ภาพแสงสีฟ้าเหนืออ่าวไทย ถูกถ่ายจากสถานีอวกาศนานาชาติ ISS
ภาพถ่ายแสงสีฟ้าประหลาดเหนืออ่าวไทยถูกบันทึกโดยนักบินอวกาศจากโครงการเอ็กซ์พีดิชัน 66 (Expedition 66 ) บนสถานีอวกาศนานาชาติ (ISS)
หนึ่งในนักบินอวกาศจากโครงการเอ็กซ์พีดิชัน 66 (Expedition 66) ได้จับภาพแสงสีฟ้าประหลาดในชั้นบรรยากาศโลกที่เกิดขึ้นพร้อมกัน 2 แห่ง จากสถานีอวกาศนานาชาติ (ISS) ขณะที่สถานีอวกาศนานาชาติกำลังเคลื่อนผ่านทะเลจีนใต้ โดยภาพถ่ายดังกล่าวถูกบันทึกไว้ในวันที่ 30 ตุลาคม 2021 และถูกเผยแพร่โดยนาซา (NASA) เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2022 ที่ผ่านมา
อย่างไรก็ตาม แม้แสงสีฟ้าทั้ง 2 แห่ง ในภาพจะดูมีความเกี่ยวข้องกัน แต่ในความเป็นจริงแล้วมันเป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นในตำแหน่งบนโลกที่ต่างกัน และไม่มีความเกี่ยวข้องกันอย่างสิ้นเชิง
แสงสะท้อนของดวงจันทร์
โดยแสงสีฟ้าในตำแหน่งบริเวณขวาบนของภาพเกิดจากแสงของดวงจันทร์ ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดจากอนุภาคของแสงจากดวงจันทร์กระจัดกระจายไปในชั้นบรรยากาศโลก แล้วเกิดการสะท้อนไปยังสถานีอวกาศนานาชาติ
แสงจากฟ้าผ่าในอ่าวไทย
และสำหรับแสงสีฟ้าในตำแหน่งตรงกลางด้านล่างของภาพเป็นแสงที่เกิดจากปรากฏการณ์ฟ้าผ่า ณ ตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่งในบริเวณอ่าวไทย ซึ่งปรากฏการณ์ฟ้าผ่าเป็นปรากฏการณ์ที่เห็นเป็นสายฟ้าได้ยากจากสถานีอวกาศนานาชาติ เนื่องจากสถานีอวกาศนานาชาติมักถูกบดบังโดยหมู่เมฆในชั้นบรรยากาศโลก ส่งผลให้เมื่อเกิดปรากฏการณ์ฟ้าผ่า แสงจากสายฟ้าจะกระจายไปตามก้อนเมฆที่ปกคลุมมันอยู่ในขณะนั้น ทำให้สถานีอวกาศนานาชาติมองเห็นปรากฏการณ์ดังกล่าวเป็นแสงกลมคล้ายวงแหวน
โดยเหตุผลที่เราเห็นแสงจากทั้ง 2 ตำแหน่ง เป็นสีฟ้า เพราะในช่วงคลื่นแสงที่มองเห็นได้ด้วยตาเปล่า (Visible light) ช่วงคลื่นของแสงสีฟ้ามีความสั้นมากที่สุด และมีคุณสมบัติในการกระจายตัวมากที่สุด จึงเป็นช่วงคลื่นแสงที่มองเห็นได้ด้วยตามนุษย์มากที่สุด ซึ่งเป็นเหตุผลเดียวกันกับที่เราเห็นท้องฟ้าเป็นสีฟ้า
นอกจากนี้ในภาพยังเผยให้เห็นใยเรืองแสงจากประเทศไทย พร้อมด้วยแสงจากประเทศเวียดนามและเกาะไหหลำจากทางตอนใต้ของประเทศจีนอีกด้วย
ข้อมูลจาก www.sciencealert.com
ภาพจาก earthobservatory.nasa.gov
ข่าวแนะนำ
-
จีนเร่งพัฒนาจรวดขนส่งไปดวงจันทร์
- 20/6/67