ชัดเจน ! ความเห็นจากคนวงในปัญญาประดิษฐ์ (AI) จะมาแทนที่มนุษย์หรือไม่ ?
คนไทยจาก MIT Media Lab ตอบคำถาม “AI จะมาแทนที่มนุษย์หรือไม่” พร้อมกับเล่าทิศทางการพัฒนา AI ในอนาคต
ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI) นั้นได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ยุคปี 1950 จากการทดสอบของอลัน ทัวริง (Alan Turing) นักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษ จนมาถึงยุคของแชตจีพีที (ChatGPT) ระบบแชทตอบคำถามที่ชาญฉลาดอย่างน่าประหลาดใจ จนปฏิเสธไม่ได้ว่า ปัญญาประดิษฐ์ (AI) นั้นมีความสามารถใกล้เคียงกับมนุษย์เข้าไปเรื่อย ๆ จนหลายฝ่ายวิตกว่าสักวันหนึ่ง มนุษยชาติจะถูกแทนที่ด้วย AI กันหรือไม่
เมื่อวันที่ 19 - 20 ธันวาคมที่ผ่านมา TNN Tech ได้ร่วมงาน งาน MIT Media Lab Southeast Asia Forum 2022 งานสัมมนาด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีระดับภูมิภาค ซึ่งจัดขึ้นที่อาคารทรู ดิจิทัล พาร์ค เวสต์ (True Digital Park West) ภายใต้ความร่วมมือของหลายหน่วยงาน เช่น KBTG หรือบริษัท กสิกร บิซิเนส-เทคโนโลยี กรุ๊ป บริษัทเทคโนโลยีในเครือกสิกรไทย ร่วมกับพันธมิตรจากหลากหลายองค์กร ธนาคารกรุงเทพ, ทรู คอร์ปอเรชั่น, MIT Alumni Association และ MQDC
MIT Media Lab คือ หน่วยงานหนึ่งของ MIT หรือ สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (Massachusetts Institute of Technology) มหาวิทยาลัยชั้นนำของสหรัฐอเมริกา ก่อตั้งเมื่อปี 1985 เน้นการวิจัยในด้านวิทยาศาสตร์ วิศวกรรม การออกแบบ และศิลปะ โดยนับว่าเป็นศูนย์วิจัยที่มีอิทธิพลต่อทิศทางของเทคโนโลยีในแต่ละยุคสมัย เช่น การคิดค้นระบบหน้าจอสัมผัส ที่ตอนนี้ก็เป็นส่วนหนึ่งของอุปกรณ์ทั่วโลกด้วยเช่นกัน
ซึ่งในโอกาสนี้ TNN Tech ได้พูดคุยกับคุณพัทน์ ภัทรนุธาพร นักศึกษาปริญญาเอกสาขา Fluid Interfaces ที่เป็นการศึกษาและออกแบบปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับ AI (Human-AI Interaction), Bio-Digital (การผสมผสานระหว่างชีววิทยาเเละดิจิทัล) และการศึกษาเฉพาะบุคคล (Personalized Education) จาก MIT Media Lab ที่มาขึ้นพูดในงานอีกด้วย
สิ่งที่คุณพัทน์กำลังศึกษาวิจัยอยู่นั้นเรียกว่าไซบอร์ก เฮลธ์ (Cyborg Health) หนึ่งในหัวข้อเทคโนโลยีเพื่อการแพทย์แห่งอนาคต คุณพัทน์ให้นิยามว่าไซบอร์ก เฮลธ์ (Cyborg Health) มาจากคำ 2 คำ คือ ไซบอร์ก (Cyborg) ที่หมายถึงนวัตกรรมด้านหุ่นยนต์ที่มีรูปลักษณ์หรือพฤติกรรมคล้ายมนุษย์ กับสุขภาพ (Health) ดังนั้น ไซบอร์ก เฮลธ์ (Cyborg Health) จึงเป็นการนำเทคโนโลยีมาผสานเข้ากับมนุษย์เพื่อเปลี่ยนมุมมองการรักษาสุขภาพใหม่
อย่างไรก็ตาม นอกจากการพัฒนาเทคโนโลยีแบบใหม่ที่ต้องทำแล้ว หนึ่งในปัญหาสำคัญที่เติบโตเป็นเงาตามตัวก็คือความเป็นส่วนตัว คุณพัทน์ได้เล่าว่าการแก้ปัญหานี้อยู่ด้วยกัน 2 รูปแบบ รูปแบบแรกก็คือ การพัฒนาอุปกรณ์ที่เกิดขึ้นจากการพัฒนาทั้งหมดให้สามารถประมวลผล (Process) ข้อมูลและรายงานผลแก่ผู้ใช้งานได้ด้วยตัวเอง กับอีกรูปแบบที่ทาง MIT Media Lab กำลังให้ความสนใจก็คือการเข้ารหัส (Encrypted) ข้อมูลบางส่วน โดยเฉพาะการลบข้อมูลยืนยันตัว (Identification Data) ออกไป ก่อนที่จะส่งต่อข้อมูลไปยังผู้ให้บริการ เพื่อเปิดทางการวิจัยทางการแพทย์ด้วยข้อมูลใหม่ที่ได้รับ และเปิดทางสู่การรักษาตัวเอง (Self-healing) ในอนาคต
อย่างไรก็ตาม จากความสามารถทั้งหมดนี้ ทำให้หลายคนกังขาถึงความปลอดภัยและวิถีชีวิตของมนุษยชาติว่าจะเปลี่ยนแปลงหรือโดนแทนที่หรือไม่ คำถามนี้ได้ส่งต่อไปยังคุณพัทน์ ซึ่งก็ได้รับคำตอบที่น่าสนใจว่า
“สิ่งสำคัญคือเราไม่จำเป็นต้องสร้างเอไอที่เหมือนมนุษย์ แต่สร้างเอไอมาเพื่อเพิ่มศักยภาพมนุษย์”
ข่าวแนะนำ
-
จีนเร่งพัฒนาจรวดขนส่งไปดวงจันทร์
- 20/6/67