
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร และประธานรัฐสภา กล่าวถึง ข้อกังวลในการยื่นเรื่องต่อศาล รัฐธรรมนูญกรณีที่รัฐสภาจะพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 256 ที่เสนอโดยนายพริษฐ์ วัชรสินธุ จากพรรคฝ่ายค้าน และ นายวิสุทธิ์ ไชยณรุณ จากพรรคร่วมรัฐบาล ว่าเรื่องนี้ ได้ปรึกษาหารือร่วมกับวิป 3 ฝ่ายแล้ว ว่าจะบรรจุในระเบียบวาระ เพื่อพิจารณา ในวันที่ 13 และ 14 กุมภาพันธ์นี้ ตามกรอบเวลา 19 ชั่วโมง ส่วนข้อกังวลว่าจะมีผู้ยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความนั้น ตนยังไม่ทราบว่าเป็นประเด็นใด หากมาจากสมาชิกรัฐสภา จะต้องอาศัยเสียงผู้ที่ลงชื่อจำนวนไม่น้อยกว่า 40 ท่าน ซึ่งจะต้องขอเสียงในที่ประชุมว่ามีผู้เห็นด้วย ให้ประธานรัฐสภาส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความหรือไม่ หากสมาชิกเสียงข้างมากเห็นด้วย ประธานสภาก็จะดำเนินการส่งต่อไป แต่หากเสียงไม่ถึงกึ่งหนึ่ง ก็เดินหน้าพิจารณาต่อไป เมื่อถามว่า ควรจะยื่นเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาก่อน รัฐสภา เพื่อความสบายใจหรือไม่ ประธานสภากล่าวว่า ตนไม่ทราบความเห็นความเห็น แต่ละฝ่ายอาจไม่เหมือนกัน แต่ความเห็นของประธานรัฐสภาในเรื่องนี้ เห็นว่าควรบรรจุ และมีการพิจารณาในที่ประชุมเพราะ เรื่องนี้ ได้ผ่านที่ประชุมของที่ปรึกษาฝ่ายกฎหมายของประธานสภาผู้แทนราษฎรแล้ว ซึ่งเสียงข้างมากก็เห็นว่าบรรจุได้

สรุปข่าว
นอกจากนั้นตนยังได้ชี้แจงในที่ประชุมวิป 3 ฝ่าย ให้ทราบถึงการบรรจุญัตตินี้ ด้วยเหตุผลดังกล่าว ขณะที่การจัดทำประชามติก่อนจึงจะสามารถบรรจุเข้าระเบียบวาระการประชุมของรัฐสภาได้นั้น ตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญชี้ว่า ถ้าสภาต้องการที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับให้ไปถามประชาชน จึงต้องตีความว่า คำว่า “สภามีความต้องการจะแก้ สภาหมายถึงอะไร” ก็หมายถึงที่ประชุมของรัฐสภา แต่ถ้าเสนอกฎหมายรัฐธรรมนูญมาอย่างเดียว ที่เป็นความต้องการของพรรคการเมือง หรือประชาชนยังไม่ทราบ สภาต้องการจะแก้หรือไม่
“ผมก็ตีความว่า การที่จะ ให้รัฐสภาต้องการจะแก้ ก็ต้องถามมติ ดังนั้นต้องมีการประชุม ผมจึงต้องประชุม ถ้าสภาในวาระแรกเห็นว่า ตามหลักการต้องเสียงข้างมาก และวุฒิสภาต้องมีคนเห็นชอบมากกว่า 1 ใน 3 และคนที่ไม่เห็นชอบต้อง เกินกึ่งหนึ่งของสว.ก็ถือว่า ตกไป”
นายวันมูหะมัดนอร์ ยังกล่าวว่า หากแก้ไขในวาระที่ผ่านสภาแล้ว แสดงว่าต้องการแล้วตนก็จะหยุดกระบวนการของสภา โดยจะนำความต้องการของสภาไปให้คณะกรรมการการเลือกตั้งหรือกกต. เพื่อจัดทำประชามติต่อประชาชนต่อไป เพราะหากจัดทำประชามติก่อน หากประชาชนเห็นด้วย แต่รัฐสภาไม่เห็นด้วย จะทำให้เสียงบประมาณในการจัดทำประชามติถึง 3000 ล้านบาท
นายวันมูหะมัดนอร์ ยังกล่าวถึงคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญว่า ถ้ารัฐสภา ต้องการจะร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ทั้งฉบับให้ไปถามประชาชน ซึ่งจะทำตอนไหนนั้น ในเรื่องนี้ นายชูศักดิ์ ศิรินิล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐ ให้ประธานรัฐสภาบรรจุและ สภาบอกให้ส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญ และศาลบอกว่าเรื่องยังไม่จบ ให้อำนาจการบรรจุญัตติหรือวาระการประชุมเป็นอำนาจหน้าที่ของประธานสภา เพราะเรื่องที่ประธานจะบรรจุ จะไปถามศาลทำไม และก่อนหน้านี้เคยถามศาลรัฐธรรมนูญว่า การทำประชามติ ควรทำตอนไหน และควรทำสองหรือสามครั้ง นายวันมูหะมัดนอร์ กล่าวว่า ในเรื่องนี้ศาลรัฐธรรมนูญไม่ตอบให้ไปอ่านเอง ซึ่งนี่คือที่มาที่ไป
ส่วนจะมีคนไปยื่นเรื่องนี้ต่อศาลรัฐธรรมนูญตีความว่า การบรรจุนี้ถูกต้องหรือไม่ ก็เป็นเรื่องความเห็นของแต่ละฝ่ายไป และหากมีสมาชิกขอให้ถอน และมีเสียงสนับสนุนมากกว่ากึ่งหนึ่ง ก็สามารถถอนได้เช่นเดียวกัน