มหาวิทยาลัยมหิดลเปิดตัว “MAHIDOL AQHI” เทคโนโลยีประเมินคุณภาพอากาศในภาวะฝุ่นพิษปกคลุม

 มหาวิทยาลัยมหิดลเปิดตัว “MAHIDOL AQHI”  เทคโนโลยีประเมินคุณภาพอากาศในภาวะฝุ่นพิษปกคลุม

สรุปข่าว

        คณะสาธารณสุขศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดตัว “MAHIDOL AQHI” โดย ศาสตราจารย์ นายแพทย์ปิยะมิตร ศรีธรา อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล รองศาสตราจารย์ ดร.เภสัชกร สมภพ ประธานธุรารักษ์ รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนาคุณภาพและพันธกิจเพื่อสังคมมหาวิทยาลัยมหิดลรองศาสตราจารย์ ดร.สราวุธ เทพานนท์ คณบดีคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลและรองศาสตราจารย์ ดร.สุวิมล กาญจนสุธา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

        มุ่งยกระดับและพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนอย่างยั่งยืนอันสอดคล้องกับแนวทางการดำเนินงานของสหประชาชาติ (United Nations)เป้าหมายเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development Goals) โดยจากการศึกษามลพิษทางอากาศจากฝุ่นละอองและก๊าซพิษต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อการใช้ชีวิตและการเกิดความเสี่ยงของโรคอย่างมีนัย จึงเป็นที่มาของโครงการเรื่อง “Air Quality Health Index (AQHI)ดัชนีคุณภาพอากาศของประเทศไทย” ที่นำค่าความเข้มข้นของสารมลพิษแต่ละชนิดมาแปลผลและนำเสนอในรูปแบบอย่างง่ายเพื่อใช้สื่อสารความเสี่ยงสุขภาพจากมลพิษทางอากาศแก่ประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพ

      AQHIจะมีการนำข้อมูลด้านสุขภาพของประชาชนในพื้นที่มาเชื่อมโยงกับข้อมูลคุณภาพอากาศ เพื่อให้ประชาชนได้รับทราบสถานการณ์จริง ประเมินความเสี่ยงทางสุขภาพของตนเองได้ และมีข้อมูลประกอบการตัดสินใจเมื่อต้องไปทำกิจกรรมต่าง ๆ ซึ่งจุดเด่นของ AQHI คือการนำสารมลพิษสำคัญ 4 ตัว ได้แก่ PM10, PM2.5, O3 และ SO2 มาศึกษาและคำนวณร่วมกับข้อมูลกลุ่มโรคระบบทางเดินหายใจ หัวใจและหลอดเลือดและระบบไหลเวียนเลือดในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลเพื่อแสดงผลรวมความเสี่ยงสุขภาพจากสารมลพิษในพื้นที่ที่ระดับความเสี่ยงต่างๆทำให้ประชาชนสามารถจัดลำดับความสำคัญของกิจกรรมได้โดยแบ่งออกเป็น 4 ระดับ คือ ระดับความเสี่ยงต่ำ (Low Risk)ค่า AQHI อยู่ในช่วง 1-3 จะแสดงค่าเป็นสีเขียว สามารถทำกิจกรรมกลางแจ้งได้ตามปกติระดับความเสี่ยงปานกลาง (Moderate Risk)ค่า AQHI อยู่ในช่วง 4-6 จะแสดงค่าเป็นสีเหลืองประชาชนควรลดระยะเวลาทำกิจกรรมหรือออกกำลังกายกลางแจ้งที่ใช้แรงมาก และกลุ่มเสี่ยงควรสวมใส่หน้ากากอนามัยเมื่อออกนอกอาคารระดับความเสี่ยงสูง (High Risk)ค่า AQHI อยู่ในช่วง 7-10 จะแสดงค่าเป็นสีส้ม ให้สวมใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลา จัดให้มีห้องควบคุมคุณภาพและระดับความเสี่ยงสูงมาก (Very High Risk)ค่า AQHI มากกว่า 10 ขึ้นไปจะแสดงค่าเป็นสีแดง ต้องจัดให้มีห้องควบคุมคุณภาพอากาศใส่อุปกรณ์ป้องกันฝุ่นตลอดเวลา และประกาศให้ Work from home

 มหาวิทยาลัยมหิดลเปิดตัว “MAHIDOL AQHI”  เทคโนโลยีประเมินคุณภาพอากาศในภาวะฝุ่นพิษปกคลุม

 มหาวิทยาลัยมหิดลเปิดตัว “MAHIDOL AQHI”  เทคโนโลยีประเมินคุณภาพอากาศในภาวะฝุ่นพิษปกคลุม

 มหาวิทยาลัยมหิดลเปิดตัว “MAHIDOL AQHI”  เทคโนโลยีประเมินคุณภาพอากาศในภาวะฝุ่นพิษปกคลุม

 มหาวิทยาลัยมหิดลเปิดตัว “MAHIDOL AQHI”  เทคโนโลยีประเมินคุณภาพอากาศในภาวะฝุ่นพิษปกคลุม

          การสื่อสารความเสี่ยงสุขภาพเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ประชาชนองค์กรและหน่วยงานต่าง ๆ ใช้เพื่อตัดสินใจวางแผนการดำเนินชีวิตหรือการเลือกแนวทางปฏิบัติตนให้เหมาะสมกับสถานการณ์ได้โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงวิกฤตมลพิษทางอากาศ และช่วยให้ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญด้านสุขภาพให้สามารถป้องกันตนเองให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีกว่าจากการลดความเสี่ยงการเกิดกลุ่มโรคที่มาจากมลพิษทางอากาศซึ่งในระยะยาวจะช่วยให้เกิดความยั่งยืนด้านสุขภาพในระดับประเทศได้จากการดำเนินงานเชิงบูรณาการและขยายผลการเข้าถึงข้อมูลคุณภาพอากาศAQHIผลักดันให้เกิดความร่วมมือเชิงนโยบายที่จะช่วยสร้างเกราะป้องกันทางสุขภาพให้แก่ประชาชนอย่างยั่งยืนในอนาคต 

          ทั้งนี้มหาวิทยาลัยมหิดลและภาคีเครือข่ายได้พัฒนาค่า AQHI ขึ้นใช้ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร และนำเสนอผ่านช่องทาง website ซึ่งมีการแสดงค่า AQHI แบบรายชั่วโมง ครอบคลุมพื้นที่กรุงเทพมหานครทั้ง 50 เขต โดยสามารถเข้าดูรายละเอียดได้ที่ https://aqhi.mahidol.ac.th/

 มหาวิทยาลัยมหิดลเปิดตัว “MAHIDOL AQHI”  เทคโนโลยีประเมินคุณภาพอากาศในภาวะฝุ่นพิษปกคลุม

ที่มา-ภาพ :คณะสาธารณสุขศาสตร์ ม.มหิดล

ที่มาข้อมูล : หาเอง/ตัดต่อเอง

ที่มารูปภาพ : -

ผู้สื่อข่าวมากประสบการณ์ของ TNN Thailand ที่เชี่ยวชาญด้าน เทคโนโลยี มีประสบการณ์ในวงการสื่อสารมวลชนกว่า 15 ปี

แท็กบทความ