08-11-2022
22:40
17:26
16:43
15:32
09:17
07-11-2022
06-11-2022
05-11-2022
04-11-2022
17:48
16:28
16:28
11:46
11:02
10:57
10:54
02-11-2022
01-11-2022
18:56
14:49
14:49
14:49
31-10-2022
30-10-2022
APEC 2022 โฆษกรัฐบาล เผย ผู้นำจาก 3 ประเทศ ได้แก่ เวียดนาม สาธารณรัฐประชาชนจีน และ ซาอุดิอาระเบีย จะยกคณะร่วมหารือกับไทยแบบเต็มคณะที่ทำเนียบรัฐบาล
วันนี้ (7 พ.ย.65) นายอนุชา บูรพชัยศรี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ในระหว่างการเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมความร่วมมือทางเศรษฐกิจในเอเชียแปซิฟิก (Asia-Pacific Economic Cooperation: APEC) หรือ APEC 2022 ในเดือนพ.ย.นี้ รัฐบาลจะมีการเตรียมต้อนรับผู้นำจาก 3 ประเทศ ได้แก่ เวียดนาม สาธารณรัฐประชาชนจีน และ ซาอุดิอาระเบีย ที่จะยกคณะร่วมหารือกับไทยแบบเต็มคณะที่ทำเนียบรัฐบาล
ขณะที่การประชุม APEC ผู้นำ 15 เขตเศรษฐกิจได้ตอบรับเข้าร่วมประชุมเรียบร้อยแล้ว ส่วนอีก 5 เขตเศรษฐกิจ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา เกาหลีใต้ มาเลเซีย เม็กซิโก และไต้หวัน จะส่งตัวแทนเข้าร่วมประชุม ส่วนรัสเซียยังรอยืนยัน
โฆษกรัฐบาล กล่าวว่า การประชุมเอเปค ซึ่งจัดขึ้นที่กรุงเทพฯ จะเริ่มตั้งแต่วันจันทร์ที่ 14 พ.ย.65 เป็นต้นไป โดยพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี จะเดินทางไปเปิดนิทรรศการ BCG ซึ่งไทยพยายามนำเสนอเรื่องนี้
นอกเหนือจากหัวข้อหลัก เรื่อง "การเปิดกว้าง สร้างสัมพันธ์ เชื่อมโยงกันสู่สมดุล" ซึ่งปัจจุบันโลกยังเผชิญกับความท้าทายใหม่ๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องห่วงโซ่อุปทานที่มีอยู่
รวมถึงปัญหาภูมิอากาศ เรื่องความสัมพันธ์ของประเทศมหาอำนาจต่างๆ ปัญหาความขัดแย้งรัสเซีย-ยูเครน ซึ่งการประชุมครั้งนี้ถือเป็นโอกาสสำคัญที่ไทยจะแสดงบทบาททิศทางเบื้องต้น และขอร่วมมือประเทศต่างๆ เพื่อพยายามตอบโจทย์ประเด็นปัญหาต่างๆ ให้คลี่คลายโดยเร็ว
"การประชุมครั้งนี้ เป็นการประชุมครั้งสำคัญที่จะมีการพบหน้ากันระหว่างผู้นำจากหลายเขตเศรษฐกิจครั้งแรกในรอบ 3 ปี ช่วงจากนี้ไปขอให้คนไทยทุกคนร่วมเป็นเจ้าภาพ เพื่อให้ต่างชาติที่เข้ามาได้เห็นศักยภาพของประเทศไทย และแสดงให้เห็นถึงขีดความสามารถ และเพื่อจูงใจให้เข้ามาลงทุน" โฆษกรัฐบาล ระบุ
สำหรับความพร้อมในการจัดงานดำเนินการไปแล้วกว่า 90% มีการเตรียมสถานการณ์ต่างๆ ตั้งแต่การต้อนรับผู้นำและการประชุมในสถานที่ต่างๆ และการเตรียมการให้ทุกประเทศเกิดความประทับใจ ทั้งเรื่องการจัดงานกาล่าร์ดินเนอร์ ของที่ระลึก และโปรแกรมสำหรับคู่สมรสด้วย
ส่วนมาตรการรักษาความปลอดภัย รัฐบาลได้มีการเตรียมความพร้อม และมีการซักซ้อมความเข้าใจไว้แล้ว
นอกจากนี้ ในวันที่ 10-13 พ.ย.นี้ นายกรัฐมนตรี ยังมีกำหนดการเข้าร่วมประชุมสุดยอดอาเซียน โดยนายกรัฐมนตรีจะเป็นประธานการประชุมผู้นำร่วมแผนพัฒนาเศรษฐกิจ 3 ฝ่าย อินโดนีเซีย มาเลเซีย และไทย ในวันที่ 10 พ.ย.นี้
และจะมีการประชุมคู่เจรจากับจีน สาธารณรัฐเกาหลี ญี่ปุ่น อินเดีย ออสเตรเลีย สหรัฐอเมริกา และแคนาดา และจะมีการประชุมอาเซียน+3 ร่วมกับจีน สาธารณรัฐเกาหลี ญี่ปุ่น และมีการประชุมเอเชียตะวันออก
นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรีมีกำหนดการหารือกับภาคส่วนต่างๆ ของอาเซียน ไม่ว่าจะเป็นผู้แทนรัฐสภา เยาวชน และภาคธุรกิจด้วย.
