก่ รัสเซีย สหรัฐอเมริกา เกาหลีใต้ มาเลเซีย เม็กซิโก และเปรู
ทั้งนี้ ยังมีแขกพิเศษของรัฐบาล ได้แก่ นายกรัฐมนตรีของประเทศกัมพูชา ประธานาธิบดีฝรั่งเศส และมกุฎราชกุมารแห่งซาอุดีอาระเบีย รวมไปถึงองค์กรระหว่างประเทศหลายหน่วยงาน เช่น กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF), องค์การอนามัยโลก (WHO), องค์การการค้าโลก (WTO), องค์การความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (OECD)
สำหรับกำหนดการประชุมจะเริ่มตั้งแต่วันที่ 12-14 พฤศจิกายน เป็นการเตรียมความพร้อม วันที่ 15-16 พฤศจิกายน เป็นการหารือระดับผู้บริหาร //ส่วนวันที่ 17 พฤศจิกายน จะเป็นประธานร่วมในการประชุมระดับรัฐมนตรีเอเปก ครั้งที่ 33 ระดับรัฐมนตรีเศรษฐกิจและรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง ซึ่งประเทศไทย นายดอน ปรมัตถ์วินัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ จะเป็นผู้ต้อนรับรัฐมนตรีเศรษฐกิจในเขตต่างๆ ช่วงเช้าจะมีการพูดคุยในหัวข้อสร้างสมดุล หลังจากนั้นในช่วงบ่ายจะมีการหารือในหัวข้อ การเชื่อมโยง และการเปิดกว้าง
ส่วนวันที่ 18 พฤศจิกายน จะเป็นการประชุมระดับผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปก ที่ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี จะเป็นประธานการประชุม จะมีการหารือถึงความท้าทายที่เกิดขึ้นในปัจจุบันด้วย ได้แก่ เรื่องเศรษฐกิจโลกถดถอยระดับโลก ความไม่มั่นคงทางอาหาร พลังงาน และภาวะเงินเฟ้อ
ภาพจาก Reuters , TNN Online
กระทรวงการต่างประเทศ ของไทย เปิดเผยว่า นายสี จิ้นผิง ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน พร้อมภริยา มีกำหนดเดินทางมาเข้าร่วมการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค และเยือนประเทศไทย ระหว่างวันที่ 17 - 19 พฤศจิกายน รวมถึงมีกำหนดหารือข้อราชการกับพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ที่ทำเนียบรัฐบาล และร่วมเลี้ยงรับรองอาหารกลางวัน ซึ่งนายกรัฐมนตรีและภริยา เป็นเจ้าภาพเพื่อเป็นเกียรติแก่ประธานาธิบดีสี จิ้นผิงและภริยา รวมถึงคณะฝ่ายจีน
นายกรัฐมนตรี และประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน จะร่วมกันหารือกำหนดทิศทางความสัมพันธ์หุ้นส่วนความร่วมมือเชิงยุทธศาสตร์อย่างรอบด้านระหว่างไทยกับจีนซึ่งครบรอบ 10 ปี ในปีนี้ เพื่อนำไปสู่โอกาสครบรอบ 50 ปีการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างสองประเทศในปี 2568 ตลอดจนหารือแนวทางการสร้างประชาคมที่มีอนาคตร่วมกันไทย - จีน เพื่อนำไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนยิ่งขึ้น และแนวคิดระเบียงการพัฒนาความเชื่อมโยงในภูมิภาค ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศทั้ง 2 ฝ่าย ได้เห็นพ้องในเบื้องต้นและ
สำหรับการเยือนประเทศไทยของประธานาธิบดี สี จิ้นผิง ครั้งนี้ ถือเป็นการเยือนครั้งแรกนับตั้งแต่ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี และภายหลังเสร็จสิ้นการประชุมสมัชชาใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์จีน ครั้งที่ 20 เมื่อเดือนตุลาคม 2565 ซึ่งมีมติเห็นชอบให้ประธานาธิบดี สี จิ้นผิง ดำรงตำแหน่งเลขาธิการใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์จีนต่อไปเป็นวาระที่ 3
