TNN (สดจากรัฐสภา) ถ่ายทอดสด "โหวตนายกรัฐมนตรี" 13 กรกฎาคม 2566 เกาะติดพร้อมกันที่นี่!

TNN

การเมือง

(สดจากรัฐสภา) ถ่ายทอดสด "โหวตนายกรัฐมนตรี" 13 กรกฎาคม 2566 เกาะติดพร้อมกันที่นี่!

ช่องทางถ่ายทอดสด "โหวตนายกรัฐมนตรี" คนที่ 30 ของประเทศไทย เริ่ม 09.30 น. ชมสดพร้อมกันที่นี่

ช่องทางถ่ายทอดสด "โหวตนายกรัฐมนตรี" คนที่ 30 ของประเทศไทย เริ่ม 09.30 น. ชมสดพร้อมกันที่นี่



13 กรกฎาคม 2566 จะเป็นวันแรกของการโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีคนที่ 30 ของประเทศไทย ตามคำสั่งเรียกของนายวันมูหะมัด นอร์ มะทา ประธานรัฐสภา ซึ่งจะเริ่มขึ้นในเวลา 09.30 น.  ณ ห้องประชุมสภาผู้แทนราษฎร  ชั้น 2 อาคารรัฐสภา ถนนสามเสน แขวงนครไชยศรี เขตดุสิต  กทม.  

ในการประชุมร่วมรัฐสภา จะมีการลงมติเพื่อเลือกนายกรัฐมนตรีได้ ในช่วงเวลาประมาณ 17.00 น. ซึ่งก่อนการจะมีการลงมตินั้น จะมีการเปิดโอกาสให้ ส.ส. และ ส.ว.อภิปรายก่อน โดยแบ่งเป็นเวลาของ วุฒิสภา 2 ชั่วโมง และ ส.ส.ทุกพรรครวมกัน 4 ชั่วโมง โดยไม่กำหนดเวลาของ ส.ส.ผู้ที่จะอภิปรายแต่ละคน และหากมีการพาดพิง ก็สามารถชี้แจงได้ในกำหนดเวลาที่เหมาะสม


ทั้งนี้ การโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีคนที่ 30 ของประเทศไทย หลังพรรคก้าวไกลชนะการเลือกตั้งโดย มี ส.ส. มากเป็นอันดับหนึ่ง และสามารถรวมเสียงได้มากถึง 312 เสียง เพื่อเตรียมจัดตั้งรัฐบาลเสียงข้างมาก ทั้งนี้การจะส่งนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล นั่งนายกรัฐมนตรีได้นั้น จำเป็นต้องได้เสียงเกินกึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกรัฐสภา ที่มาจากวุฒิสภา 250 เสียง และเสียงจากส.ส. 500 เสียง รวม 750 เสียง ซึ่งกึ่งหนึ่ง คือ 376 เสียง


ช่องทางรับชมถ่ายทอดสดเลือกนายกรัฐมนตรี


-โทรทัศน์รัฐสภา ช่อง10

-วิทยุรัฐสภา FM 87.5 MHz พร้อมกัน 14 เครือข่ายทุกภูมิภาค และ AM 1071 KHz

-Application และ YouTube : TPchannel

-เว็บไซต์ tpchannel.org

-Facebook สถานีวิทยุและโทรทัศน์รัฐสภา คลิกที่นี่

-Youtube สถานีวิทยุและโทรทัศน์รัฐสภา คลิกที่นี่






3 แนวทางโหวตนายกรัฐมนตรี คนที่ 30


แนวทางการโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีคนที่ 30 ของประเทศไทย ที่จะเริ่มยกแรกในวันที่ 13 กรกฎาคม 2566 นี้ ตามคำสั่งเรียกของนายวันมูหะมัด นอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร  มีคำถามว่า กรณีการโหวตเลือกครั้งแรกแล้วไม่ผ่านตามเกณฑ์กำหนด ที่ประชุมรัฐสภาควรจะดำเนินการกี่ครั้ง ทั้งนี้ หากรวบรวมจากความเห็นของฝ่ายการเมืองต่างๆ พบว่า มีด้วยกัน 3 แนวทาง คือ 

