05-11-2022
04-11-2022
17:48
16:28
16:28
11:46
11:02
10:57
10:54
02-11-2022
01-11-2022
18:56
14:49
14:49
14:49
31-10-2022
30-10-2022
APEC 2022 มาตรการสำหรับการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค ครั้งที่ 29 ก่อนหน้านี้ คณะรัฐมนตรี (ครม.)ได้อนุมัติ ให้วันที่ 16 -18 พ.ย. 65 เป็นวันหยุดราชการเป็นกรณีพิเศษ เฉพาะในพื้นที่ กรุงเทพมหานคร จังหวัดนนทบุรี และจังหวัดสมุทรปราการ เพื่อบรรเทาปัญหาด้านการจราจร อำนวยความสะดวกในการเดินทางแก่ผู้เข้าร่วมการประชุมผู้นำ และอารักขาผู้นำ
โดยล่าสุดสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี มีหนังสือเวียนถึงหน่วยงานราชการ พิจารณาเห็นว่า เพื่อให้การดำเนินการจัดการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค ครั้งที่ 29 และกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องดังกล่าวข้างต้น เป็นไปด้วยความเรียบร้อย เหมาะสม เกิดภาพลักษณ์ที่ดีต่อประเทศ และกระทบต่อการเดินทางและการใช้ชีวิตประจำวัน ของประชาชนให้น้อยที่สุด
ครม.จึงมีมติเพิ่มเติมให้ชัดเจน รวมทั้งให้ประชาสัมพันธ์เพื่อขอความร่วมมือภาคเอกชนและประชาชนทั่วไปด้วย ดังนี้
1. ในช่วงการประชุมฯ ระหว่างวันที่ 16 - 18 พ.ย.2565 จะมีการปิดการจราจรในเส้นทางโดยรอบศูนย์การประชุมสิริกิติ์ รวมทั้งให้งดใช้ สวนเบญจกิติ ด้วย
2.การให้บริการรถไฟฟ้าใต้ดิน (MRT) 16 - 18 พ.ย.2565 เปิดให้บริการปกติ แต่จะงดจอดรับ - ส่งผู้โดยสารเฉพาะสถานีศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ จนกว่าการจัดการประชุมฯ จะเสร็จสิ้น
3.ในส่วนของโรงเรียนและสถาบันการศึกษาต่าง ( ในเขตพื้นที่ดังกล่าว ที่อาจได้รับผลกระทบ จากการปิดการจราจร ให้โรงเรียนและสถาบันการศึกษานั้น 1 พิจารณางดการจัดการเรียนการสอนหรือจัดกิจกรรมใด ๆ ในช่วงวันที่ 16 - 18 พ.ย. 2565 ยกเว้นในกรณีที่โรงเรียนหรือสถาบันการศึกษานั้น ๆ มีภารกิจสำคัญ ที่จำเป็นต้องดำเนินการในช่วงวันดังกล่าว มิอาจหลีกเลี่ยง หรือเลื่อนออกไปก่อนได้
4.ในช่วงค่ำวันที่ 18 พ.ย.2565 จะมีการจัดงานเลี้ยงอาหารค่ำแก่ผู้นำเอเปค ที่หอประชุมกองทัพเรือ ซึ่งจะมีการเดินทางไป – กลับของผู้นำประเทศ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องจากหลายเส้นทาง จึงขอความร่วมมือจากประชาชนทุกภาคส่วน ในการอำนวยความสะดวกในการเดินทางแก่ผู้นำประเทศ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องด้วย
โดยขอให้หลีกเลี่ยง หรืองดใช้รถใช้ถนนในเส้นทางที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งการสัญจร ทางเรือในแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งจะมีการปิดการจราจรทางน้ำในวันที่18 พ.ย. 2565
ติดตามข่าวหุ้นและการลงทุนทางไลน์
• Line @TNNWEALTH : https://bit.ly/3tCKmiD
———————————————————————
ติดตาม TNN Wealth ผ่านช่องทางต่าง ๆ ได้ที่
• Website : https://bit.ly/TNNWealthWebsite
• Youtube : https://bit.ly/TNNWealthYoutube
• TikTok : https://bit.ly/TNNWealthTikTok
หรือดูรายการ Live ได้ทาง https://bit.ly/3HmUu4O
TNNONLINE
ใกล้เปิดฉากขึ้นแล้วสำหรับเวทีการประชุม เอเปค หรือ ความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (Asia-Pacific Economic Cooperation : APEC)ที่ไทยเป็นเจ้าภาพการจัดงานครั้งที่ 29 ในวันที่ 18-19 พ.ย.นี้ ซึ่งรัฐบาลภายใต้การนำของพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ตั้งมุ่งหมายที่จะให้การประชุมรอบนี้ เป็นการโชว์ศักยภาพไทยให้ประจักษ์สายตากับทั่วโลก
