TNN เปิด 3 แนวทาง 13 กรกฎาคม 2566 โหวตเลือกนายกรัฐมนตรี คนที่ 30

TNN

การเมือง

เปิด 3 แนวทาง 13 กรกฎาคม 2566 โหวตเลือกนายกรัฐมนตรี คนที่ 30

เปิด 3 แนวทาง 13 กรกฎาคม 2566 โหวตเลือกนายกรัฐมนตรี คนที่ 30

เปิด 3 แนวทาง โหวตเลือกนายกรัฐมนตรี คนที่ 30 ของประเทศไทย 13 กรกฎาคม 2566 หากรอบแรกไม่ผ่าน สามารถเสนอชื่อบุคคลเดิมได้หรือไม่

เปิด 3 แนวทาง โหวตเลือกนายกรัฐมนตรี คนที่ 30 ของประเทศไทย 13 กรกฎาคม 2566 หากรอบแรกไม่ผ่าน สามารถเสนอชื่อบุคคลเดิมได้หรือไม่


เลือกนายกรัฐมนตรี คนที่ 30 ในวันที่ 13 กรกฎาคม 2566 นี้ จะเป็นยกแรกของการโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีคนที่ 30 ของประเทศไทย แต่ยังคงมีคำถามว่า หากการโหวตรอบแรกไม่ผ่าน การลงมติจะต้องดำเนินการกันถึงกี่ครั้ง และสามารถเสนอชื่อบุคคลเดิมให้ที่ประชุมรัฐสภาพิจารณาซ้ำได้หรือไม่ เนื่องจากรัฐธรรมนูญปี 2560 ไม่ได้กำหนดกรอบเอาไว้  

ทั้งนี้ จากการประมวลสถานการณ์และความเห็นจากฝ่ายการเมือง ขณะนี้มีอยู่ด้วยกัน 3 แนวทาง  


3 แนวทางโหวตนายกรัฐมนตรี คนที่ 30


แนวทางการโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีคนที่ 30 ของประเทศไทย ที่จะเริ่มยกแรกในวันที่ 13 กรกฎาคม 2566 นี้ ตามคำสั่งเรียกของนายวันมูหะมัด นอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร  มีคำถามว่า กรณีการโหวตเลือกครั้งแรกแล้วไม่ผ่านตามเกณฑ์กำหนด ที่ประชุมรัฐสภาควรจะดำเนินการกี่ครั้ง 

ทั้งนี้ หากรวบรวมจากความเห็นของฝ่ายการเมืองต่างๆ พบว่า มีด้วยกัน 3 แนวทาง คือ 

 

แนวทางที่ 1 

ให้โหวต 1 รอบ โดยอ้างอิงบรรทัดฐานการเลือกบุคคลเป็นองค์กรอิสระ หากไม่ผ่านครั้งแรกให้จบเลย ไม่ควรเสนอชื่อแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีคนเดิมมาให้ที่ประชุมโหวตเลือกอีก ซึ่งแนวคิดนี้มี ส.ว.สนับสนุนส่วนหนึ่ง รวมถึงเป็นความเห็นจากนายธนกร วังบุญคงชนะ รองหัวหน้าพรรครวมไทยสร้างชาติ ที่เห็นว่าการโหวตครั้งเดียวก็น่าจะเพียงพอที่จะเห็นทิศทางการเมืองแล้ว และครั้งที่ 2 ควรจะให้ที่เป็นลำดับที่ 2 เสนอชื่อต่อไป ไม่ใช่เสนอชื่อคนเดิม


ส่วนแนวทางที่ 2  

การวางกรอบให้โหวต 3 ครั้ง เพื่อให้เวลาพรรคก้าวไกลปรับนโยบาย ซึ่งแนวทางนี้ เป็นความเห็นจากนายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร จากพรรคเพื่อไทย ที่เห็นว่าหากโหวตเกิน 3 ครั้ง อาจเป็นเรื่องยาก และอาจไม่ได้รับความร่วมมือจากสมาชิกรัฐสภาเข้าร่วมประชุม จนส่งผลกระทบกับองค์ประชุม


แนวทางที่ 3  

ไม่ได้กำหนดกรอบการโหวตเลือกนายกรัฐมนตรี เนื่องจากรัฐธรรมนูญไม่ได้กำหนดระยะเวลาเอาไว้ จึงเสนอให้มีการโหวตไปได้เรื่อยๆ ไม่มีกำหนด ซึ่งแนวทางนี้สอดคล้องกับความเคลื่อนไหวของพรรคก้าวไกล และเสียงสะท้อนจากกลุ่มแนวร่วม กลุ่มผู้สนับสนุนพรรค และความเห็นของนายจาตุรนต์ ฉายแสง กรรมการยุทธศาสตร์และทิศทางการเมือง พรรคเพื่อไทย ที่เห็นว่า การโหวตเลือกนายกรัฐมนตรี สามารถโหวตกี่ครั้งก็ได้ เพราะไม่มีกฎเกณฑ์กำหนดว่าจะเสนอใครได้กี่ครั้ง





ภาพจาก Thaigov


ข่าวแนะนำ