TNN ทำความรู้จัก "โรคงูสวัด" คืออะไร ติดต่อได้หรือไม่? พร้อมวิธีดูแลรักษาที่ถูกต้อง!

TNN

Health

ทำความรู้จัก "โรคงูสวัด" คืออะไร ติดต่อได้หรือไม่? พร้อมวิธีดูแลรักษาที่ถูกต้อง!

ทำความรู้จัก โรคงูสวัด คืออะไร ติดต่อได้หรือไม่? พร้อมวิธีดูแลรักษาที่ถูกต้อง!

ทำความรู้จัก “โรคงูสวัด” คืออะไร ติดต่อได้หรือไม่? พร้อมวิธีการดูแลรักษาที่ถูกต้อง!

งูสวัด โรคติดเชื้อไวรัสที่หลายๆคนน่าจะเคยได้ยินอยู่บ่อยครั้ง ผู้ป่วยที่เป็นโรคงูสวัดจะมีผื่นลักษณะเป็นตุ่มน้ำ รวมถึงอาการเจ็บแสบซึ่งสามารถสร้างความไม่สบายกายต่อผู้ป่วยเป็นอย่างมาก ขณะเดียวกันหลายพื้นที่ก็มีความเชื่อเกี่ยวกับโรคงูสวัดว่า หากมีตุ่มลุกลามจนขึ้นพันรอบบริเวณอวัยวะที่เป็น จะทำให้เสียชีวิตได้ ซึ่งความเชื่อเหล่านี้เป็นสิ่งที่ผิด ดังนั้นบทความนี้เราจะพาทุกคนมารู้จักโรคงูสวัดให้มากยิ่งขึ้นกัน


โรคงูสวัด คืออะไร?

งูสวัด (herpes zoster) เป็นโรคติดเชื้อไวรัสชนิดหนึ่ง ที่เมื่อเป็นแล้วผู้ป่วยจะมีผื่นลักษณะเป็นตุ่มน้ำ และสามารถสร้างความเจ็บแสบได้อย่างมาก ในบางรายอาจรุนแรงจนผู้ป่วยมีอาการปวดเส้นประสาทในบริเวณที่เคยเป็นผื่น ซึ่งอาจคงอยู่ได้เป็นเวลาหลายเดือนจนถึงหลายปี และหากเป็นที่ดวงตาอาจทำให้ตาบอดได้ โดยปกติโรคนี้ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีอายุมาก แต่ในเด็กก็สามารถเป็นได้เช่นกัน มีการประมาณไว้ว่ามนุษย์ประมาณหนึ่งในสามจะมีโอกาสป่วยเป็นโรคงูสวัดสักครั้งหนึ่งในชีวิต


โรคงูสวัด เกิดจากสาเหตุใด?

โรคงูสวัด เกิดจากการติดเชื้อไวรัสวาริเซลลา (Varicella zoster virus: VZV) เชื้อไวรัสชนิดเดียวกันกับที่ก่อโรคอีสุกอีใส ซึ่งส่วนใหญ่เมื่อได้รับเชื้อ VZV ครั้งแรก จะแสดงอาการเป็นโรคอีสุกอีใสก่อน หลังจากหายแล้วเชื้อไวรัสสามารถหลบอยู่ในเซลล์ประสาทในสภาพที่ไม่สามารถก่อโรค เต่หากเมื่อใดที่ภูมิคุ้มกันของร่างกายตก เชื้อไวรัสจะกลับมาเพิ่มจำนวนและสามารถก่อโรคได้อีกครั้ง และจะกลายเป็นโรคงูสวัดได้ทันที


อาการของ “โรคงูสวัด”

สำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคงูสวัด จะมีอาการของโรคดังนี้

1. มีตุ่มใส บวมแดง คล้ายกับอีสุกอีใสแต่จะไม่ขึ้นทั่วร่างกาย โดยลักษณะจะเป็นกลุ่มหรือแถวแนวยาวตามเส้นประสาทของร่างกาย เช่น รอบเอว รอบหลัง ตามความยาวของแขน ใบหน้า ต้นขา เป็นต้น

2. มีอาการแสบร้อนบริเวณที่เป็นผื่น

3. ปวดเมื่อยตามร่างกาย

4. หากงูสวัดขึ้นบริเวณเส้นประสาทที่สำคัญ เช่น เส้นประสาทที่เกี่ยวข้องกับดวงตาตา อาจรุนแรงถึงขั้นทำให้ตาบอดได้ 


“งูสวัด” เป็นโรคติดต่อหรือไม่?

งูสวัด ถือเป็นโรคที่สามารถติดต่อสู่ผ่านการสัมผัสกับตุ่มน้ำใสที่มีเชื้อไวรัสก่อโรคอยู่ ซึ่งผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ สามารถรับเชื้อไวรัสงูสวัดผ่านการแพร่กระจายทางการหายใจ ดังนั้นเมื่อมีผู้ป่วยเป็นงูสวัดในบ้าน ควรแยกผู้ป่วยออกจากผู้อื่น โดยเฉพาะผู้สูงอายุ เด็กเล็ก หรือผู้ที่กำลังตั้งครรภ์อยู่ เพราะมีโอกาสติดได้ง่ายกว่า


การดูแลรักษาผู้ป่วยโรคงูสวัด

1. หากผู้ป่วยปรากฎผื่นของโรคงูสวัดน้อยกว่า 3 วัน จะมีการให้ยาต้านไวรัส ภายใน 48-72 ชั่วโมง หลังเกิดอาการ เพื่อช่วยลดการอักเสบ อาการเจ็บปวด และช่วยให้ผื่นคันยุบตัวและหายเร็วขึ้น 

2. หากผู้ป่วยมีผื่นของโรคงูสวัดเกินกว่า 3 วัน มักมีการใช้ยารักษาโรคชนิดอื่น ๆ ร่วมกับยาต้านไวรัส ได้แก่ ยาปฏิชีวนะชนิดรับประทานหรือชนิดทา เพื่อบรรเทาอาการคัน และบรรเทาอาการเจ็บปวด

3. ควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาสมุนไพร ยาพ่น หรือยาอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ยาที่แพทย์สั่งทาบริเวณผื่นคัน เพราะอาจทำให้เกิดการติดเชื้อแบคทีเรียเพิ่มมากขึ้น 

4. ไม่ควรเกาบริเวณผื่นคัน 

5. ควรตัดเล็บมือ เล็บเท้า ให้สะอาดเพื่อลดการสะสมของเชื้อแบคทีเรีย และป้องกันการติดเชื้อซ้ำ

6. หากมีแผลเปิด ให้ใช้ผ้าก็อตปิดแผลเพื่อป้องกันการติดเชื้อ

7. หมั่นรักษาความสะอาดอย่างสม่ำเสมอ


ที่มาข้อมูล : โรงพยาบาลพญาไท, Wikipedia, โรงพยาบาลเมดพาร์ค, โรงพยาบาลเพชรเวช

ที่มาภาพ : freepik


ข่าวแนะนำ