ภาพ : Thaigov , APEC 2022 Thailand
APEC 2022 กระทรวงคมนาคมตั้งวอร์รูมดูแลภารกิจ 4 ด้าน เพื่ออำนวยความสะดวกประสานงานการประชุมเอเปค 2022
นายชยธรรม์ พรหมศร ปลัดกระทรวงคมนาคม เป็นประธานประชุมเตรียมความพร้อมเพื่ออำนวยความสะดวกและความปลอดภัยในการเดินทางของผู้นำเขตเศรษฐกิจ ในระหว่างการประชุมของผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค (APEC 2022) ระหว่างวันที่ 14 - 19 พฤศจิกายน 2565
จากการประชุมคณะกรรมการระดับชาติเตรียมจัดประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค ครั้งที่ 3/2565 เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2565 โดยมี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานเพื่อทราบถึงความคืบหน้าในการเตรียมการด้านต่าง ๆ ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้เน้นย้ำให้ดำเนินการอย่างละเอียดรอบคอบ เรียบร้อย และไม่เกิดข้อผิดพลาด
ดังนั้น นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม จึงได้สั่งการให้ทุกหน่วยงานเตรียมความพร้อมปฏิบัติภารกิจ เพื่อให้สอดคล้องตามแผนของคณะอนุกรรมการด้านพิธีการและอํานวยการ ที่มี นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน และคณะอนุกรรมการด้านการรักษาความปลอดภัยและการจราจร ที่มี พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน
ทั้งนี้ กระทรวงฯ ได้แต่งตั้งคณะทำงานเฉพาะกิจ (War Room) ประจำการที่สำนักงานปลัดกระทรวงคมนาคม และมอบหมายให้ทุกหน่วยงานในสังกัดกระทรวงฯ ตั้งคณะทำงานเฉพาะกิจ (War Room) บูรณาการร่วมกันเพื่อความสะดวกในการประสานงานทั้งหน่วยงานภายในและภายนอกได้อย่างรวดเร็วและถูกต้อง และเพื่อให้การเตรียมความพร้อมเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ โดยแบ่งภารกิจออกเป็น 4 ด้าน ดังนี้
1. ภารกิจด้านทางบก
- ตรวจสอบกล้องวงจรปิด (CCTV) ที่อยู่ในเส้นทางการเดินทางของผู้นำ บุคคลสำคัญและคู่สมรสให้ใช้งานได้ เพื่อสนับสนุนการรักษาความปลอดภัย
- ประดับธง APEC และป้าย Welcome ตามสายทางที่อยู่ในเส้นทางการเดินทางของผู้นำตรวจสอบและบริหารควบคุมโครงการก่อสร้างที่อยู่ในเส้นทางการเดินทางของผู้นำให้สามารถสัญจรได้อย่างสะดวก
2. ภารกิจด้านทางน้ำ
- อำนวยความสะดวกด้านการจราจรทางน้ำในช่วงงานเลี้ยงอาหารค่ำ (Gala Dinner)
- จัดเจ้าหน้าที่พร้อมเรือและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องร่วมปฏิบัติการกับกองทัพเรือ และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ในการรักษาความปลอดภัยทางน้ำ และการจัดระเบียบการจราจรทางน้ำ
3. ภารกิจด้านทางราง
- ปรับเวลาการเดินรถไฟในเส้นทางที่ขบวนรถยนต์ของผู้นำเอเปคและคณะผ่านเพื่ออำนวยความสะดวก
