สรุปข่าว
สำนักงานประกันสังคม เปิด 8 อาการเตือน "ต่อมหมวกไตล้า" ซึ่งเป็นอาการผิดปกติของร่างกายเกิดจากการขาดสมดุลฮอร์โมนที่ผลิตจากต่อมหมวกไต ปล่อยไว้นาน ๆ อาจส่งผลกระทบต่อชีวิตการทำงานได้
"ต่อมหมวกไต" สำคัญอย่างไร
"ต่อมหมวกไต" มีความสำคัญอย่างยิ่ง ถ้าร่างกายขาดฮอร์โมนจากต่อมหมวกไตจะไม่สามารถมีชีวิตอยู่ได้ ฮอร์โมนในกลุ่มนี้จะควบคุมการเผาผลาญคาร์โบไฮเดรท ไขมันและโปรตีน รักษาระดับสารน้ำในร่างกายและช่วยให้ร่างกายต่อสู้กับความเครียดต่อเหตุการณ์ต่างๆทั้งในชีวิตประจำวันและยามฉุกเฉิน (fight or flight response)
"ต่อมหมวกไต" ในผู้ใหญ่ประกอบด้วยต่อมไร้ท่อ 2 ต่อม คือ "ต่อมหมวกไตส่วนนอก" เจริญมาจากเซลล์มีเซนไคมาส (mesenchymas) ของชั้นมีโซเดิร์มของตัวอ่อน "ต่อมหมวกไตส่วนใน" เจริญมาจากเซลล์ต้นกำเนิดเดียวกับเซลล์ประสาท
ในทารกต่อมหมวกไตจะมีขนาดใหญ่ แต่เนื่องจากขาดสารเร่งปฏิกิริยา จึงไม่สามารถสร้างฮอร์โมนเหล่านี้ได้ ผลิตได้แต่สารที่จะเปลี่ยนไปเป็นฮอร์โมนอีสโทรเจนที่รก
"ต่อมหมวกไต" ตั้งอยู่ที่ด้านบนของไตทั้งสองข้าง จึงเรียกว่า "ต่อมหมวกไต" (suprarenal gland) แต่ละต่อมประกอบด้วยเนื้อเยื่อ 2 ชั้นคือต่อมหมวกไตด้านนอกหรืออะดรีนัลคอร์เทกซ์ (adrenal cortex) และต่อมหมวกไตด้านในหรืออะดรีนัลเมดัลลา(adrenal medulla) ซึ่งผลิตฮอร์โมนที่ทำหน้าที่ต่างกัน
สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน เปิดข้อมูลอาการผิดปกติของร่างกายเกิดจากการขาดสมดุลฮอร์โมนที่ผลิตจากต่อมหมวกไต ปล่อยไว้นาน ๆ อาจส่งผลกระทบต่อชีวิตการทำงานได้
"ภาวะต่อมหมวกไตล้า" เป็นอย่างไร
"ภาวะต่อมหมวกไตล้า" เป็นอาการผิดปกติของร่างกายอย่างหนึ่งที่มีความ "เครียดเรื้อรัง" เป็นตัวกระตุ้น โรคนี้จัดอยู่ในกลุ่มโรคที่ถูกลืม เนื่องจากภาวะนี้มักจะไม่ได้รับการวินิจฉัยอย่างถูกต้องและทันท่วงที
สาเหตุส่วนหนึ่งมาจากการเจาะเลือดตรวจสุขภาพทั่วไปที่ไม่เพียงพอสำหรับการวินิจฉัยภาวะนี้ ในการวินิจฉัยภาวะต่อมหมวกไตล้าจะต้องมีการวัดระดับของฮอร์โมนต่อมหมวกไต (Adrenal Hormones) 2 ตัว
ที่มีชื่อว่า คอร์ติซอล (Cortisol) และ ดีเอชอีเอ (Dyhydroepiandrosterone – DHEA) ซึ่งสามารถวัดได้จากผลเลือด Cortisol และ DHEA คือ ฮอร์โมนแห่งความเครียดในร่างกายมนุษย์
ปัจจุบันนี้การรักษาภาวะต่อมหมวกไตล้าจะมุ่งเน้นไปที่การปรับให้ฮอร์โมน 2 ตัวนี้ให้อยู่ระดับที่สมดุล
เช็ก 8 อาการนี้ สาเหตุของต่อมหมวกไตล้า
1.ตื่นเช้ายาก
2.บ่ายๆ ง่วงไม่สดชื่น
3.ตกดึกตาสว่าง
4.ท้องอืด
5.อาหารไม่ย่อย
6.ปัสสาวะบ่อย
7.ปวดประจำเดือนบ่อย
8.เครียด อารมณ์สวิง
ถ้ามีอาการมากกว่า 5 ข้อ ให้รีบเช็กแล้วรีบหาหมอ รีบรักษา ไม่มีปัญหาแน่นอน ลดความเครียด ออกกำลังกาย เลี่ยงอาหารรสจัดก็ช่วยได้เหมือนกัน.
ข้อมูลจาก สำนักงานประกันสังคม , สำรวจฮอร์โมน , รพ.กรุงเทพ
ภาพจาก แฟ้มภาพ AFP
ที่มาข้อมูล : -