โดย ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง เคยเยือนไทยอย่างเป็นทางการในฐานะแขกของรัฐบาลไทย เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งรองประธานาธิบดีสาธารณรัฐประชาชนจีน เมื่อปี 2554
ขณะที่ล่าสุด ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดสถานที่ตามมาตรา 8 (5) แห่ง พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะ พ.ศ.2558 ระบุว่าการชุมนุมสาธารณะต้องไม่กีดขวางทางเข้าออก หรือรบกวนการปฏิบัติงาน หรือการใช้ บริการสถานที่ตามนัยมาตรา 8 แห่ง พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะ พ.ศ.2558 จึงสมควรกำหนดสถานที่ในการจัดการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค และสถานที่พำนักของผู้แทนประเทศในการเข้าร่วมประชุมดังกล่าว ตาม พ.ร.บ.เอกสิทธิ์และความคุ้มกันสำหรับองค์การระหว่างประเทศและการประชุมระหว่างประเทศในประเทศไทย พ.ศ.2561 เป็นสถานที่ตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขของกฎหมายว่าด้วยการชุมนุมสาธารณะ
พร้อม อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 และและมาตรา 8 (5) แห่ง พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะ พ.ศ.2558 นายกรัฐมนตรี จึงออกประกาศให้สถานที่และถนนบริเวณอาณาโดยรอบสถานที่ ให้เป็นสถานที่ตามมาตรา 8 (5) ตั้งแต่วันที่ 14-19 พฤศจิกายน 2565
ทั้งนี้ ให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติวางระเบียบหรือคำสั่งกำหนดหลักเกณฑ์และพื้นที่ถนน และบริเวณอาณาโดยรอบของสถานที่ตามประกาศ และการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ตำรวจ เพื่อให้เป็นไปตามประกาศนี้ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ภาพจาก Reuters , TNN Online
นาทีนี้การเมืองไทย จับจ้องไปที่การจัดกองกำลังของพรรครวมไทยสร้างชาติ ที่มีนายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค เป็นหัวหน้าพรรค จะออกมาในรูปแบบใด เพราะคอการเมืองรู้ดีว่า พรรครวมไทยสร้างชาติ มีที่มาที่ไป การก่อตั้งพรรคจากใคร ที่กำหนด ล็อตโต้ นี้ แม้จะยังไม่มีความชัดเจน ว่า พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา จะมารวมงานกับพรรคนี้หรือไม่ แต่พรรคเตรียมพร้อมเปิดรับพลเอกประยุทธ์ อยู่แล้ว
พรรครวมไทยสร้างชาติ ยังเปิดประตูต้อนรับนายไตรรงค์ สุวรรณคีรี ขึ้นชื่อนักการเมืองคว่ำวอดจาก พรรค ปชป. ที่วันนี้ปันใจมาอยู่ เป็นที่ปรึกษานายกฯ เดาไม่อยากจะรวมงานกับพรรคใด ทว่าพรรคพลังประชารัฐ ที่จัดสัมมนา ส.ส. ทั่วประเทศ ที่ กทม. ภายใต้ชื่อ พลังประชารัฐ พลังคนสร้างชาติ เพราะมีคุณ จึงมีพรรค ติวเข้ม ส.ส.ทำงานช่วงโค้งสุดท้าย ลุงป้อม พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ หัวหน้าพรรค ประกาศบนเวทีไม่จำเป็นต้องเช็คชื่อ ส.ส. เชื่อจะอยู่กับพรรคพลังประชารัฐในสนามเลือกตั้ง ปีหน้า
