กยศ. หักเงินเดือนเพิ่ม 3,000 บาท เช็กเลยใครโดนหักบ้าง-พร้อมแนะวิธีแก้ให้ผู้กู้ยืม

กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ชี้แจงกรณีที่ กยศ. ได้แจ้งนายจ้างให้หักเงินเดือนเพื่อชำระเงินกู้ยืมคืนจากผู้กู้ยืมที่ค้างชำระหนี้ โดยให้หักเพิ่มรายละ 3,000 บาท สำหรับผู้กู้ยืมที่มีสถานะ ค้างชำระ โดยไม่รวมผู้ที่ได้ทำสัญญาปรับโครงสร้างหนี้กับ กยศ. แล้ว มีผลตั้งแต่เดือนเมษายน 2568 เป็นต้นไป  ว่า

กองทุนฯ เพิ่มจำนวนหักเงินเดือนบัญชีละ 3,000 บาท 

กองทุนฯ เพิ่มจำนวนหักเงินเดือนบัญชีละ 3,000 บาท  (สำหรับผู้กู้ยืม)

Q : ถูกหักเงินเดือนทุกเดือน ทำไมมียอดค้างชำระ?

ยอดค้างชำระหนี้ของผู้กู้ยืมอาจเกิดจาก

- มียอดค้างชำระหนี้ก่อนการหักเงินเดือน

- ในระหว่างการแจ้งหักเงินเดือน ท่านมีการขอปรับลดจำนวนการหักเงิน แล้วผู้กู้ยืมไม่ได้ไปชำระส่วนต่างในวันที่ 5 กรกฎาคมของงวดปีนั้น ๆ

ทั้งนี้ ผู้กู้ยืมสามารถตรวจสอบข้อมูลการค้างชำระหนี้ได้ด้วยตนเองผ่านทาง Mobile Application "กยศ. Connect"

กยศ. หักเงินเดือนเพิ่ม 3,000 บาท เช็กเลยใครโดนหักบ้าง-พร้อมแนะวิธีแก้ให้ผู้กู้ยืม

สรุปข่าว

กยศ. ไขข้อสงสัยหักเงินเดือนผู้กู้ยืมเพิ่ม 3,000 บาท จากยอดเดิม สำหรับผู้กู้ยืมที่มีสถานะค้างชำระ โดยมีผลตั้งแต่เดือนเมษายน 2568

ถ้าไม่ต้องการให้นายจ้างหักเงินตามที่กองทุนฯ แจ้งในเดือนนี้ ต้องทำอย่างไร?

- ผู้กู้ยืมสามารถเลือกปฏิบัติตามข้อใดข้อหนึ่งดังนี้:

1. ดำเนินการขอปรับโครงสร้างหนี้

- เพื่อลดจำนวนการผ่อนชำระต่อเดือน

- ขยายระยะเวลาการผ่อน

- ลดเบี้ยปรับให้ 100%

- ปลดผู้ค้ำประกัน

โดยกองทุนจะแจ้งจำนวนเงินการหักเงินเดือนตามยอดผ่อนชำระใหม่ ในเดือนถัดจากเดือนที่ผู้กู้ยืมได้ปรับโครงสร้างหนี้แล้ว

เช่น ในกรณีที่ท่านทำสัญญาปรับโครงสร้างหนี้ ภายในเดือนเมษายน 2568 (กลุ่มข้าราชการที่ได้รับเงินเดือนจากกรมบัญชีกลาง ให้ดำเนินการภายในวันที่ 20 เมษายน 2568) กองทุนจะแจ้งยอดผ่อนชำระใหม่ในเดือนพฤษภาคม 2568 ดังนั้น เดือนเมษายน 2568 นี้ ท่านจะถูกหักเงินเดือนเพิ่ม 3,000 บาท เพียง 1 เดือนเท่านั้น

