TNN เริ่มแล้วลงมติถอดถอน "ยุนซ็อก-ย็อล" รอบที่ 2

TNN

World

เริ่มแล้วลงมติถอดถอน "ยุนซ็อก-ย็อล" รอบที่ 2

เริ่มแล้วลงมติถอดถอน ยุนซ็อก-ย็อล รอบที่ 2

เริ่มแล้ว การลงมติถอดถอน “ยุนซ็อก-ย็อล” เป็นครั้งที่สอง ชี้ชะตาว่าเขาจะ “รอดหรือร่วง” จากตำแหน่งประธานาธิบดีของเกาหลีใต้ มีอะไรที่ควรรู้ก่อนการลงมติบ้าง เรารวบรวมมาแล้วในโพสต์นี้

หลังจากมหากาพย์การเมืองเกาหลีอันยาวนานตลอด 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา มีเรื่องราวต่าง  เกิดขึ้นกับหลาย  บุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการประกาศกฎอัยการศึกอย่างกะทันหันของประธานาธิบดียุนซ็อก-ย็อล จนเกิดเป็นความโกลาหลตามมา และวันนี้ 14 ธันวาคม 2567 ก็ถึงคิวของ “ยุนซ็อก-ย็อล” ที่ต้องเผชิญกับการลงมติถอดถอนจากตำแหน่งประธานาธิบดีอีกครั้งหลังการลงมติที่ล้มเหลวเมื่อวันเสาร์ที่แล้ว ท่ามกลางประชาชนหลายพันคนที่มารอรับชมการลงมติที่จะชี้ชะตาเกาหลีใต้กันตั้งแต่ช่วงเช้าตรู่วันนี้ โดยคาดว่าการลงมติจะเริ่มขึ้นในเวลา 16.00 ตามเวลาเกาหลีใต้ซึ่งเร็วกว่าประเทศไทย 2 ชั่วโมง


และในตอนนี้ 14.00 ตามเวลาประเทศไทย สมาชิกพรรคฝ่ายค้านทั้ง 6 พรรคของเกาหลีใต้ได้ถยอยเดินทางเข้าสู่รัฐสภาแล้ว โดยสื่อเกาหลีใต้รายงานว่าประธานาธิบดียุนจะรอฟังผลการลงมติที่บ้านพักของเขาในย่านฮันนัม-ดง


จะเกิดฉากอะไรต่อหาก “ยุนซ็อก-ย็อล” ถูกถอดถอน ? อัลจาซีรารายงานว่าในวันนี้รัฐสมามีมติเป็นเอกฉันท์จนสามารถถอดถอนประธานาธิบดียุนได้ กระบวนการทางกฎหมายต่าง  จะเกิดขึ้นตามมาทันที โดยเริ่มจากการส่งมอบมติถอดถอนจากรัฐสภาไปถึงทำเนียบประธานาธิบดีและตามด้วยศาลรัฐธรรมนูญตามลำดับ


เมื่อถึงขั้นตอนนี้ “อำนาจสั่งการ” ของยุนในฐานะประธานาธิบดีจะ “ถูกยุติลง” แต่ชื่อของเขาจะยังคงอยู่ในตำแหน่ง และยังมีสิทธิพิเศษบางอย่างที่ยังสามารถอ้างสิทธิ์ได้ อาทิ บ้านพักประธานาธิบดี รวมไปถึงการคุ้มกันด้านความปลอดภัย


ในช่วงเวลานี้ ฮัน ด็อก-ซู นายกรัฐมนตรีของเกาหลีใต้ จะขึ้นมาทำหน้าที่รักษาการแทนประธานาธิบดี ตามที่มาตรา 71 ในรัฐธรรมนูญได้กำหนดไว้ อย่างไรก็ตาม ฮัน ด็อก-ซู เป็นหนึ่งในบุคคลที่พรรคฝ่ายค้านเกาหลีใต้กำลังพิจารณายื่นถอดถอนให้เขาออกจากตำแหน่งอีกคนเนื่องจากคาดว่าเขาอาจมีความเชื่อมโยงที่เป็นไปได้กับการประกาศกฎอัยการศึกในคืนวันที่ 3 ธันวาคม ด้วย ซึ่งหากฝ่ายค้านตัดสินใจยื่นถอดถอน ฮัน ด็อก-ซู รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจของเกาหลีใต้จะขึ้นมาดำรงตำแหน่งรักษาการแทนประธานาธิบดี