ตลอดจนแสดงจุดยืนและบทบาทของไทยในเวทีระหว่างประเทศ ส่งเสริมการเปิดเสรีการค้าการลงทุน รวมถึงความร่วมมือด้านต่างๆ อันจะนำไปสู่การสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืน และความมั่งคั่งของประชาชนในภูมิภาค โดยล่าสุดมีผู้นำยืนยันมาร่วมงานด้วยตนเอง 18 ประเทศแล้ว
มองย้อนกลับไปถึงวัตถุประสงค์ของการก่อตั้งเอเปค เมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2532 ณ กรุงแคนเบอร์รา ประเทศออสเตรเลีย ก็เพื่อส่งเสริมระบบการค้าพหุภาคี สนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจของภูมิภาคและของโลก ด้วยการลดอุปสรรคและอำนวยความสะดวกทางด้านการค้า การค้าบริการ และการลงทุนระหว่างประเทศ โดยให้สอดคล้องกับกฎเกณฑ์ขององค์กรการค้า นอกจากนี้ยังส่งเสริมความร่วมมือทางด้านการเงินการคลังในการแก้ไขวิกฤตเศรษฐกิจ
สมาชิกเอเปค มีทั้งหมด 21 เขตเศรษฐกิจ ประกอบด้วย ออสเตรเลีย บรูไนฯ แคนาดา ชิลี จีน จีนฮ่องกง อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ มาเลเซีย เม็กซิโก นิวซีแลนด์ ปาปัวนิวกินี เปรู ฟิลิปปินส์ รัสเซีย สิงคโปร์ จีนไทเป ไทย สหรัฐฯ และเวียดนาม ซึ่งเป็นตลาดใหญ่ที่มีประชากรถึง 2,900 ล้านคน คิดเป็น 38% ของประชากรโลก มี GDP รวมกัน มูลค่า 52 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็น 62% หรือ 2 ใน 3 ของ GDP โลก
ในปี 2564 การค้าระหว่างไทยกับเอเปคมีมูลค่า 12.2 ล้านล้านบาท (385 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) คิดเป็น 71.52% ของการค้ารวมทั้งหมดของไทย โดยไทยส่งออกไปเอเปคมูลค่า 6.1 ล้านล้านบาท (195 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) และนำเข้าจากเอเปคมูลค่า 6 ล้านล้านบาท (190 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ)
ขณะที่ในช่วง 9 เดือน ของปี 2565 (ม.ค.-ก.ย.) การค้าระหว่างไทยกับเอเปค มีมูลค่า 10.7 ล้านล้านบาท (314 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) เพิ่มขึ้น 10.65% โดยไทยส่งออกไปเอเปคมูลค่า 5.2 ล้านล้านบาท (155 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) และนำเข้าจากเอเปค 5.4 ล้านล้านบาท (158 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ)
ที่ผ่านมา ไทยเป็นประเทศเจ้าภาพประชุมเอเปกมาแล้วรวมทั้งหมด 2 ครั้ง ครั้งแรกเมื่อปีพ.ศ.2535 จุดเด่นคือ การออกแถลงการณ์ประกาศจัดตั้งสำนักเลขาธิการเอเปก (APEC Secretariat) ที่สิงคโปร์ เพื่อทำหน้าที่เป็นฝ่ายเลขานุการการประชุมและประสานงานเรื่องต่างๆ และครั้งที่สองเมื่อปี 2546 เป็นการสนับสนุนให้เกิดความคืบหน้าในการเจรจาการค้าพหุภาคีรอบโดฮาภายใต้องค์การการค้าโลก และการการต่อต้านการก่อการร้ายที่มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ
สำหรับครั้งนี้ ถือเป็นการเป็นเจ้าภาพครั้งที่ 3 ของไทย ส่วนจุดที่จะเป็นไฮไลท์ด้านต่างๆ ในการประชุมครั้งนี้ ประกอบด้วย
- ความร่วมมือด้านการค้าการลงทุน
ไทยจะผลักดันการส่งเสริมศักยภาพของผู้ประกอบการ MSMEs ตามแนวคิดเศรษฐกิจ BCG เพื่อขยายโอกาสทางธุรกิจผ่านการ ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีและนวัตกรรมในการเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์ และการส่งเสริมการหารือเชิงนโยบายการค้า ระหว่างภาครัฐกับภาคเอกชน เพื่อแลกเปลี่ยนแนวคิดและข้อเสนอแนะในการขับเคลื่อนการจัดทำ FTAAP หลังยุคโควิด-19
