“แบ่งจ่ายเงินเดือน ขรก.2 งวด” “เพิ่มสภาพคล่อง” หรือ “เพิ่มปัญหา”?

“แบ่งจ่ายเงินเดือน ขรก.2 งวด”  “เพิ่มสภาพคล่อง” หรือ “เพิ่มปัญหา”?

สรุปข่าว

เริ่มต้นการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ครั้งแรก ไปเมื่อวันที่ 13 กันยายนที่ผ่านมา กับรัฐบาล “เศรษฐา 1” ซึ่งหลังการประชุม นายกฯก็ออกมาแถลงมติ ครม.ด้วยตนเอง โดย ครม.ได้ออกมาตรการช่วยเหลือประชาชนหลายรายการ ทั้งโครงการลดค่าไฟฟ้า ลดราคาน้ำมันดีเซล ซึ่งโดนใจประชาชน ไม่น้อย แต่หนึ่งในนโยบายที่รัฐบาลประกาศออกมา คือการ “แบ่งจ่ายเงินเดือนข้าราชการ ออกเป็น 2 งวด” ซึ่งนโยบายนี้ กลับสร้างเสียงวิพากษ์วิจารณ์ อย่างกว้างขวาง 


“แบ่งจ่ายเงินเดือน ขรก.2 งวด”  “เพิ่มสภาพคล่อง” หรือ “เพิ่มปัญหา”?


“แบ่งจ่ายเงินเดือน ขรก.2 งวด”  “เพิ่มสภาพคล่อง” หรือ “เพิ่มปัญหา”?


อะไรที่ทำให้นโยบายนี้ ถูกมองใน 2 ด้าน?

 

ในมุมของรัฐบาล ที่ออกนโยบายนี้ออกมา เพื่อต้องการเพิ่มสภาพคล่องทางการเงินให้กับข้าราชการบางส่วน ที่เกิดภาวะทางการเงินที่เรียกว่า “ชักหน้าไม่ถึงหลัง” เงินเข้าสิ้นเดือน กลางเดือนก็หมดแล้ว ทำให้ต้องไปกู้หนี้ยืมสิน ทั้งในระบบและนอกระบบ ซึ่งหากได้เงินมาเร็ว ก็จะแบ่งเบาภาระในส่วนนี้ได้ และในส่วนของผู้ที่มีหนี้สิน ก็สามารถนำเงินไปจ่ายหนี้สิน ได้เร็วขึ้น 


โดยในมุมของผู้ที่เห็นด้วย แม้จะมีไม่มาก แต่ก็มองว่า นโยบายดังกล่าว จะทำให้เงินหมุนเวียนในระบบมากขึ้น ซึ่งไม่เพียงแต่ข้าราชการเท่านั้น แต่ยังส่งผลต่ออาชีพอื่นๆ อีกด้วย เพราะจะมีการจับจ่ายใช้สอย ซึ่งจะส่งผลดีต่อทั้งพ่อค้า แม่ค้า และอาชีพเกษตรกร และที่สำคัญ การจ่ายเงิน 2 งวด ก็ได้เงินจำนวนเท่าเดิม อยู่ที่วินัยของข้าราชการเองว่า จะบริหารจัดงานเงินอย่างไร


“แบ่งจ่ายเงินเดือน ขรก.2 งวด”  “เพิ่มสภาพคล่อง” หรือ “เพิ่มปัญหา”?


“แบ่งจ่ายเงินเดือน ขรก.2 งวด”  “เพิ่มสภาพคล่อง” หรือ “เพิ่มปัญหา”?


ในขณะที่อีกฝากฝั่ง ที่ไม่เห็นด้วย โดยพวกเขามองว่า ค่าใช้จ่ายข้องข้าราชการส่วนใหญ่จะถูกกำหนดให้ชำระช่วงปลายเดือน ทั้งค่าบ้าน ค่ารถ ซึ่งหากเงินเดือนถูกแบ่งจ่ายเป็น 2 งวด เชื่อว่า จะต้องเกิดปัญหาแน่นอน 


นอกจากนี้ ยังมีข้อกังวลที่อาจเกิดขึ้น หากมีการแบ่งจ่ายเงินเดือน 2 งวด ก็จะเกิดความซับซ้อนในการบริหารที่เพิ่มขึ้น เพิ่มภาระงานด้านธุรการ โดยเฉพาะองค์กรที่มีพนักงานจำนวนมาก จะต้องปรับปรุงระบบบัญชีการจ่ายเงินเดือน บางองค์กรอาจจำเป็นต้องลงทุนอัพเดตซอฟต์แวร์และระบบบัญชี เพื่อให้รองรับการจ่ายเงินเดือน 2 รอบต่อเดือน


“แบ่งจ่ายเงินเดือน ขรก.2 งวด”  “เพิ่มสภาพคล่อง” หรือ “เพิ่มปัญหา”?


