!["โรคกระเพาะอาหาร" เปิดสาเหตุ อาการ และวิธีการรักษา กินข้าวไม่ตรงเวลาต้องระวัง!](/static/images/593e243e-a670-47a1-bb4d-9a49146299a0.jpg)
!["โรคกระเพาะอาหาร" เปิดสาเหตุ อาการ และวิธีการรักษา กินข้าวไม่ตรงเวลาต้องระวัง!](/static/images/593e243e-a670-47a1-bb4d-9a49146299a0.jpg)
สรุปข่าว
โรคกระเพาะอาหาร หนึ่งในโรคที่สามารถพบได้บ่อยมากๆในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นวัยเด็ก วัยผู้ใหญ่ หรือวัยทำงานก็สามารถเป็นโรคชนิดนี้ได้ ด้วยการดำเนินชีวิตเร่งรีบในแต่ละวัน จึงทำให้พฤติกรรมการรับประทานอาหารเปลี่ยนแปลงไปและเกิดปัญหาตามมา ไม่ว่าจะเป็นการกินข้าวไม่ตรงเวลา การกินอาหารเร็วไป หรือความเครียด พฤติกรรมเหล่านี้สามารถส่งผลกระทบต่อการเกิดโรคกระเพาะได้โดยตรง โดยในวันนี้เราจะพาทุกคนไปรู้จักโรคชนิดนี้ให้มากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นสาเหตุการเกิดโรค อาการ รวมถึงวิธีการรักษาที่ถูกต้อง
“โรคกระเพาะ” คืออะไร?
โรคกระเพาะอาหาร หมายถึง ภาวะที่ร่างกายเกิดแผลบริเวณเยื่อบุกระเพาะอาหารที่สัมผัสกับน้ำย่อย ผู้ป่วยที่เป็นโรคกระเพาะอาหารจะมีอาการปวดท้องซึ่งเป็นผลมาจากกรดในกระเพาะ โดยอาการปวดจะไม่คงอยู่ตลอดเวลา แต่จะเป็นๆหายๆ และมักเกิดช่วงก่อนหรือหลังรับประทานอาหาร
สาเหตุของ “โรคกระเพาะ”
สำหรับสาเหตุการเกิดโรคกระเพาะอาหารนั้น ในปัจจุบันยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่ทางการแพทย์พบว่ามีหลายปัจจัยที่ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรค ซึ่งหลายคนมักเข้าใจว่าพฤติกรรมในการใช้ชีวิตประจำวัน มีส่วนกระตุ้นให้เกิดโรคกระเพาะอาหารเป็นหลัก โดยเฉพาะพฤติกรรมการรับประทานอาหารไม่เป็นเวลา การรีบทานเกินไป รวมถึงการมีความเครียดสะสม ความวิตกกังวล เป็นต้น แต่ในความเป็นจริงแล้ว สาเหตุหลักของการเกิดโรคกระเพาะอาหารจริงๆ มีดังนี้
1. การติดเชื้อแบคทีเรียนเอชไพโลไร (H.pylori)
2. การรับประทานยาต้านการอักเสบหรือยาแก้ปวด เช่น แอสไพริน ไอบูโพรเฟน
3. สาเหตุอื่นๆ จากการสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์ เป็นต้น
“โรคกระเพาะ” อาการเป็นอย่างไร?
สำหรับอาการของโรคกระเพาะอาหารทั้งชนิดที่เป็นแผลและไม่เป็นแผล จะค่อนข้างคล้ายกกัน ดังนี้
1. ปวด จุกเสียดแน่นบริเวณใต้ลิ้นปี่ เหนือสะดือ
2. มักมีอาหารปวดใต้ชายโครงซ้าย
3. ในบางรายมีอาการปวดแน่นถึงหน้าอก โดยจะเป็นๆหายๆ และสัมพันธ์กับมื้ออาหาร
4. บางรายอาจปวดก่อนอาหารเวลาหิว ในขณะที่บางรายปวดหลังอาหารเวลาอิ่ม
5. เมื่อโรครุนแรงขึ้นอาจมีอาเจียนเป็นเลือด
6. บางกรณีถ่ายอุจจาระที่มีลักษณะสีดำ
7. เบื่ออาหาร
8. น้ำหนักลด
ทั้งนี้ในข้อที่ 5-8 เป็นอาการของโรคกระเพาะอักเสบที่รุนแรง จึงควรรีบเข้าพบแพทย์เพื่อรับการรักษาทันที
วิธีการรักษา “โรคกระเพาะ” ด้วยตนเอง
โรคกระเพาะอาหารไม่จัดว่าเป็นโรคอันตราย แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นต้องใช้ความใส่ใจในการรักษา ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการรับประทานยาและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต่างๆ โดยนหากอาการของโรคไม่รุนแรง เราสามารถรักษาให้หายเองได้ ดังนี้
1. รับประทานยาลดกรดในกระเพาะอาหาร
2. งดรับประทานอาหารรสเผ็ด หรือรสจัด
3. ปรับเปลี่ยนการรับประทานอาหารให้ตรงเวลา
4. ผู้ที่สูบบุหรี่ และกินเหล้า ควรงดกิจกรรมเหล่านี้ไปก่อน
5. หากปวดท้อง สามารถกินยาแก้ปวดได้ แต่ไม่ควรกินติดต่อกันเป็นเวลานาน
ทั้งนี้ หากอาการไม่ดีขึ้นหลังปฎิบัติตามข้างต้น ควรรีบพบแพทย์ เพื่อรับการรักษาที่ถูกต้องต่อไป
ที่มาข้อมูล : กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณะสุข ,โรงพยาบาลพญาไท
ที่มาภาพ : Freepik
ที่มาข้อมูล : -