2. ชำระยอดหนี้ค้างให้เสร็จสิ้น

หากผู้กู้ยืมชำระแล้ว ให้ผู้กู้ยืมเงินนำหลักฐานการชำระแจ้งต่อนายจ้าง แล้วให้นายจ้างลบยอดออก 3,000 บาท จากยอดหักเงินเดือนในเดือนเมษายน 2568 ได้

หักเงินเพื่อชำระเงินกู้ยืมคืนจากผู้ค้างชำระหนี้

อย่างไรก็ตาม การหักเงินเดือนเพื่อชำระเงินกู้ยืมคืนจากผู้กู้ยืมที่ค้างชำระหนี้ โดยให้หักเพิ่มรายละ 3,000 บาท สำหรับผู้กู้ยืมที่มีสถานะ ค้างชำระ โดยไม่รวมผู้ที่ได้ทำสัญญาปรับโครงสร้างหนี้กับ กยศ. แล้ว

การติดตามหนี้ผู้กู้ยืมทุกรายที่ยังมียอดหนี้ค้างชำระ

ดร.นันทวัน วงศ์ขจรกิตติ ผู้จัดการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา เปิดเผยว่า ตามที่ กยศ. ได้แจ้งนายจ้างให้หักเงินเดือนผู้กู้ยืมที่ค้างชำระหนี้เพิ่มอีก 3,000 บาทนั้น กยศ. ขอชี้แจงว่า เนื่องด้วย กยศ. ได้ดำเนินการติดตามหนี้ผู้กู้ยืมทุกรายที่ยังมียอดหนี้ค้างชำระ ซึ่งรวมถึงผู้กู้ยืมที่อยู่ในระบบหักเงินเดือน 

ก่อนหน้านี้ กยศ. ได้แจ้งหักเงินเดือนซึ่งไม่ได้นำยอดหนี้ค้างชำระเดิมของผู้กู้ยืมมารวมในการแจ้ง หักเงินเดือนด้วย และได้แจ้งให้ผู้กู้ยืมมีหน้าที่ชำระเงินยอดหนี้ค้างชำระด้วยตนเองให้ครบถ้วน แต่ผู้กู้ยืมบางรายไม่ได้มีการชำระเงินดังกล่าวจึงทำให้มียอดหนี้ค้างสะสม และบางรายได้ขอลดจำนวนเงินหักเงินเดือนแต่ไม่ได้ชำระส่วนต่างให้ครบถ้วนภายในวันที่ 5 กรกฎาคมของงวดปีนั้นๆ 

ดังนั้น กยศ. จึงมีความจำเป็นในการเพิ่มจำนวนเงินที่หักต่อเดือนบัญชีละ 3,000 บาท ซึ่ง กยศ. ได้จัดส่งหนังสือแจ้งไปยังที่อยู่ตามทะเบียนราษฎร์ ให้ผู้กู้ยืมและได้ส่งอีเมลให้นายจ้างทราบแล้ว โดยสามารถตรวจสอบยอดหนี้ค้างชำระได้ด้วยตนเองผ่านแอป กยศ.Connect 

ทั้งนี้ กยศ. ขอเชิญชวนให้ผู้กู้ยืมที่มียอดหนี้ที่ค้างชำระมาปรับโครงสร้างหนี้ออนไลน์ได้ด้วยตนเองผ่านเว็บไซต์ www.studentloan.or.th เพื่อได้รับสิทธิขยายระยะเวลาผ่อนชำระอีก 15 ปี ปลดภาระผู้ค้ำประกันและลดเบี้ยปรับ 100% ซึ่งจะทำให้การแจ้งหักเงินเดือนในเดือนถัดไปมียอดที่ลดลงตามเงื่อนไข ในสัญญาปรับโครงสร้างหนี้



อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวดี กยศ. ออกมาตรการลดหย่อนหนี้ เมื่อชำระปิดบัญชีมีส่วนลด 5 - 10%



ที่มาข้อมูล : กยศ.

ที่มารูปภาพ : กยศ.

avatar

ศิริพร บุญเถื่อน

Thailand Web Stat