คลังชี้ควรให้บาทอ่อน อย่างมีเสถียรภาพ

สรุปข่าว

นายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ไทยเป็นประเทศที่ส่งออกสินค้า ดังนั้น การบริหารค่าเงินทำให้บาทอ่อน ซึ่งวิธีการบริหารค่าเงิน ไม่ใช่ว่าจะทำให้มันอ่อนเลยทันที แต่ควรที่จะต้องมีระบบ 


เพราะเราเป็นประเทศส่งออก ดังนั้นเราต้องบริหารค่าเงินแบบมีชั้นเชิง เพื่อสนับสนุนการส่งออก เพราะการนำเข้า มันเป็นแค่ส่วนหนึ่งของต้นทุนการส่งออก และการส่งออกมีทั้งส่วนที่นำเข้าและไม่ได้นำเข้า แต่สุทธิแล้วส่งออกมีมูลค่ามากกว่า ซึ่งเมื่อมีส่งออก ก็จะเกิดการลงทุน ซึ่งการลงทุน มีทั้งการใช้สินค้าที่ผลิตได้ในประเทศ และสินค้าที่มาจากการนำเข้า


สำหรับเรื่องบาทอ่อนลงเป็นเรื่องความในใจ แต่วิธีทำต้องมีเหตุผล ซึ่งเหตุผลมีหลายอย่าง ต้องไปดูตัวอย่างในหลายๆ ประเทศ เมื่อค่าเงินของประเทศแข็งค่า จากที่มีเงินตราต่างประเทศไหลเข้าประเทศจำนวนมาก จะทำอย่างไรให้ค่าเงินอ่อนค่าลง มีหลายเครื่องมือ การแทรกแซง และการใช้กลไกอัตราดอกเบี้ยเป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น


ส่วนอีกกลไกหนึ่งที่ช่วยทำให้ค่าเงินอ่อนค่าลง คือ ส่งเสริมการลงทุน อย่างสิงคโปร์ตั้งกองทุนเพื่อการลงทุน หรือประเทศในแถบตะวันออกกลางที่ได้รับเงินตราต่างประเทศจำนวนมากก็ตั้งกองทุนเพื่อการลงทุน หรือกรณีญี่ปุ่น อาจไม่ถนัดเรื่องการตั้งกองทุน แต่ใช้วิธีการส่งเสริมให้นักลงทุนญี่ปุ่นออกไปลงทุนในต่างประเทศ


ด้านนายลวรณ แสงสนิท ปลัดกระทรวงการคลัง กล่าวว่า จากที่คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายร้อยละ 0.25 มาอยู่ที่ร้อยละ 2.25 ถือว่าทำให้อัตราดอกเบี้ยนโยบายเข้าใกล้ระดับที่เหมาะสมมากขึ้น การลดอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวในระยะสั้นยังไม่เห็นแรงกดดันต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ


ดังนั้นแม้มีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงมาเพียงเล็กน้อย แต่สิ่งที่สำคัญกว่าจำนวนที่ลดลง คือ การส่งสัญญาณว่าอย่างน้อยขณะนี้นโยบายการเงินกับนโยบายการคลังอยู่ในทิศทางและมีเป้าหมายเดียวกัน


ที่มา TNN


ที่มาข้อมูล : -

ที่มารูปภาพ :

แท็กบทความ

ย่อโลกเศรษฐกิจ
ส่งออกสินค้า
บาทอ่อน
พิชัย
ธนาคารแห่งประเทศไทย