ส่วนพรรคประชาธิปัตย์ ที่ถือว่าขยันเปิด ตัวว่าที่ ผู้สมัคร ส.ส.ตั้งแต่ไก่โห่ ลงพื้นที่ทุกสัปดาห์ ทยอยเปิดตัวว่าที่ผู้สมัคร ล่าสุดไปเปิดตัว ที่โคราช หวังปักธง พื้นที่เดิมอีกครั้ง แต่พื้นที่ภาคใต้ยังสำคัญ โดยนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ หัวหน้าพรรคฯ นำคณะเปิดตัวว่าที่ผู้สมัคร ส.ส.นครศรีธรรมราช จำนวน 8 เขต นำโดยกลุ่ม ส.ส. เก่า ทั้งนายชัยชนะ เดชเดโช / นายประกอบ รัตนพันธ์ / นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ / ขณะเดียวกันมีว่าที่ผู้สมัคร ส.ส. อาทิ นายราชิต สุดพุ่ม /นายพิทักษ์เดช เดชเดโช /ว่าที่ร้อยโท ยุทธการ รัตนมาศ /น.ส.ปุณณ์สิริ บุณยเกียรติ และ นางอวยพรศรี เชาวลิต
ส่ววนที่เหลืออีก 1 เขต อยู่ระหว่างการคัดเลือกตัวแทนคนใหม่ที่จะมาแทน น.ส.พิมพ์ภัทรา วิชัยกุล ส.ส. เขต 8 นครศรีธรรมราช ที่แจ้ง ยกเลิกการร่วมเปิดตัวกับพรรคกระทันหัน หลังจากปรากฎกระแสข่าวจะย้ายไปสังกัดพรรครวมไทยสร้างชาติ
ถือได้ว่าการเมืองไทย เริ่มโหมดนับหนึ่งสู่สนามเลือกตั้งแล้ว โดยเฉพาะหลังการประชุม เอเปค ผ่านไป ต้องจับตาท่าทีของแต่ละพรรคจะไปในทิศทางใด พลังดูด ส.ส.จะมากแค่ไหน พลเอกประยุทธ์ จะประกาศแยกทาง พลังประชารัฐหรือไม่ หลังการประชุมเอเปค ผ่านไป ชัดแน่
จารุณี ปิริดี ทีมข่าวการเมือง TNN ช่อง 16 รายงาน
TNNONLINE
กรุงเทพมหานคร ประชาสัมพันธ์แจ้งประชาชน กรณีการประชุมเอเปค 2565 ที่จะถึงนี้ มีหลายสถานที่ปิดให้บริการ โดยมติคณะรัฐมนตรี กําหนดวันหยุดราชการเป็นกรณีพิเศษ ในเขตกรุงเทพมหานคร จังหวัดนนทบุรี และจังหวัดสมุทรปราการ ในช่วงการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค ครั้งที่ 29 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง
ดังนั้น ขอให้หลีกเลี่ยง หรืองดใช้รถใช้ถนนในเส้นทางที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งการสัญจรทางเรือในแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งจะมีการปิดการจราจรทางน้ำในวันที่ 18 พ.ย. 65
กทม. แจ้งปิดให้บริการ "สวนเบญจกิติ" ระหว่างวันที่ 14-20 พ.ย. 65
บช.น. แจ้ง ปิดถนน 24 ชั่วโมง ในวันที่ 16-19 พ.ย. 65 ดังนี้
- ถนนรัชดาภิเษก หน้าศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ตั้งแต่แยกอโศกมนตรี - แยกพระราม 4
- ถนนดวงพิทักษ์ ตลอดสาย
บช.น. งดใช้เส้นทางบางช่วงเวลา ในวันที่ 16-19 พ.ย. 65 ตั้งแต่เวลา 18.00-06.00 น. ของวันถัดไป
- ถนนเพลินจิต (ฝั่งขาเข้า) ตั้งแต่แยกใต้ด่วนเพลินจิต - แยกราชประสงค์
- ถนนราชดำริ (ฝั่งขาเข้า) ตั้งแต่แยกราชประสงค์ - แยกราชดำริ
- ซอยร่วมฤดี (ตลอดสาย)
- ถนนวิทยุ (ฝั่งขาเข้า) ตั้งแต่แยกเพลินจิต - แยกสารสิน
- ซอยต้นสน (ตลอดสาย)
ทั้งนี้ สามารถสอบถามข้อมูลเส้นทาง โทร. 1197 (บก.02)
MRT แจ้งปิดใช้บริการสถานี สถานีศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
ตั้งแต่วันที่ 16 พ.ย. 65 เวลา 00.01 น. จนถึงวันที่ 19 พ.ย. 65 เวลา 18.00 น. ส่วนสถานีอื่น ๆ เปิดให้บริการตามปกติ
MRT แจ้งปิดให้บริการลานจอดรถ สถานีศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
ตั้งแต่วันที่ 16-19 พ.ย. 65 ผู้ใช้บริการลานจอดรถสามารถใช้บริการได้ที่ลานจอดรถสถานีใกล้เคียง ได้แก่ สถานีเพชรบุรี และสถานีสามย่าน
ภาพ : TNN Online
APEC 2022 บช.น.แนะเลี่ยงเส้นทาง "ซักซ้อมรถนำขบวนเอเปค" คืนนี้ (12 พ.ย.) ตั้งแต่เวลา 21.00 - 03.00 น. เช็กเส้นทางหลีกเลี่ยงการจราจรตามที่แนะนำได้ที่นี่...
