อิตาลีผวา! พบ "ยุงลายสายพันธุ์ใหม่" ระบาดทางภาคเหนือ
มหาวิทยาลัยมิลานในอิตาลี เผยผลศึกษาพบ "ยุงลายสายพันธุ์ใหม่" ที่ไม่กลัวความหนาวเย็นกำลังระบาดทางภาคเหนือ กังวลสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงจะยิ่งส่งผลให้เกิดแพร่พันธุ์มากขึ้น อาจเป็นพาหะของไวรัสก่อโรค
วันนี้( 21 ต.ค.64) ฤดูยุงในอิตาลีมักใช้เวลาตั้งแต่ฤดูใบไม้ผลิจนถึงปลายฤดูใบไม้ร่วง ซึ่งเป็นช่วงอุณหภูมิที่ไม่หนาวมากนัก แต่จากผลการศึกษาล่าสุดโดยมหาวิทยาลัยมิลานซึ่งตีพิมพ์ใน Parasites & Vectors ไม่นานนี้ เผยให้เห็น ยุงลายสายพันธุ์ใหม่ หรือ Alien mosquitos สายพันธุ์ต่างดาว ซึ่ง "ทนต่ออุณหภูมิต่ำและชอบพื้นที่ภูเขา" โดยจะอยู่ในที่ราบและเชิงเขาของภูมิภาคลอมบาร์ดีทางตอนเหนือของอิตาลี
ช่วงฤดูร้อนปี 2020 นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยมิลานได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับยุงลายใหม่ในเมืองลอมบาร์เดีย โดยมุ่งเน้นเฉพาะในจังหวัดแบร์กาโมและเบรสชา จากลูกน้ำยุงประมาณ 6,000 ตัวที่เก็บมาได้ ค้นพบว่าประมาณ 50 ตัวเป็นของ ยุงลายสายพันธุ์ใหม่ ( Aedes koreicus ) ซึ่งลูกน้ำเหล่านี้ สามารถต้านทานน้ำได้แม้อุณหภูมิต่ำกว่า 5° C สิ่งนี้ยืนยันถึงการแพร่กระจายของสายพันธุ์ในภาคเหนือของอิตาลี ทำให้เกิดความกังวลเกี่ยวกับ การเป็นพาหะของโรคในแถบพื้นที่เขาสูง
ยุงลายสายพันธุ์ใหม่ที่พบ ดูเหมือนมีถิ่นกำเนิดในเอเชียตะวันออก อย่างประเทศเกาหลี จนถูกตรวจพบครั้งแรกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอิตาลีในปี 2011 และแพร่กระจายไปทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศ ยุงชนิดนี้ อาจหลบซ่อมมาโดยบังเอิญกับมนุษย์ หรือสัตว์และพืชต่างถิ่น ที่มีมาขนส่งสินค้า จะแพร่พันธุ์เพิ่มขึ้นเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศหากเราไม่ดำเนินการด้วยแผนประสานความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน (เทศบาลและครอบครัว) ในไม่ช้ายุงเกาหลีก็จะแพร่กระจายไปทั่วคาบสมุทร เหมือนเช่นยุงลายเสือ (Aedes albopictus) ที่เดิมมีพื้นเพมาจากเอเชียและปัจจุบันได้แพร่ไปทั่วยุโรป ดังนั้นจึงต้องป้องกันการแพร่กระจายของพาหะนำโรคที่เกิดขึ้นใหม่"
ส่วนความกังวลว่า ยุงจะเป็นพาหะแพร่เชื้อโควิด-19 นั้น มีผลการศึกษาของสถาบันด้านสาธารณสุขแห่งชาติ ไอเอสเอส ของอิตาลียืนยันข้อมูลขององค์การอนามัยโลกก่อนหน้านี้ ที่ระบุว่า ไม่มีหลักฐานว่าไวรัสสามารถแพร่เชื้อสู่มนุษย์ผ่านยุง
ไอเอสเอสทำการศึกษาร่วมกับองค์กรวิจัยความปลอดภัยด้านอาหารและสุขภาพสัตว์ พบว่ายุงลาย หรือ ยุงทั่วไปไม่สามารถแพร่เชื้อไวรัส SARS-CoV-2 สู่มนุษย์ได้ เพราะไวรัสนี้จะไม่สามารถเพิ่มจำนวนได้เมื่อเข้าไปอยู่ในตัวยุงที่ดูดเลือดผู้ป่วยโควิด-19 ยุงจึงไม่สามารถเป็นพาหะส่งต่อเชื้อไวรัสนี้เมื่อกัดมนุษย์