“แบ่งจ่ายเงินเดือน ขรก.2 งวด”  “เพิ่มสภาพคล่อง” หรือ “เพิ่มปัญหา”?


เมื่อเสียงคัดค้าน เริ่มหนาหูมากขึ้น ล่าสุดนายกรัฐมนตรี ก็ได้ออกมาบอกว่า นโยบายดังกล่าว จะทำเป็นทางเลือก คือ ข้าราชการสามารถเลือกแบ่งจ่าย 2 ครั้ง หรือ เลือกให้จ่ายเดือนละครั้งก็ได้ ซึ่งทั้งหมดนี้ กรมบัญชีกลาง จะรับไปพิจารณา และทำเป็นออปชันให้เลือกว่า จะเอาแบบไหน


แนวคิดการแบ่งจ่ายเงินเดือนข้าราชการ  ออกเป็น 2 งวด แม้ขณะนี้ยังไม่มีความชัดเจน และยังมีเวลาที่จะคิด เพราะนโยบายดังกล่าว รัฐบาลวางไว้ว่าจะเริ่มดำเนินการได้วันที่ 1 มกราคม 2567 และที่สำคัญ อยู่ที่ตัวของข้าราชการแต่ละคน ว่าจะเลือกทางไหน ที่จะเหมาะสมกับตัวเองมากที่สุด


“แบ่งจ่ายเงินเดือน ขรก.2 งวด”  “เพิ่มสภาพคล่อง” หรือ “เพิ่มปัญหา”?


“แบ่งจ่ายเงินเดือน ขรก.2 งวด”  “เพิ่มสภาพคล่อง” หรือ “เพิ่มปัญหา”?


สำหรับ “เงินเดือนข้าราชการ” คือ เงินเดือนพื้นฐาน (Base Salary) คือ ค่าตอบแทนที่จะจ่ายให้กับข้าราชการพลเรือนสามัญทุกคนตามประเภทตำแหน่งและระดับตำแหน่ง โดยแบ่งบัญชีเงินเดือนออกเป็น 4 บัญชี ตามประเภทตำแหน่ง ได้แก่ 1.ประเภทบริหาร 2.ประเภทอำนวยการ 3. ประเภทวิชาการ และ 4. ประเภททั่วไป ซึ่งแต่ละประเภทได้มีการกำหนดเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูง ของแต่ละระดับไว้ ดังนี้


• เงินเดือนข้าราชการ ตำแหน่งประเภทบริหาร

ระดับสูง 29,980 - 76,800 บาท

ระดับต้น 24,400 - 74,320 บาท


เงินเดือนข้าราชการ ตำแหน่งประเภทอำนวยการ

ระดับสูง 24,400 - 70,360 บาท

ระดับต้น 19,860 - 59,500 บาท


• เงินเดือนข้าราชการ ตำแหน่งประเภทวิชาการ

ระดับปฏิบัติการ 7,140 – 26,900 บาท

ระดับชำนาญการ 13,160 – 43,600 บาท

ระดับชำนาญการพิเศษ 19,860 – 58,390 บาท

ระดับเชี่ยวชาญ 24,400 – 69,040 บาท

ระดับทรงคุณวุฒิ 29,980 – 76,800 บาท


• เงินเดือนข้าราชการ ตำแหน่งประเภททั่วไป

ระดับปฏิบัติงาน 4,870 – 21,010 บาท

ระดับชำนาญงาน 10,190 – 38,750 บาท

ระดับอาวุโส 15,410 – 54,820 บาท

ระดับทักษะพิเศษ 48,220 – 69,040 บาท


ที่มา :  พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2558

มนตรี ขัดเรือง : เรียบเรียง

ที่มาข้อมูล : -

ที่มารูปภาพ :

แท็กบทความ