วันนี้ (12 พ.ย.65) พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ได้สั่งการให้ทุกหน่วยเตรียมความพร้อมในการปฏิบัติเพื่อรองรับการประชุมเอเปค (APEC 2022) ดังกล่าว บช.น.จึงร่วมกับกระทรวงการต่างประเทศ กำหนดให้มีการซักซ้อมรถนำขบวน และการบริหารจัดการจราจร วันที่ 12 พ.ย. 2565 ในเวลา 21.00 - 03.00 น. ของวันถัดไป
จึงมีความจำเป็นต้องปิดการจราจรบนทางด่วนและทางพื้นราบในบางช่วงบางเวลา ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการเดินทางของพี่น้องประชาชนในเส้นทางที่เกี่ยวข้องจึงแจ้งเพื่อเป็นข้อมูลในการเตรียมความพร้อม และวางแผนการเดินทาง ดังนี้
เส้นทางที่อาจได้รับผลกระทบ
เส้นทางพื้นราบ
- ถ.เพลินจิต (แยกราชประสงค์ - แยกเพลินจิต)
- ถ.สุขุมวิท (แยกเพลินจิต - ซอยสุขุมวิท 22)
- ถ.ราชดำริ (แยกราชประสงค์ - แยกศาลาแดง)
- ถ.วิทยุ (แยกเพลินจิต - แยกวิทยุ)
- ถ.รัชดาฯ (แยกอโศกมนตรี - แยกพระราม4)
- ถ.พระราม4 (แยกศาลาแดง - แยกพระราม 4)
- ถ.สาทร (แยกวิทยุ - แยกนรินธร)
เส้นทางบน "ทางด่วน" ที่ต้องหลีกเลี่ยง
1.เส้นทางพระราม 9 - อนุสาวรีย์
- ทางเชื่อม ทางขึ้น/ลงด่าน (ตลอดสาย)
2.เส้นทางบางนา-ท่าเรือ-ดินแดง-ด่านพระราม 4/2 และ ด่านเพลินจิต
3.เส้นทางดาวคะนอง - แจ้งวัฒนะ
- ด่านสุรวงศ์, ด่านสีลม, ด่านอุรุพงษ์, ด่านหัวลำโพง และ ด่านยมราช
4.เส้นทางยกระดับโทลล์เวย์
- ตั้งแต่ด่านอนุสรณ์สถาน ถึง ด่านดินแดง
เส้นทางแนะนำประชาชน
1.เส้นทางแนะนำประชาชน (พื้นราบ)
- ถ.เพชรบุรี
- ถ.พญาไท
- ถ.อังรีดูนังต์
- ถ.สีลม
- ถ.นราธิวาสฯ
- ถ.จันทน์
- ถ.สุนทรโกษา
- ซอยทองหล่อ
- ซอยเอกมัย
- ซอยสุขุมวิท 24
- ซอยกล้วยน้ำไท
- ซอยแสนสบาย
2.เส้นทางแนะนำประชาชน (ทางด่วน)
- มาจาก แจ้งวัฒนะ-ด่านประชาชื่น-ต่างระดับพญาไท (ให้ลงด่านพระราม 6-ด่านพหลโยธิน 2)
- มาจาก ด่านพระราม 2-ดาวคะนอง-สะพานพระราม 9 (ให้ลงด่านจันทน์)
- มาจาก บางนา-ท่าเรือ-ต่างระดับคลองเตย (ให้ลงด่านพระราม 4/1 -ถ.พระราม 4
- มาจาก เชื่อมมอเตอร์เวย์-ศรีนครินทร์-พระราม 9 (ให้ใช้พื้นราบ)
- มาจาก รามอินทรา -ถ.พระราม 9 (ให้ลงด่านประชาอุทิศ)
- ทางยกระดับโทลล์เวย์ (ให้ใช้ ถ.วิภาวดีรังสิต)
บช.น. จึงขอแจ้งประชาสัมพันธ์ให้พี่น้องประชาชนผู้ใช้รถใช้ถนนได้รับทราบ เพื่อเตรียมความพร้อมวางแผนในการเดินทาง และขอแนะนำให้หลีกเลี่ยงเส้นทางดังกล่าว
ทั้งนี้ บช.น.ได้จัดเตรียมกำลังตำรวจจราจรคอยอำนวยความสะดวกด้านการจราจรให้แก่พี่น้องประชาชนผู้ใช้รถใช้ถนนในภาพรวม เพื่อให้ประชาชนได้รับผลกระทบน้อยที่สุด และขออภัยในความไม่สะดวก
หากต้องการทราบข้อมูลสภาพการจราจร และสอบถามข้อมูลเส้นทางเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ควบคุมและสั่งการจราจร (บก.02) หมายเลขโทรศัพท์ 1197 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง และสามารถดาวน์โหลดแผนที่จราจรเพื่อหลีกเลี่ยงเส้นทางได้ที่ Facebook : 1197สายด่วนจราจร, Twitter : 1197 สายด่วนจราจร @Traffic_1197
ภาพ : TNN Online