- การคลัง
ไทยจะส่งเสริมการเข้าถึงแหล่งทุนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Finance) เพื่อให้สอดรับกับการผลักดัน BCG Economy ซึ่งเป็นวาระแห่งชาติ และภารกิจของรัฐบาลในการจัดหาแหล่งเงินทุนสำหรับทุกภาคส่วนให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้อย่างเหมาะสมและเพียงพอ โดยเฉพาะการจัดหาแหล่งเงินทุนผ่านตลาดทุนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศ นอกจากนี้ ยังส่งเสริมการเป็นสังคมดิจิทัล (Digitalization for Digital Economy) เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
- การท่องเที่ยว
ไทยจะนำเสนอ ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อฟื้นฟูการท่องเที่ยวในภูมิภาคเอเปกให้มีอนาคตที่ดีกว่าเดิม : การท่องเที่ยวฟื้นสร้างอย่างยั่งยืน (APEC Policy Recommendations on “Tourism of the Future: Regenerative Tourism”) โดยแนวคิดนี้สืบเนื่องมาจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ซึ่งส่งผลกระทบรุนแรงต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยวทั่วโลก ทั้งระบบอย่างไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ทำให้เกิดการท้าทายแนวคิดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (Sustainable Tourism) ซึ่งเป็นแนวคิดกระแสหลักด้านการท่องเที่ยวทั่วโลกมานานหลายทศวรรษ
- การเกษตร
ไทยจะผลักดันแนวคิดเศรษฐกิจ BCG ควบคู่กับนโยบาย ‘3S’ ได้แก่ Safety ความปลอดภัยของอาหาร Security ความมั่นคงของภาคการเกษตรและอาหาร และ Sustainability ความยั่งยืนของภาคการเกษตร เพื่อส่งเสริมความมั่นคงทางอาหารในเอเปก
- ป่าไม้
ไทยจะผลักดันการใช้นวัตกรรมเพื่อบริหารจัดการทรัพยากรป่าไม้ และเปลี่ยนข้อได้เปรียบให้เป็นความสามารถในการแข่งขัน กระจายรายได้สู่ชุมชนที่พึ่งพาทรัพยากรป่าไม้ ลดความเหลื่อมล้ำ สร้างชุมชนเข้มแข็งที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และสร้างการพัฒนาที่ยั่งยืนตามหลักเศรษฐกิจ BCG พร้อมผลักดันการจัดทำเครื่องมือที่เหมาะสมในการส่งเสริมการค้าไม้ที่ถูกกฎหมาย และต่อต้านการค้าไม้ผิดกฎหมายและการค้าที่เกี่ยวข้อง
- กิจการสตรี
ให้ความสำคัญกับการเสริมสร้างพลังทางเศรษฐกิจของสตรีในยุคหลังโควิด-19 และยุคดิจิทัล โดยจะนำแนวคิดเศรษฐกิจ BCG มาปรับใช้ เพื่อสร้างการเจริญเติบโตที่สมดุลและครอบคลุม มุ่งเน้นการดำเนินงานด้านสตรีที่ยึดโยงกับแนวทางขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการลา เซเรนาเพื่อสตรีและการเจริญเติบโตที่ครอบคลุม (La Serena Roadmap for Women and Inclusive Growth) นอกจากนี้ ยังมุ่งผลักดันการสร้างเครือข่ายสตรีผู้ประกอบการ BCG ไทยไปขยายผลในเอเปก เพื่อส่งเสริมบทบาท และสร้างโอกาสให้กับสตรีผู้ประกอบการ BCG ของไทยในระดับภูมิภาค
- สาธารณสุข
ไทยจะขยายการสร้างสัมพันธ์กับองค์การระหว่างประเทศอื่นๆ เพื่อพัฒนาความร่วมมือในประเด็นด้านการแพทย์ และสาธารณสุข และผลักดันแนวคิดเศรษฐกิจ BCG ควบคู่กับการส่งเสริมประเด็นการเพิ่มการลงทุนด้านความมั่นคงทางสุขภาพ (health security) และการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ทางการแพทย์และสาธารณสุข (digital health) เพื่อลดผลกระทบของภัยคุกคามทางสุขภาพต่อเศรษฐกิจ
