รู้จัก "แก๊สน้ำตา" สารเคมีปราบจลาจล และวิธีการป้องกันเบื้องต้น
ทำความรู้จักกับสารเคมีชนิดนี้ให้มากขึ้น เพื่อเตรียมตัว ป้องกัน และปฐมพยาบาลตนเองจากแก๊สน้ำตา
เชื่อว่าในช่วงนี้สิ่งที่หลายคนกำลังพูดถึงกันอยู่คงหนีไม่พ้นประเด็นของแก๊สน้ำตา (Tear Gas) ซึ่งในบทความนี้จะพาทุกคนไปรู้จักกับแก๊สชนิดนี้ พร้อมวิธีการป้องกันและปฐมพยาบาลเบื้องต้นหากได้รับแก๊สน้ำตา
ที่มาของภาพ https://www.self.com/story/what-to-do-if-tear-gassed
แก๊สน้ำตา (Tear gas, Lacrimation gas) แท้จริงแล้วคือชื่อเรียกรวม ๆ สำหรับสารเคมีที่ใช้ในการปราบจลาจล
แก๊สน้ำตาถูกใช้ครั้งแรกในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 โดยใช้สารที่มีชื่อว่า
CN gas แต่ในภายหลังมีการคิดค้นสารอีกชนิดหนึ่งที่มีความรุนแรงกว่า
CN gas แต่เป็นพิษน้อยกว่า มีชื่อว่า CS gas ถูกใช้ครั้งแรกในสงครามเวียดนามโดยกองทัพสหรัฐฯ ซึ่งในเวลาต่อมา CS
gas ที่เป็นพิษน้อยกว่านี้ จึงได้รับความนิยมเพื่อใช้ปราบเหตุจลาจลภายในประเทศ
แก๊สน้ำตาจัดเป็นยุทธภัณฑ์ชนิด 1 ภายใต้การควบคุมตามพระราชบัญญัติควบคุมยุทธภัณฑ์ พ.ศ. 2530 มีลักษณะเป็นผง แต่เหตุที่หลายคนเรียกว่าแก๊ส เป็นเพราะเมื่อมันอยู่ภายใต้แรงดันที่เหมาะสม จะสามารถฟุ้งกระจายในอากาศได้เหมือนแก๊ส นอกจากนี้อาจถูกนำไปผสมให้กลายเป็นของเหลวได้อีกด้วย
ที่มาของภาพ https://www.pri.org/stories/2019-07-31/tear-gas-has-been-banned-warfare-why-do-police-still-use-it
กลไกการออกฤทธิ์ต่อร่างกายของแก๊สน้ำตายังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด
แต่สารเคมีชนิดนี้มุ่งเน้นให้เกิดความระคายเคืองต่อเยื่อบุชั้นนอก
ไม่ว่าจะเป็นดวงตาหรือผิวหนัง ผู้ที่ได้รับแก๊สน้ำตาเข้าไปจะมีอาการในแต่ละระบบอวัยวะ
ดังนี้
ดวงตา –
เป็นอวัยวะเป้าหมายของแก๊สชนิดนี้ เมื่อแก๊สกระทบดวงตาจะก่อให้เกิดอาการระคายเคืองอย่างรวดเร็วและรุนแรงกว่าอวัยวะอื่น
อาการเหล่านั้น ได้แก่ แสบตา, นํ้าตาไหล, เยื่อบุตาบวมแดง, หนังตาบวม หรือมองไม่เห็นชั่วคราว
จึงเป็นที่มาของชื่อ “แก๊สน้ำตา”
ระบบทางเดินหายใจ - ร่างกายอาจได้รับแก๊สน้ำตาจากการสูดดม
จึงก่อให้เกิดอาการไอ, มีเสมหะ, น้ำมูกไหล, จาม, แน่นหน้าอก หรือหายใจหอบลําบาก
ผิวหนัง – ระบบอวัยวะที่จะได้รับออันตรายอย่างรวดเร็วถัดจากดวงตา
เนื่องจากเป็นส่วนนอกสุดของร่างกายและกระทบกับสารเคมีได้โดยตรง
ผู้ที่ได้รับแก๊สน้ำตาอาจมีอาการผิวหนังแดง, แสบร้อน หรือคัน
แต่ในกรณีที่มีอาการแพ้หรือร่างกายได้รับสารเคมีมาก อาจเกิดผิวหนังพุพองได้
ระบบทางเดินอาหาร – พบในบางราย ขึ้นอยู่กับการตอบสนองของร่างกายและปริมาณที่ได้รับ อาจมีอาการคลื่นไส้อาเจียน ท้องเสียร่วมด้วยได้
ผิวหนังพุพองจากการได้รับแก๊สน้ำตาล ชนิด CS gas
ที่มาของภาพ Democrati.net
การป้องกันตนเองจากแก๊สน้ำตา
เมื่ออยู่ในพื้นที่เสี่ยงต่อการปราบจลาจลด้วยแก๊สน้ำตา
วิธีการป้องกันที่ดีที่สุดคือ เลี่ยงออกมาจากพื้นที่ดังกล่าว หากเลี่ยงไม่ได้