กรมทางหลวงชนบท (ทช.) กระทรวงคมนาคม เตรียมความพร้อมดำเนินการตามมาตรการอำนวยความสะดวกและปลอดภัย เพื่อรองรับการเดินทางของประชาชนช่วงวันหยุดยาวระหว่างวันที่ 16 - 18 พฤศจิกายน 2565 ซึ่งเป็นช่วงการประชุมความร่วมมือทางเศรษฐกิจในเอเชีย - แปซิฟิก (APEC 2022) ทั้งนี้ นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้สั่งการให้ทุกหน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคมที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการตามมาตรการอำนวยความสะดวกและความปลอดภัยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการเดินทางให้กับประชาชน เป็นการป้องกันและลดอัตราการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนอย่างเป็นรูปธรรม โดยในส่วนของ ทช. ได้มีการเตรียมแนวทางให้หน่วยงานทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคทั่วประเทศดำเนินการตามมาตรการ ดังนี้
1. ปรับปรุงซ่อมแซมถนนและสะพานในความรับผิดชอบให้มีความสะดวกและปลอดภัย โดยติดตั้งเครื่องหมายจราจร อุปกรณ์อำนวยความปลอดภัย ไฟฟ้าแสงสว่าง และไฟสัญญาณจราจรให้ครบถ้วน
2. ตรวจสอบและวิเคราะห์ข้อมูลสถิติอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นระหว่างวันที่ 16 - 18 พฤศจิกายน 2565 ผ่านระบบ ARMS
3. เฝ้าระวังอุบัติเหตุให้กับผู้ใช้เส้นทางและเข้าช่วยเหลือเมื่อพบรถเสียหรือเกิดอุบัติเหตุ โดยดำเนินการตามความเหมาะสมในแต่ละพื้นที่
4. โครงการที่อยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้างและงานซ่อมบำรุงทางและสะพาน ให้ตรวจสอบพื้นที่โครงการในความรับผิดชอบแล้วดำเนินการคืนพื้นผิวจราจรให้สามารถสัญจรได้ พร้อมทั้งติดตั้งป้ายเตือน สัญญาณไฟจราจร อุปกรณ์อำนวยความปลอดภัยบริเวณพื้นที่ก่อสร้างให้ครบถ้วน พร้อมตรวจสอบให้อยู่ในสภาพที่สามารถใช้งานได้อยู่เสมอ และตรวจสอบไฟฟ้าแสงสว่างในพื้นที่ก่อสร้างหรือพื้นที่ใกล้เคียงเพื่อความปลอดภัยของผู้สัญจร
ทช. ขอความร่วมมือทุกท่านโปรดใช้ความระมัดระวังในการขับขี่ ไม่ประมาท เมาไม่ขับ คาดเข็มขัดนิรภัย ปฏิบัติตามกฎจราจรอย่างเคร่งครัดและสวมหมวกนิรภัยทุกครั้งก่อนใช้รถ เพื่อให้สามารถเดินทางได้อย่างสะดวกปลอดภัย ทั้งนี้ ประชาชนสามารถติดต่อสอบถามข้อมูลหรือแจ้งเหตุได้ที่สายด่วนกรมทางหลวงชนบท โทร. 1146
TNNONLINE
หนึ่งในเป้าหมายของเวที APEC 2022 การประชุมความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก ที่จัดขึ้นที่ประเทศไทยในปีนี้ ก็คือ การมุ่งเน้น ความร่วมมือในการขับเคลื่อนกลุ่มประเทศต่าง ๆ ไปสู่ Digital Economy หรือ เศรษฐกิจดิจิทัล ด้วยการผนวกใช้เทคโนโลยี เพื่อเพิ่มผลผลิต และเสริมประสิทธิภาพในขั้นตอนต่าง ๆ ตั้งแต่เทคโนโลยีภาคการผลิต การขาย ไปจนถึงการขนส่ง
ซึ่งหนึ่งในเมกะเทรนด์ที่เดินหน้าสู่ Digital Economy ก็คือ Future Food นวัตกรรมอาหารแห่งอนาคต ที่นำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในกระบวนการผลิตวัตถุดิบทดแทน สร้างสรรค์เมนูอาหาร ตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป
ทั้งนี้ ยังเป็นการช่วยบรรเทาปัญหาวิกฤตสภาพอากาศ และปัญหาพื้นที่เพาะปลูกไม่เพียงพอ รวมถึงป้องกันปัญหาขาดแคลนอาหารในอนาคต สืบเนื่องมาจากการเพิ่มขึ้นของประชากรโลก // โดยองค์การสหประชาชาติ หรือ UN คาดการณ์ว่า ในปี 2030 ประชากรโลกจะเพิ่มสูงถึง 8.5 พันล้านคน จากปัจจุบันที่ 7.3 พันล้านคน
