TNN online (คลิป) หินอวกาศยักษ์พุ่งเฉียดโลกอีก NASAจ้างทีมรับมือต่างดาว

TNN ONLINE

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

(คลิป) หินอวกาศยักษ์พุ่งเฉียดโลกอีก NASAจ้างทีมรับมือต่างดาว

(คลิป) หินอวกาศยักษ์พุ่งเฉียดโลกอีก NASAจ้างทีมรับมือต่างดาว

องค์การนาซา ขอความช่วยเหลือจากนักศาสนศาสตร์ 24 คน เพื่อติดต่อกับมนุษย์ต่างดาวในอนาคต เพื่อให้สามารถรับมือมนุษย์ต่างดาวหากปรากฏตัวได้


               ดาวเคราะห์น้อยขนาดมหึมาซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าตึกเอ็มไพร์สเตทในนิวยอร์กถึง 2 เท่า จะเข้าใกล้โลกประมาณ 1.2 ล้านไมล์ใน วันที่ 18 มกราคม 2022 เวลา 16:51 น. ตามรายงานของ NASA ที่เรียกชื่อหินอวกาศนี้ว่า 7482 (หรือ 1994 PC1) ถูกค้นพบครั้งแรกในปี 1994   มีเส้นผ่านศูนย์กลางขนาด 3,280 ฟุต จะพุ่งผ่านโลกด้วยความเร็ว 43,000 ไมล์ต่อชั่วโมง แต่ยังไม่เป็นภัยคุกคามต่อโลก เนื่องจากอยู่ห่างจากโลกมากกว่าดวงจันทร์ถึงห้าเท่า    ( ดวงจันทร์มีระยะห่างจากโลกโดยเฉลี่ยเท่ากับ 384,400 กิโลเมตร หรือ 238,900 ไมล์ ) ทั้งนี้ นาซาได้ ติดตามดาวเคราะห์น้อยที่รู้จักมากกว่า 28,000 ดวงเป็นประจำ โดยดาวเคราะห์น้อยขนาดใหญ่ กว่า10เท่า ที่จะเข้าใกล้โลกครั้งต่อไปในปี 2105 


              กล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เวบบ์ (James Webb Telescope หรือ JWST) ที่ถูกส่งขึ้นสู่อวกาศเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2564  นับเป็น “เรือธง” สำคัญของ NASA ที่จะมาแทนที่กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลที่กำลังจะปลดประจำการ มาพร้อมกับเทคโนโลยีและวิศวกรรมขั้นสูง บุกเบิกสู่ยุคใหม่ของวงการดาราศาสตร์ในช่วงคลื่นอินฟราเรด สังเกตแสงอันริบหรี่ของกาแล็กซีที่ห่างไกลออกไป เพื่อศึกษากลไกการก่อกำเนิดดาวฤกษ์และดาวเคราะห์ ไปจนถึงการสังเกตดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะ ซึ่งนับเป็นการเปิดศักราชใหม่ในการศึกษาเอกภพอย่างแท้จริง


              ล่าสุดได้  กางอุปกรณ์บังแสงจากดวงอาทิตย์ หรือ Sunshield (ซันชิลด์) เป็นที่ เรียบร้อย นับเป็นอีกขั้นตอนที่ละเอียดอ่อนที่สุดอีกขั้นตอนหนึ่งที่สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี ซึ่ง sunshield เป็นโครงสร้างสำคัญที่จะช่วยป้องกันรังสีและความร้อนจากดวงอาทิตย์ เพื่อให้อุปกรณ์ตรวจวัดรังสีอินฟราเรดบนกล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เว็บบ์ สามารถคงอุณหภูมิอันเย็นยะเยือกที่จำเป็นอย่างยิ่งต่อการปฏิบัติภารกิจได้

หลังจากนี้ต้องรอเป็นเวลาอีกประมาณ 6 เดือนจึงจะสามารถใช้งานได้ หลังจากเปิดใช้งาน จะรองรับการศึกษาทางดาราศาสตร์จำนวนมากจากทั่วโลก รวมถึงงานวิจัยของนักดาราศาสตร์ไทยที่เข้าร่วมสำรวจด้วย


ข่าวที่เกี่ยวข้อง