สรุปภาพรวมของผลที่จะได้จากการประชุมครั้งนี้ นอกจากเป็นกลไกส่งเสริมเขตเศรษฐกิจพิเศษ ให้ประเทศต่างๆ ได้ปรับตัวและพัฒนาเศรษฐกิจท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี และสภาวะปัจจัยต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพขึ้นแล้ว ก็ยังน่าจะช่วยลดปัญหากฏระเบียบเงื่อนไขต่างๆ ที่เป็นอุปสรรคทางการค้าการลงทุนระหว่างกันด้วย หลังจากที่ทั่วโลกต้องเผชิญกับวิกฤติโควิดมาหลายปี และกำลังเริ่มกดปุ่มกลับมาเปิดประเทศกันอย่างคึกคักอีกครั้ง
ในส่วนของไทยเอง การเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมในครั้งนี้ ถือเป็นโอกาสที่ดีที่จะแสดงถึงศักยภาพและวิสัยทัศน์ของไทยในด้านต่างๆ ที่พร้อมจะกลับมามีบทบาทสำคัญในเวทีการค้าและเศรษฐกิจโลกอีกครั้ง
ภาพประกอบ AFP,เก็ตตี้อิมเมจ,พิกซาเบย์
AFP,เก็ตตี้อิมเมจ,พิกซาเบย์
APEC 2022 เปิดลงทะเบียนรถเข้า-ออก บริเวณถนนรัชดาภิเษกวันสุดท้าย เช็กขั้นตอนทั้งหมดได้ที่นี่
สถานีตำรวจนครบาลทองหล่อ ประชาสัมพันธ์ ถึงผู้พักอาศัย และผู้ประกอบการ บริเวณถนนรัชดาภิเษก เนื่องจากจะมีการปิดการจราจรถนนรัชดาภิเษก ตั้งแต่แยกอโศก ถึง รัชดา-คลองเตย ระหว่างวันที่ 14-19 พฤศจิกายน 2565 โดยกำหนดให้ยานพาหนะที่จะสามารถผ่านเข้า-ออก บริเวณดังกล่าว จะต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานเท่านั้น
เพื่อประชาสัมพันธ์ผู้ที่มีความจำเป็น และประสงค์ขอมีบัตรอนุญาตผ่านเข้า-ออกพื้นที่ประกาศห้าม ให้ลงทะเบียนในแบบคำร้อง และกรอกข้อมูลตามลิงก์ Google Form ภายในวันที่ 4 พฤศจิกายน 2565 ขออภัยในความไม่สะดวก และขอขอบพระคุณในโอกาสนี้
สำหรับการลงทะเบียน สามารถกรอกฟอร์มขอรับบัตรเพื่อผ่านเส้นทางเข้าออกช่วงถนนอโศก-รัชดา-คลองเตย ผ่านระบบ Google Form คลิกที่นี่
ขั้นตอนลงทะเบียน
1.สแกน QR Code เพื่อเข้าสู่แบบฟอร์ม
2.เลือกอาคารหรือโรงแรมที่ท่านจะพัก **กรณีเป็นบ้านพักให้เลือกหัวข้ออื่นๆแล้วกรอกที่อยู่ตามทะเบียนบ้าน
3.กรอกข้อมูลให้ครบถ้วน
4.ถ่ายรูปด้านหน้าและด้านข้างของรถโดยให้เห็นป้ายทะเบียน
5.กรอกข้อมูลครบถ้วนแล้วให้กด ส่งข้อมูล
ภาพจาก APEC 2022 Thailand / TNN Online / บช.น.
TNNONLINE
21 เขตเศรษฐกิจที่เข้าร่วมประชุมเอเปค 2022
การประชุมเอเปค 2022 เป็นการประชุมความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก ซึ่งกำหนดจัดขึ้นในประเทศไทย ตลอดทั้งปี พ.ศ. 2565 โดยการประชุมสุดยอดผู้นำเอเปคมีกำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 18-19 พฤศจิกายน ก่อนหน้านี้ไทยเคยเป็นเจ้าภาพในปี พ.ศ. 2535 และ 2546
การประชุมนี้เป็นการเข้าร่วมครั้งแรกของ แอนโทนี แอลบานีส นายกรัฐมนตรีออสเตรเลีย, กาบริเอล โบริช ประธานาธิบดีชิลี, บองบอง มาร์กอส ประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ และจอห์น ลี ผู้บริหารสูงสุดของฮ่องกง
ปัจจุบัน เอเปคมีสมาชิกทั้งสิ้น 21 เขตเศรษฐกิจ (20 ประเทศ 1 เขตเศรษฐกิจ) ประกอบด้วยประเทศมหาอำนาจทางการเมืองและเศรษฐกิจที่สำคัญ คือ สหรัฐอเมริกา รัสเซีย สาธารณรัฐประชาชนจีน และญี่ปุ่น รวมทั้งสมาชิกอาเซียน และประเทศในอเมริกาเหนือและใต้ ซึ่งประกอบด้วย
1. ออสเตรเลีย
2. แคนาดา
3. ญี่ปุ่น
4. เกาหลีใต้
5. จีน
6. ฮ่องกง
7. นิวซีแลนด์
8. สหรัฐอเมริกา
9. บรูไน
10. อินโดนีเซีย
11. มาเลเซีย
12. สิงคโปร์
13. ฟิลิปปินส์
14. ไทย
15. จีนไทเป
16. ชิลี
17. เม็กซิโก
18. ปาปัวนิวกินี
19. เปรู
20. รัสเซีย
21 เวียดนาม
ภาพ TNNOnline
TNNONLINE