และเมื่อพิจารณาข้อมูล มูลค่าตลาด Future Food ในประเทศไทย จากการเปิดเผยของสถาบันอาหาร กระทรวงอุตสาหกรรม ที่มีมากถึง 9.1 หมื่นล้านบาท จึงถือเป็นประตูสู่โอกาสสำคัญของผู้ประกอบการและสตาร์ตอัปด้านนวัตกรรมอาหารของไทย
ซึ่ง ณ เวลานี้ หนึ่งในประเภทของ Future Food ที่น่าสนใจและกำลังเป็นที่นิยมในหมู่คนรักสุขภาพและใส่ใจสิ่งแวดล้อมก็คือ ผลิตภัณฑ์กลุ่ม Plant Based อาหารโปรตีนจากพืช เช่น “มัดใจ” สตาร์ตอัปไทยที่รังสรรค์เมนูแปรรูปจากเห็ดแครง เห็ดท้องถิ่นของภาคใต้ ให้โปรตีนสูง นำไปแปรรูปโดยวิธีฟรีซดรายเพื่อรักษารสชาติ // ซึ่งนอกจากจำหน่ายในไทยแล้ว ยังส่งขายในแถบประเทศเพื่อนบ้านด้วย
นอกจากนี้ ยังมี “Sewiito KAP KAP” (ซีวีโต้ แค๊บ แค๊บ) ผลิตภัณฑ์แคปหมู ที่ทำจากข้าวสาลี ที่ใช้เทคนิคการเหวี่ยงน้ำมันหลังการทอด ทำให้มีน้ำมันน้อย เมื่อเทียบกับกลุ่มอาหารทอดอื่น ๆ ที่สำคัญยังเป็นหนึ่งในเมนูอาหารแห่งอนาคตที่ถูกจัดเสิร์ฟให้ผู้นำการประชุมเอเปกครั้งนี้ด้วย
ขณะที่ผู้ประกอบการรายใหญ่อย่างเครือเจริญโภคภัณฑ์ ก็ได้นำเทคโนโลยีเข้ามาปรับใช้กับการดำเนินธุรกิจด้านอาหาร ด้วยการคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน
ตัวอย่างเช่น นวัตกรรม PLANT-TEC หรือเทคนิคการสร้างรสสัมผัสเสมือนเนื้อสัตว์ ที่เป็นเอกสิทธิ์นวัตกรรมของซีพีเอฟ (ประเทศไทย) ที่เกิดขึ้นจากการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์เนื้อทางเลือก อันเป็นความร่วมมือระหว่าง CPF RD Center และบริษัทด้าน Plant-based ระดับโลกจากหลายประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น ไต้หวัน
ซึ่งกว่าจะออกมาเป็นผลิตภัณฑ์เนื้อจากพืช หรือ “MEAT ZERO” เนื้อทางเลือกที่สมบูรณ์แบบ ทั้งลักษณะ รสชาติ กลิ่น เนื้อสัมผัส และยังสามารถนำมาต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์อาหารได้หลากหลาย แบบน้ี / ต้องใช้เวลาพัฒนามากกว่า 2 ปี และผ่านการทดลองมามากกว่า 2,000 ครั้ง
แม้ว่า สภาพแวดล้อมของประเทศไทย จะเอื้อต่อการเพาะปลูกและให้ผลผลิต จนทำให้ ไทย เป็นหนึ่งในประเทศผู้ส่งออกอาหารรายใหญ่ของโลก จนได้สมญานามว่าเป็น “ครัวของโลก” / แต่ ถ้าหากมีการผลักดัน และต่อยอดนวัตกรรมอาหาร Future Food ด้วยการใช้เทคโนโลยี เข้ามาเป็นตัวช่วยในการรังสรรค์วัตถุดิบ อย่างต่อเนื่อง / ก็ย่อมจะช่วยให้ผู้บริโภคมีทางเลือกมากขึ้น
นอกจากนี้ Future Food เป็นกุญแจที่จะสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้อุตสาหกรรมอาหารได้อย่างมหาศาล เพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันในตลาดโลก และนำไปสู่การสร้างความมั่นคงทางอาหาร
สอดคล้องไปกับแนวคิดหลักของการประชุมเอเปกที่ไทยพยายามผลักดันอย่าง BCG (Bio-Circular-Green) โมเดลเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว ที่จะทำให้โลกของเรามีทรัพยากรอาหารเพียงพอต่อการบริโภคในอนาคตได้อย่างยั่งยืนด้วยเช่นกัน
TNNONLINE
เอเปค (APEC) คืออะไร?