ควรปกปิดร่างกายให้มิดชิดโดยเฉพาะบริเวณเยื่อบุต่าง ๆ ด้วยการแต่งกายเสื้อแขนยาวและกางเกงขายาว
(เพื่อปกปิดผิวหนังให้มากที่สุด โดยเฉพาะบริเวณข้อพับ แต่ต้องสวมใส่สบายไม่รัดแน่นจนเกินไป)
รวมถึงการสวมหมวก, สวมหน้ากากอนามัย และใส่แว่นตาป้องกัน หากเป็นแว่นตาแบบครอบติด
เช่น Safety
goggles หรือแว่นตาสำหรับว่ายน้ำได้ยิ่งดี
นอกจากนี้ เนื่องจากแก๊สน้ำตาเป็นสารเคมีที่ละลายในไขมันได้ดี ก่อนการเข้าชุมนุมหรือเดินทางไปยังพื้นที่เสี่ยง ไม่ควรทาโลชัน, ครีม หรือวาสลีน ซึ่งมีส่วนผสมของน้ำมัน เพราะอาจทำให้แก๊สน้ำตาออกฤทธิ์ได้เร็วและรุนแรงขึ้นด้วย
ที่มาของภาพ https://www.inkstonenews.com/politics/first-aid-volunteers-help-hong-kong-protesters-injured-police-tear-gas/article/3020486
การปฐมพยาบาลเบื้องต้นหากได้รับแก๊สน้ำตา
หากผู้ชุมนุมได้รับผลกระทบจากแก๊สน้ำตา
กรณีที่เกิดเหตุการณ์สลายการชุมนุม รวมไปถึงผู้ที่สัญจรไปมาในละแวกใกล้เคียง การปฐมพยาบาลเบื้องต้นแนะนำให้ปฏิบัติดังนี้
- ออกจากพื้นที่บริเวณนั้นให้เร็วที่สุด
เพื่อลดปริมาณสารที่สัมผัสกับร่างกาย อาจวิ่งไปยังทิศทางตรงข้ามกับทิศทางของแก๊ส
หรือหาพื้นที่ในจุดเหนือลม อากาศถ่ายเทสะดวก ซึ่งลมที่พัดผ่านร่างกายจะช่วยลดการปนเปื้อนของสารเคมีบนเสื้อผ้าได้
- มีสติ กลั้นหายใจหรือปิดจมูกให้แน่นหนา สูดลมหายใจช้า
ๆ ขณะที่กำลังออกจากพื้นที่ที่มีแก๊สน้ำตา ความตื่นเต้นจะทำให้เราหายใจเร็วขึ้น นั่นหมายถึงสารเคมีจะเข้าไปในทางเดินหายใจของเราได้มากขึ้น
- เมื่อมีอาการแสบตา ให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาด
หรือน้ำเกลือแบบไหลผ่าน (เช่น การเปิดก๊อกน้ำให้ไหลผ่านดวงตาอย่างต่อเนื่อง)
อย่างน้อย 15 นาที เพื่อลดการปนเปื้อนและชะล้างสารเคมีออกไป
- หากสวมคอนแทคเลนส์ให้รีบถอดออกทันที
เพราะจะยิ่งเพิ่มความระคายเคืองต่อดวงตา ห้ามน้ำกลับมาใช้ซ้ำ
- หากมีอาการไอ มีน้ำลายหรือน้ำมูกมาก
ให้สั่งน้ำมูกและบ้วนน้ำลายทิ้ง
เพราะอาจมีสารเคมีปนเปื้อนในสารคัดหลั่งเหล่านี้ได้
- ถอดเสื้อผ้าที่ปนเปื้อนสารเคมีออก
เก็บใส่ในถุงมิดชิด นำผ้าไปชะล้างด้วยน้ำเย็น ห้ามใช้น้ำร้อนเพราะสารเคมีอาจระเหยและเป็นอันตรายได้
- ชําระล้างร่างกายด้วยนํ้าเย็นและสบู่ (แก๊สน้ำตาจะมีฤทธิ์อ่อนลงเมื่อเจอสารเคมีที่เป็นด่าง) เน้นบริเวณข้อพับเพราะเป็นจุดที่มีความชื้นและไขมันมาก สารเคมีจะยิ่งละลายในตำแหน่งได้มากกว่าบริเวณอื่น
ที่มาของภาพ
เนื่องจากแก๊สน้ำตาถูกนำมาใช้ได้ไม่นานนัก ประชาชนบางคนอาจจะไม่ทราบถึงคุณสมบัติและวิธีป้องกันสารเคมีชนิดนี้
หวังว่าในบทความนี้จะช่วยให้ผู้อ่านได้รับประโยชน์และความรู้ในการป้องกันตนเองมากขึ้น
ขอขอบคุณข้อมูลจาก ภาควิชาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
เกาะติดข่าวที่นี่
website: www.TNNThailand.com
facebook : TNNThailand
facebook live : TNN Live
twitter : @TNNThailand
Line : @TNNONLINE
Youtube Official : TNNThailand
Instagram : @tnn_online
TIKTOK : @tnnonline
ข่าวแนะนำ
-
จีนเร่งพัฒนาจรวดขนส่งไปดวงจันทร์
- 20/6/67