- วางมาตรการรักษาความปลอดภัยบริเวณสถานีรถไฟใกล้เคียงสนามบิน
4. ภารกิจด้านทางอากาศ
- สนับสนุนการปฏิบัติตามแผนต่อต้านอากาศยานไร้คนขับ (Anti Drone) ของกองทัพอากาศ
- ยกเว้นค่าธรรมเนียมที่เกี่ยวข้องในการอำนวยความสะดวกสำหรับเครื่องบินพิเศษของผู้นำเอเปคและคณะ อำนวยความสะดวกเกี่ยวกับการ ขึ้น-ลง ของเครื่องผู้นำเขตเศรษฐกิจ
- จัดพื้นที่จอด ณ ท่าอากาศยานต่าง ๆ โดยประสานงานกับสายการบินและส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง
ทั้งนี้ ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้ง 4 ด้าน ประสานความร่วมมือกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
ในการตรวจสอบ และจัดเก็บข้อมูลของบุคคลที่ใช้บริการขนส่งสาธารณะตามอำนาจหน้าที่ และระเบียบที่เกี่ยวข้อง
ข้อมูลจาก กระทรวงคมนาคม
ภาพจาก TNN ONLINE / APEC 2022 Thailand
TNNONLINE
เอเปค (APEC) คืออะไร? เอเปค (APEC) หรือความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (Asia-Pacific Economic Cooperation : APEC) คือเวทีความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิก ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2532 โดยมีเป้าหมายหลักคือการส่งเสริมการเปิดเสรีการค้าการลงทุน รวมถึงความร่วมมือในด้านมิติสังคมและการพัฒนาด้านอื่นๆ อาทิ ความร่วมมือด้านการเกษตร การส่งเสริมบทบาทสตรีในเศรษฐกิจ การลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ และการพัฒนาด้านสาธารณสุข เพื่อนำไปสู่การสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ครอบคลุม ยั่งยืน และความมั่งคั่งของประชาชนในภูมิภาค
ปัจจุบัน เอเปคมีสมาชิกจำนวน 21 เขตเศรษฐกิจ ประกอบด้วยมหาอำนาจทางเศรษฐกิจของโลก เช่น สหรัฐอเมริกา จีน ญี่ปุ่น แคนาดา เกาหลีใต้ และรัสเซีย โดยไทยเป็นหนึ่งใน 12 เขตเศรษฐกิจผู้ร่วมก่อตั้ง ทั้งนี้ เอเปคมีประชากรรวมกว่า 2,900 ล้านคน หรือประมาณ 1 ใน 3 ของโลก มีผลิตภัณฑ์มวลรวม (GDP) รวมกันกว่า 53 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 1,700 ล้านล้านบาท เกินครึ่งของ GDP โลกและมีมูลค่าการค้ารวมกันเกือบครึ่งหนึ่งของการค้าโลก
เอเปคมีสมาชิกทั้งสิ้น 21 เขตเศรษฐกิจ ซึ่งประกอบด้วย
1. ออสเตรเลีย
2. แคนาดา
3. ญี่ปุ่น
4. เกาหลีใต้
5. จีน
6. ฮ่องกง
7. นิวซีแลนด์
8. สหรัฐอเมริกา
9. บรูไน
10. อินโดนีเซีย
11. มาเลเซีย
12. สิงคโปร์
13. ฟิลิปปินส์
14. ไทย
15. จีนไทเป
16. ชิลี
17. เม็กซิโก
18. ปาปัวนิวกินี
19. เปรู
20. รัสเซีย
21 เวียดนาม
อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่ APEC 2022 เอเปค คืออะไร? มีความสำคัญอย่างไร ไทยเป็นเจ้าภาพจัดประชุม
TNNONLINE