เอเปค (APEC) หรือความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (Asia-Pacific Economic Cooperation : APEC) คือเวทีความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิก ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2532 โดยมีเป้าหมายหลักคือการส่งเสริมการเปิดเสรีการค้าการลงทุน รวมถึงความร่วมมือในด้านมิติสังคมและการพัฒนาด้านอื่นๆ อาทิ ความร่วมมือด้านการเกษตร การส่งเสริมบทบาทสตรีในเศรษฐกิจ การลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ และการพัฒนาด้านสาธารณสุข เพื่อนำไปสู่การสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ครอบคลุม ยั่งยืน และความมั่งคั่งของประชาชนในภูมิภาค
ปัจจุบัน เอเปคมีสมาชิกจำนวน 21 เขตเศรษฐกิจ ประกอบด้วยมหาอำนาจทางเศรษฐกิจของโลก เช่น สหรัฐอเมริกา จีน ญี่ปุ่น แคนาดา เกาหลีใต้ และรัสเซีย โดยไทยเป็นหนึ่งใน 12 เขตเศรษฐกิจผู้ร่วมก่อตั้ง ทั้งนี้ เอเปคมีประชากรรวมกว่า 2,900 ล้านคน หรือประมาณ 1 ใน 3 ของโลก มีผลิตภัณฑ์มวลรวม (GDP) รวมกันกว่า 53 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 1,700 ล้านล้านบาท เกินครึ่งของ GDP โลกและมีมูลค่าการค้ารวมกันเกือบครึ่งหนึ่งของการค้าโลก
เอเปคมีสมาชิกทั้งสิ้น 21 เขตเศรษฐกิจ ซึ่งประกอบด้วย
1. ออสเตรเลีย
2. แคนาดา
3. ญี่ปุ่น
4. เกาหลีใต้
5. จีน
6. ฮ่องกง
7. นิวซีแลนด์
8. สหรัฐอเมริกา
9. บรูไน
10. อินโดนีเซีย
11. มาเลเซีย
12. สิงคโปร์
13. ฟิลิปปินส์
14. ไทย
15. จีนไทเป
16. ชิลี
17. เม็กซิโก
18. ปาปัวนิวกินี
19. เปรู
20. รัสเซีย
21 เวียดนาม
อย่างไรก็ตาม การประชุม APEC 2022 ที่ไทยเป็นเจ้าภาพจะเริ่มตั้งแต่วันที่ 14-19 พ.ย. 2565 ซึ่งในวันที่ 14-16 พ.ย. 2565 จะเป็นการประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส จากนั้นวันที่ 17 พ.ย. 2565 เป็นการประชุมระดับรัฐมนตรี และวันที่ 18-19 พ.ย. 2565 เป็นการประชุมผู้นำ และมีกิจกรรมคู่สมรสของผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปกด้วย โดยใช้สถานที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ และเลี้ยงอาหารค่ำที่หอประชุมกองทัพเรือ ขณะที่กิจกรรมคู่สมรสของผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปก จะเป็นที่พิพิธภัณฑ์ศิลป์แผ่นดิน จ.พระนครศรีอยุธยา
TNNONLINE