 

แนวทางที่ 1 

ให้โหวต 1 รอบ โดยอ้างอิงบรรทัดฐานการเลือกบุคคลเป็นองค์กรอิสระ หากไม่ผ่านครั้งแรกให้จบเลย ไม่ควรเสนอชื่อแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีคนเดิมมาให้ที่ประชุมโหวตเลือกอีก ซึ่งแนวคิดนี้มี ส.ว.สนับสนุนส่วนหนึ่ง รวมถึงเป็นความเห็นจากนายธนกร วังบุญคงชนะ รองหัวหน้าพรรครวมไทยสร้างชาติ ที่เห็นว่าการโหวตครั้งเดียวก็น่าจะเพียงพอที่จะเห็นทิศทางการเมืองแล้ว และครั้งที่ 2 ควรจะให้ที่เป็นลำดับที่ 2 เสนอชื่อต่อไป ไม่ใช่เสนอชื่อคนเดิม


ส่วนแนวทางที่ 2  

การวางกรอบให้โหวต 3 ครั้ง เพื่อให้เวลาพรรคก้าวไกลปรับนโยบาย ซึ่งแนวทางนี้ เป็นความเห็นจากนายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร จากพรรคเพื่อไทย ที่เห็นว่าหากโหวตเกิน 3 ครั้ง อาจเป็นเรื่องยาก และอาจไม่ได้รับความร่วมมือจากสมาชิกรัฐสภาเข้าร่วมประชุม จนส่งผลกระทบกับองค์ประชุม


แนวทางที่ 3  

ไม่ได้กำหนดกรอบการโหวตเลือกนายกรัฐมนตรี เนื่องจากรัฐธรรมนูญไม่ได้กำหนดระยะเวลาเอาไว้ จึงเสนอให้มีการโหวตไปได้เรื่อยๆ ไม่มีกำหนด ซึ่งแนวทางนี้สอดคล้องกับความเคลื่อนไหวของพรรคก้าวไกล และเสียงสะท้อนจากกลุ่มแนวร่วม กลุ่มผู้สนับสนุนพรรค และความเห็นของนายจาตุรนต์ ฉายแสง กรรมการยุทธศาสตร์และทิศทางการเมือง พรรคเพื่อไทย ที่เห็นว่า การโหวตเลือกนายกรัฐมนตรี สามารถโหวตกี่ครั้งก็ได้ เพราะไม่มีกฎเกณฑ์กำหนดว่าจะเสนอใครได้กี่ครั้ง


TNN ช่อง 16 จัดรายการพิเศษ “เกาะติดเลือกนายกรัฐมนตรี คนที่ 30”

TNN ช่อง 16 ชวนทุกท่านติดตามการประชุมรัฐสภา เพื่อโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีครั้งสำคัญของประเทศไทย ผ่านรายการพิเศษ “เกาะติดเลือกนายกรัฐมนตรี คนที่ 30” ลุ้นคะแนนแบบเรียลไทม์ จับตาผลโหวต ส.ส. และ ส.ว. รวม 750 คน แบบคะแนนต่อคะแนน ตั้งแต่เริ่มขานชื่อคนแรกเรียงตามลำดับตัวอักษรไปจนถึงคนสุดท้าย และประกาศผลคะแนนผู้ได้รับเสนอชื่อให้เป็นนายกรัฐมนตรี

พบรายการพิเศษ “เกาะติดเลือกนายกรัฐมนตรี คนที่ 30” ผ่านหน้าจอ TNN ช่อง 16 และทุกแพลตฟอร์มออนไลน์ วันพฤหัสบดีที่ 13 กรกฎาคมนี้ ตั้งแต่เวลา 17.00 น. เป็นต้นไป


(สดจากรัฐสภา) ถ่ายทอดสด โหวตนายกรัฐมนตรี 13 กรกฎาคม 2566 เกาะติดพร้อมกันที่นี่!






ภาพจาก รัฐบาล/พรรคก้าวไกล

ข่าวแนะนำ