TNN เลือกตั้ง 2566 นักวิชาการแนะรัฐบาลใหม่ 4 เรื่องด่วนต้องเร่งแก้

TNN

เลือกตั้ง2566

เลือกตั้ง 2566 นักวิชาการแนะรัฐบาลใหม่ 4 เรื่องด่วนต้องเร่งแก้

เลือกตั้ง 2566  นักวิชาการแนะรัฐบาลใหม่ 4 เรื่องด่วนต้องเร่งแก้

เลือกตั้ง 2566 หอการค้าไทย แนะรัฐบาลใหม่ 4 เรื่องด่วนต้องเร่งแก้ เพื่อพิสูจน์ว่าไทย 'รอด-ไม่รอด' กับดักประเทศรั้งท้ายในอาเซียน

วันนี้ ( 14 พ.ค. 66 )นายอัทธ์ พิศาลวานิช ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่า การขยายตัวของเศรษฐกิจไทยไตรมาส 2/2566 จะเป็นเงินสะพัดจากการจัดเลือกตั้ง 6,000 ล้านบาท และเงินจากการรณรงค์หาเสียงของพรรคการเมืองต่างๆประเมินไว้เกิน 5 หมื่นล้านบาท รวมถึงรายได้จากการเดินทางของคนไทยและนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เข้ามามากในเดือนเมษายนที่ผ่านมา และจำนวนมากกว่าไตรมาสแรก ส่วนไตรมาส3/2566 การขยายตัวของเศรษฐกิจไทยขึ้นกับหน้าตารัฐบาลใหม่ 


อย่างไรก็ตาม คาดการณ์ได้ว่าทั้งปี 2566 จีดีพีไทยจะขยายตัวได้เกิน 3% แน่นอน ขณะที่ปัจจัยเสี่ยงที่ต้องติดตามและรัฐบาลใหม่ต้องเร่งมาแก้ไข คือ การผลักดันการส่งออก


ทั้งนี้ นโยบายแรกๆที่ประชาชนและนักธุรกิจอยากเห็นคือ


1. จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจภายในประเทศอย่างไร ทุกพรรคระบุว่าจะผลักดันความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ลดต้นทุน ลดภาระ เพิ่มรายได้ แต่ยังไม่เห็นความชัดเจนของแผนงานจะเพิ่มกำลังซื้อประชาชน วิธีการลดภาระค่าใช้จ่าย ไม่ว่าจะค่าไฟ ค่าน้ำ ต้นทุนผลิตสินค้าและราคาสินค้าที่ยังสูง โดยเฉพาะต้นทุนภาคเกษตร และเอสเอ็มอีที่เป็นรายย่อยจริงๆ ที่ยังมีหนี้ครัวเรือนสูง 


2. ตลาดส่งออก ที่มีทิศทางไม่ขยายตัว ยังมีทั้งโอกาสบวกหรือลบ1% นั้น รัฐบาลใหม่จะทำอย่างไร ที่ผ่านมาความสามารถการแข่งขันส่งออกของไทยด้อยกว่าหลายประเทศในอาเซียน ทั้งเรื่องต้นทุนสูงกว่า จากค่าไฟ วัตถุดิบหรือวัสดุเพื่อแปรรูป ราคาผลิตต่อชิ้น แรงงาน ล้วนเป็นปัจจัยสะสมต่อต้นทุนผลิตไทยแพงขึ้นๆ เรื่องเหล่านี้รัฐบาลใหม่จะทำอย่างไร 


 3. อิทธิพลและบทบาทของจีนต่างชาติที่กำลังเข้าแย่งพื้นที่ขายในไทย ไม่ว่าจะทุนจีน ทุนตะวันตก หรือ การเข้ามาของสหรัฐฯในเอเซียแปซิฟิก ที่จะมีผลต่อห่วงโซ่ซัพพลายเชน 


4. ภูมิรัฐศาสตร์ ต้องเพิ่มความเข้าใจให้ประชาชนและธุรกิจได้รับรู้ว่ารัฐบาลจะรับมือและทำอย่างไร 


อย่างไรก็ตามทั้ง  4 ข้อนี้ จะได้รู้ว่ารัฐบาลใหม่"เข้าใจ"แค่ไหนที่จะแก้ไขและผลักดันอย่างไร เพื่อให้ไทยหลุดจากความกังวลว่าจะรั้งท้ายประเทศในอาเซียน


ภาพจาก :   AFP 

ข่าวแนะนำ