TNN วันครีษมายัน นอกจากวันนี้ในปี 65 เรามีวันสำคัญทางดาราศาสตร์อะไรอีกบ้าง

TNN

วิทยาศาสตร์

วันครีษมายัน นอกจากวันนี้ในปี 65 เรามีวันสำคัญทางดาราศาสตร์อะไรอีกบ้าง

วันครีษมายัน นอกจากวันนี้ในปี 65 เรามีวันสำคัญทางดาราศาสตร์อะไรอีกบ้าง

นอกจาก ‘วันครีษมายัน ’ ในปี 2565 ยังมีปรากฏการณ์วันอื่นๆที่เป็นสัญญาณการเปลี่ยนของฤดูกาล

เนื่องในวันนี้ 21 มิ.ย. เป็น ‘วันครีษมายัน’ ที่เกิดปรากฏการณ์ที่ประเทศไทยมีกลางวันยาวนานเกือบ 13 ชั่วโมง ให้เรายิ้มสู้แดดยาวๆ โดยดวงอาทิตย์จะขึ้นจากขอบฟ้าทางทิศตะวันออกเฉียงไปทางเหนือมากที่สุด และตกลับขอบฟ้าทางทิศตะวันตกเฉียงไปทางเหนือมากที่สุด จึงทำให้มีช่วงเวลากลางวันยาวนานที่สุดในรอบปี นับเป็นวันเริ่มต้นฤดูร้อนของประเทศทางซีกโลกเหนือ และเข้าสู่ฤดูหนาวของประเทศทางซีกโลกใต้

นอกจาก ‘วันครีษมายัน’ ที่กลางวันยาวนานที่สุดแล้วเรายังมีวันต่างๆที่น่าสนใจดังต่อไปนี้

- วันศารทวิษุวัต (สาด-ทะ-วิ-สุ-วัด)   (Autumnal Equinox) ตรงกับวันที่ 23 กันยายน 2565  เป็นวันที่ดวงอาทิตย์ขึ้นจากขอบฟ้าทางทิศตะวันออกและตกลับขอบฟ้าทางทิศตะวันตกพอดี ส่งผลให้ช่วงเวลากลางวันยาวนานเท่ากับกลางคืน  สำหรับประเทศทางซีกโลกเหนือ ถือเป็นวันเปลี่ยนฤดูกาลเข้าสู่ฤดูใบไม้ร่วง ส่วนประเทศทางซีกโลกใต้เปลี่ยนสู่ฤดูใบไม้ผลิ

- วันเหมายัน  (เห-มา-ยัน) (Winter Solstice) เวลากลางคืนยาวที่สุดในรอบปี ดวงอาทิตย์จะขึ้นทางทิศตะวันออกเฉียงไปทางใต้มากที่สุด และตกทางทิศตะวันตกเฉียงไปทางใต้มากที่สุด คนไทยเรียกว่า “ตะวันอ้อมข้าว”ดวงอาทิตย์จะขึ้นเวลาประมาณ 06:36 น. และจะตกลับขอบฟ้า เวลาประมาณ 17:55 น. (เวลา ณ กรุงเทพฯ) รวมระยะเวลากลางวันเพียง 11 ชั่วโมง 19 นาทีเท่านั้น ส่งผลให้ท้องฟ้าในช่วงนี้จะมืดเร็วกว่าช่วงเวลาอื่น ๆ ของปี นับเป็นวันที่เข้าสู่ฤดูหนาวของประเทศทางซีกโลกเหนือ และเป็นวันที่ย่างเข้าสู่ฤดูร้อนของประเทศทางซีกโลกใต้

-  วันวสันตวิษุวัต  (วะ-สัน-ตะ-วิ-สุ-วัด) (Vernal Equinox) คำว่า “วิษุวัต” (Equinox) เป็นภาษาสันสกฤตหมายถึง “จุดราตรีเสมอภาค” จุดที่ดวงอาทิตย์อยู่ในตำแหน่งตั้งฉากกับเส้นศูนย์สูตรของโลกพอดี ส่งผลให้เป็นที่มีชื่อว่าวิษุวัตต่าง ๆ คือวันที่มีเวลากลางวันและกลางคืนยาวเท่ากัน วันดังกล่าวเกิดขึ้นเพียง 2 ครั้งต่อปี คือช่วงเริ่มต้นของฤดูใบไม้ผลิ เรียกว่า วันวสันตวิษุวัต (Vernal Equinox) และช่วงเริ่มต้นฤดูใบไม้ร่วง เรียกว่า วันศารทวิษุวัต (Autumnal Equinox)ไม้ผลิ

ข้อมูลจาก  :  NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ

ภาพจาก : AFP

ข่าวแนะนำ