แต่ไม่ว่าใครก็ตามที่จะมาดำรงตำแหน่งรักษาการแทนประธานาธิบดีเขาจะมีสิทธิออกคำสั่งในด้านต่าง  อาทิ คําสั่งถึงกองทัพการออกพระราชกฤษฎีกา รวมไปถึงการจัดการกิจการต่าง  ของรัฐ ซึ่งรัฐธรรมนูญเกาหลีใต้ไม่ได้จํากัดขอบเขตอํานาจของรักษาการประธานาธิบดีอย่างชัดเจน เพียงแต่อำนาจต่าง  จะต้องถูกใช้ให้อยู่ในกรอบเพื่อการรักษาเสถียรภาพของประเทศต่อไปเท่านั้น โดยการริเริ่มเพื่อเปลี่ยนแปลงนโยบายสำคัญต่าง  จะยังไม่สามารถทำได้ 


กระบวนการของศาลรัฐธรรมนูญจะเป็นอย่างไรต่อไป ? หลังมีการส่งมอบอำนาจให้รักษาการแล้ว กระบวนการต่อไปคือมติถอดถอนจากรัฐสภาจะถูกส่งเข้าสู่ศาลรัฐธรรมนูญที่จะเป็นผู้อ่านคำตัดสิน หากศาลเห็นด้วยกับมติและตัดสินให้ยุนหลุดจากตำแหน่งประธานาธิบดีเขาจะต้องยุติหน้าที่ทุกอย่างทันทีและยุนจะสูญเสียสิทธิพิเศษทั้งหมด อาทิ เงินบํานาญและผู้ช่วยส่วนตัว แต่เขาจะยังคงได้รับการคุ้มครองความปลอดภัยต่อไป


ซึ่งการตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญต้องการเสียงอย่างน้อย 6 คน จาก 9 คน เพื่อให้การถอดถอนสมบูรณ์ และศาลรัฐธรรมนูญต้องอ่านคำตัดสินภายใน 180 วันหลังได้รับคำร้อง ตัวอย่างจากกรณีของ พัค กึน-ฮเย อดีตประธานาธิบดีเกาหลีใต้ เมื่อปี 2016 ในตอนนั้นศาลรัฐธรรมนูญใช้เวลาตัดสิน 91 วัน 


เมื่อถึงจุดนี้ เกาหลีใต้จะต้องจัดให้มีการเลือกตั้งเพื่อหาประธานาธิบดีคนใหม่ภายใน 60 วัน แต่หากศาลตัดสินให้ยุนรอดจากมติถอดถอนเขาจะดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีต่อเช่นเดิม


แล้วถ้ายุนต้องการเอาตัวรอดเขาจะอาจจะทำอะไรบ้าง ? จากคำประกาศของยุนเมื่อวันพฤหัสบดีว่าเขาจะสู้จนถึงที่สุดก็พอจะบ่งชี้ได้ว่าเขาอาจหาวิธีเพื่อให้ตัวเองรอดจากการถูกถอดถอน โดยยุนอาจโต้แย้งว่าการประกาศกฎอัยการศึกของเขาอยู่ในอํานาจตามรัฐธรรมนูญและไม่ได้ถือเป็นการกระทําที่ผิดกฎหมายหรือเป็นการก่อจลาจล ซึ่งยุนอาจใช้เหตุผลว่ากฎอัยการศึกเป็นการตัดสินใจทางการเมืองที่อยู่ภายใต้อํานาจของประธานาธิบดีที่ควรเป็นอิสระจากการตรวจสอบโดยฝั่งตุลาการ


แล้วการสอบสวนที่ยังไม่จบ จะเป็นอย่างไรต่อ ? ไม่ว่ายุนซ็อก-ย็อลจะถูกถอดถอนหรือไม่ก็ตาม เขายังต้องเผชิญกับการสอบสวนทางอาญาต่อไป หากยังเป็นประธานาธิบดีต่อแม้จะได้รับการคุ้มครองทางกฎหมายแต่การคุ้มครองนี้ไม่ครอบคลุมข้อหา “กบฏ” นี่จึงหมายถึงยุนก็ยังมีสิทธิ์ถูกควบคุมตัวได้ ซึ่งจะเป็นครั้งแรกที่ประธานาธิบดีของเกาหลีใต้ถูกดำเนินคดีในข้อหากบฏ



ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง