สธ. กางตัวเลขปชช. ป่วยจาก PM 2.5 แค่ 3 สัปดาห์พุ่งทะลุ 1 แสนคน

นายแพทย์ วรตม์ โชติพิทยสุนนท์ โฆษกกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า สถานการณ์ฝุ่น PM2.5 จากข้อมูลกรมควบคุมมลพิษ พบจังหวัดที่มีค่าฝุ่นเกินมาตรฐานรวม 60 จังหวัด แยกเป็นระดับสีส้ม เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ 45 จังหวัด และระดับสีแดง มีผลกระทบต่อสุขภาพ (มากกว่า 75 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตรขึ้นไป) 15 จังหวัด จากเดิม 9 จังหวัด ได้แก่ ระยอง, อยุธยา, กรุงเทพมหานคร, เพชรบุรี, สระบุรี, สุโขทัย, ปทุมธานี, ลพบุรี, สมุทรสาคร, ปราจีนบุรี, สมุทรปราการ, นนทบุรี, ราชบุรี, สิงห์บุรี และสมุทรสงคราม

โดยเฉพาะในจังหวัดเพชรบุรี สุโขทัย สระบุรี สมุทรสาคร และกรุงเทพฯ ซึ่งค่าฝุ่นอยู่ในระดับสีแดงติดต่อกันเป็นเวลามากกว่า 3 วัน


สธ. กางตัวเลขปชช. ป่วยจาก PM 2.5 แค่ 3 สัปดาห์พุ่งทะลุ 1 แสนคน

สรุปข่าว

ตัวเลขผู้ป่วยที่เกี่ยวข้องกับการสัมผัสฝุ่น PM 2.5 โดยข้อมูลจากระบบคลังข้อมูลสุขภาพ พบว่าในช่วงเดือนมกราคม 2567 มีผู้ป่วยประมาณ 500,000 คน ขณะที่ข้อมูลที่รายงานผ่านระบบด้วยโรคที่เกี่ยวข้องกับการรับสัมผัสฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) รายสัปดาห์ที่เข้ารับบริการในเดือนมกราคม 2568 ยังไม่เป็นปัจจุบัน แต่ภาพรวมมีผู้ป่วยแล้ว 144,000 คน

จังหวัดที่มีค่าฝุ่นสีแดงติดต่อกัน 3 วันขึ้นไป คือ เพชรบุรี สุโขทัย สระบุรี สมุทรสาคร และกทม.นอกจากนี้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก ยังคงมีค่าฝุ่นเกินมาตรฐานในระดับสีส้ม จึงขอให้ประชาชนตรวจสอบค่าฝุ่นเป็นประจำและปฏิบัติตามคำแนะนำของกระทรวงสาธารณสุขอย่างเคร่งครัด

ส่วนตัวเลขผู้ป่วยที่เกี่ยวข้องกับการสัมผัสฝุ่น PM 2.5 โดยข้อมูลจากระบบคลังข้อมูลสุขภาพ พบว่าในช่วงเดือนมกราคม 2567 มีผู้ป่วยประมาณ 500,000 คน ขณะที่ข้อมูลที่รายงานผ่านระบบด้วยโรคที่เกี่ยวข้องกับการรับสัมผัสฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) รายสัปดาห์ที่เข้ารับบริการในเดือนมกราคม 2568 ยังไม่เป็นปัจจุบัน แต่ภาพรวมมีผู้ป่วยแล้ว 144,000 คน เป็นกลุ่มโรคผิวหนังอักเสบมากที่สุด รองลงมา กลุ่มโรคตาอักเสบ กลุ่มโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคหืด และโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน

อย่างไรก็ตามปีนี้สถานการณ์ฝุ่น PM 2.5 ในพื้นที่ภาคเหนืออาจจะน้อยกว่าที่ผ่านมา แต่ใน กทม.ดูทรงแล้วจะสูง เมื่อหารเฉลี่ยทั่วประเทศ ภาพรวมข้อมูลผู้ป่วยที่เกี่ยวข้องกับการสัมผัสฝุ่น PM 2.5 ในปี 2568 จะใกล้เคียงกับปี 2567 ในช่วงเวลาเดียวกัน

นอกจากนี้ กระทรวงสาธารณสุข ยังได้ปรับเข้ม 5 มาตรการด้านการแพทย์และสาธารณสุข เพื่อรับมือฝุ่น PM 2.5 โดยให้เตรียมพร้อมศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉิน โดยเปิดศูนย์ปฏิบัติการฯ ในสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดแล้ว 10 จังหวัด  พร้อมเร่งประชาสัมพันธ์เชิงรุกและสร้างความรอบรู้ภัยสุขภาพ โดยส่วนกลางเปิดศูนย์ข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพ ฝุ่น PM2.5 เผยแพร่ความรู้สุขภาพ แนวทางปฏิบัติในการป้องกันตัวเองแก่ประชาชน รวมถึงสอบถามผ่านสายด่วนกรมอนามัย 1478 และสายด่วนกรมควบคุมโรค 1422

และจัด “ทีมพิเศษฉุกเฉินสุขภาพ” ระดับจังหวัด 76 ทีม และระดับอำเภอ 878 ทีม ดูแลกลุ่มเสี่ยง 5 กลุ่ม รวม 178,773 คน ประกอบด้วยเด็กเล็ก, ผู้สูงอายุ, หญิงตั้งครรภ์, ผู้มีโรคหัวใจ และผู้มีปัญหาระบบทางเดินหายใจ  จัดบริการคลินิกมลพิษ คลินิกมลพิษออนไลน์ เปิดระบบนัดหมายล่วงหน้าผ่านแอปพลิเคชั่นหมอพร้อม รวมถึงสนับสนุนอุปกรณ์เวชภัณฑ์ต่างๆ ให้เพียงพอสำหรับใช้ต่อเนื่องได้ 2 เดือน

ที่มาข้อมูล : กระทรวงสาธารณสุข

ที่มารูปภาพ : TNN

แท็กบทความ

ฝุ่น PM 2.5
ฝุ่น
ป่วยจากฝุ่น
ฝุ่นพิษ
ฝุ่นละออง