ชาปลายนิ้ว! พบบ่อยในผู้ป่วย"เบาหวาน" แนะวิธีป้องกันภาวะแทรกซ้อนเรื้อรัง

ชาปลายนิ้ว! พบบ่อยในผู้ป่วย"เบาหวาน" แนะวิธีป้องกันภาวะแทรกซ้อนเรื้อรัง

สรุปข่าว

แพทย์เตือน น้ำตาลในเลือดสูง หนึ่งในสาเหตุที่มีอาการปลายนิ้วชา พบบ่อยใน "ผู้ป่วยเบาหวาน" แนะวิธีป้องกันรักษาภาวะแทรกซ้อนเรื้อรัง


นายแพทย์ณัฐพงศ์ วงศ์วิวัฒน์ รองอธิบดี กรมการแพทย์ เปิดเผยว่า ในปัจจุบัน สังคมไทยการใช้ชีวิตมีความตึงเครียด เร่งรีบ ความกดดันต่างๆ และสิ่งแวดล้อมที่เป็นอยู่ ทำให้คนไทย เน้นอาหารการกินที่ไม่ดีต่อสุขภาพเป็นหลัก โดยเฉพาะอาหารที่มีรสชาติหวาน ซึ่งสถิติในปี พ.ศ. 2560 ประเทศไทยมีผู้ที่เป็นเบาหวาน 4.4 ล้านคน มากขึ้นทุกช่วงอายุ มากเป็นอันดับ 4 รองจาก จีน อินเดีย ญี่ปุ่น ที่น่าเป็นห่วงพบในช่วงวัยรุ่นและวัยทำงาน


นายแพทย์จินดา โรจนเมธินทร์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลราชวิถี กรมการแพทย์ กล่าวว่าโรคเบาหวานมี 3 ประเภท คือ 

1.เกิดจากตับอ่อนไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้  

2. เกิดจากการที่ตับอ่อนผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้ไม่เพียงพอต่อการใช้ หรือเกิดภาวะการดื้ออินซูลิน และเบาหวานขณะตั้งครรภ์ นอกจากโรคเบาหวานทั้ง 

3 ประเภทแล้วยังมีโรคเบาหวานที่พบได้ไม่บ่อย อย่างโรคเบาหวานที่เกิดจากกรรมพันธุ์หรือแบบโมโนเจนิก อีกทั้งยังมีโรคเบาหวานจากสาเหตุอื่น ๆ เช่น การใช้ยา หรือเกิดจากโรคของตับอ่อนอักเสบ หากผู้ป่วยเบาหวานควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดสูงไม่ดีพอ  ก็อาจจะเป็นต้นเหตุของโรคแทรกซ้อนต่างๆ ส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายได้


ขณะที่นายแพทย์ชัยชาญ ดีโรจนวงศ์ อดีตนายแพทย์ทรงคุณวุฒิ ด้านเวชกรรม สาขาอายุรกรรม โรงพยาบาลราชวิถี กล่าวเพิ่มเติมว่า ผู้ป่วยโรคเบาหวานอาจเกิดภาวะเสียหายกับเส้นประสาทบริเวณมือและเท้า นำไปสู่อาการชาปลายนิ้วบริเวณนิ้วมือ หรือนิ้วเท้าได้ ซึ่งพบบ่อยในผู้ป่วยเบาหวานมากกว่าผู้ที่ไม่เป็นโรคเบาหวาน


วิธีการป้องกันรักษาภาวะแทรกซ้อนเรื้อรังในผู้ป่วยเบาหวาน สามารถทำได้ คือ 

1.การควบคุมระดับน้ำตาลให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ 

2.รับการตรวจปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน เช่น ไขมันคลอเลสเตอรอล ไขมันไตรกลีเซอไรด์ 

3.งดการสูบบุหรี่ 

4.ออกกำลังกายสม่ำเสมอ และรักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม ดังนั้นหากมีอาการผิดปกติ ในระหว่างการรักษาโรค ควรพบแพทย์โดยด่วน



ปลายนิ้วชา! พบบ่อยในผู้ป่วยเบาหวาน แนะวิธีป้องกันภาวะแทรกซ้อนเรื้อรังภาพจาก กรมการแพทย์

 



ที่มา กระทรวงสาธารณสุข

ภาพจาก รอยเตอร์

ที่มาข้อมูล : -

ที่มารูปภาพ :

แท็กบทความ

โรคเบาหวาน
เบาหวาน
น้ำตาลในเลือด
เหงื่อออก
น้ำตาลในเลือดสูง
อาการเบาหวาน